ความน่าค้นหา 'เชียงดาว'เมือง 9 ผี 'ไบโอสเพียร์' แห่งที่ 5 ของไทย

ดอยเชียงดาว  จ.เชียงใหม่ ได้รับการประกาศจาก สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ให้เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑล ของปีค.ศ.2021 และเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑล แห่งที่ 5 ของประเทศไทย สร้างความปลาบปลื้่มให้กับคนไทยทั้งประเทศ โดยเฉพาะความภาคภูมิใจของคนเชียงดาว และภาคเหนือทั้งภาค

ความโดดเด่นของเชียงดาว หลักๆ ก็คือสภาพภูมิศาสตร์และระบบนิเวศของดอยที่มีขนาดพื้นที่รวมประมาณ 36,931 ไร่  มีสภาพเป็นป่าเปิดระดับสูง (Subalpine vegetaion)ซึ่งพบได้ไม่กี่แห่งในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันอกเฉียงใต้  เป็นระบบนิเวศที่บ่งชี้ความเชื่อมต่อทางระบบนิเวศ ในแนวเทือกเขาหิมาลัยและจีนตอนใต้ เป็นถิ่นอาศัยของชนิดพันธุ์พืชเฉพาะถิ่นจำนวนมาก  ภูมิทัศน์ภูเขาหินปูนตั้งตระหง่านมีความสูงเป็นอันดับสามของประเทศไทย  และยังเป็นต้นน้ำของลุ่มน้ำปิงตอนบนอีกด้วย   ความสมบูรณ์ของระบบนิเวศที่อยู่ในสภาพดั้งเดิม เกิดขึ้นจากการได้รับการปกปักษ์รักษามาอย่างยาวนาน และพื้นที่ที่ได้รับการฟื้นฟูให้คืนความสมบูรณ์ของป่ามาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 40 ปี ซึ่งธรรมชาติที่เป็นแกนกลางของพื้นที่ดอย ได้อำนวยต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนโดยรอบ  

ที่สำคัญบนผืนดอย  ยังมีสังคมพืชกึ่งอัลไพน์ที่หาได้ยากยิ่งในประเทศไทย เป็นถิ่นอาศัยของพรรณไม้มากกว่า 2,000 ชนิด หรีอคิดเป็นร้อยละ 20 ของพรรณไม้ในประเทศไทย และมีพรรณไม้ที่เชื่อมโยงให้เห็นว่าภูมิประเทศนี้ทอดยาวลงมาจากตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัย ที่ราบสูง Quinhai -Tibet และจีนตอนใต้  นอกจากนี้ ยังเป็นเหล่งอาศัยของสัตป่ จำนวน 672 ชนิด จาก 35: สกุล ใน 91 วงศ์   ซึ่งเป็นหัวใจของทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ เป็นแหล่งอาศัยที่ปลอดภัยของสัตว์ปาสงวน ได้แก่ กวางผา และเลียงผา รวมถึงสัตว์ป่าคุ้มครองอีกหลายชนิด และมีความเป็นไปได้สูงที่จะค้นพบพืชและสัตว์ชนิดพันธุ์ใหม่ของโลกได้

ไม่ได้มีแต่ขุนเขาเท่านั้น ที่โดดเด่น ดอยหลวงเชียงดาว ยังเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทงวัฒนธรรมของชนเผ่าชาวไทยภูเขา  5 ชนเผ่าได้แก่ ม้ง มูเซอ ลีซอ ปกากญแ และชาวไทยล้นนา ซึ่งแต่ละกลุ่มมีวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตความเป็นอยู่ การแต่งกายภาษาพูด ที่แตกต่งกัน แต่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ  

อีกทั้ง ยังดำรงความเป็นจิตวิญญาณของผู้คนในล้านนา   ในความเชื่อของชนเผ่า  คือเชียงดาวเป็นชุนเขาอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่สถิตของ เจ้าหลวง คำแดง ผู้มีฤทธิ์เป็นเจ้าแห่งผีทั้งหลาย เป็นเจ้าปกครองเหนือกว่าผีเมือง หรือเทวดาอารักษ์ทั้งปวงในดินแดนล้านนา และมีเทวาสถานอยู่ ณ ถ้ำเรียงดาว ซึ่งตั้งอยู่เชิงดอยหลวงเชียงดาว และความเชื่อนี้ที่มิได้มีอยู่แค่ผู้คนในอำเภอเชียงดาวเท่านั้น แต่รวมถึงผู้คนในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำปาง แม่ฮ่องสอน และน่านอีกด้วย

 
ความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าหลวงคำแดงถูกเล่าสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน พระสงฆ์ในล้านนาได้แต่คัดลอกตำนานไว้ในคัมภีร์ใบลาน ชื่อ ตำนานถ้ำเชียงดาว ที่ปรากฎในหลายสำนวนกระจายกันอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ทางภาคเหนือของไทย และเชื่อว่าเจ้าหลวงคำแดงเป็นสัญลักษณ์ร่วมของชนเผ่าไทในลุ่มน้ำโขงอีกด้วย ตำนานเจ้าหลวงคำแดงนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ เมื่อพ.ศ. 2555 

ถ้าได้พูดคุยกับคนเชียงดาว ก็จะบอกเสียงเดียวกันว่า เชียงดาวเป็นเมือง 9 ผี หรือเป็นเมืองผี ที่คุ้มครองแผ่นดินชาวล้านนา  เป็นเมืองที่มีความสำคัญประวัติศาสตร์   เป็นต้นน้ำปิง มีสิ่่งคนเชียงดาวภาคภูมิใจ คนเชียงดาวแท้ๆ จะนับถือ และมีความผูกพันธ์กับดอยมาก เพราะเกิดมาก็เห็นสองดอยที่หันหน้าเข้าหากันแล้ว หรือบางครั้งถ้าเกิดความไม่สบายใจ ก็จะมาขอพลัง หรือกำลังใจจากดอย   ถือว่าเป็นการสื่อสารกับดอยได้ ดอยเชียงดาวจึงไม่ใช่แค่ความเป็นภูมิศาสตร์ แต่เป็นที่สิงสถิตปู่ย่าตายาย

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวในโอกาสที่ยูเนสโก ประกาศให้ดอยเชียงดาว เป็นพื้่นที่สงวนชีวมณฑลว่า ดอยเชียงดาว ถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีความมหัศจรรย์อย่างยิ่ง  ทั้งในแง่สังคมของพืชสัตว์ป่าที่หายาก  และการเป็นแหล่งศูนย์รวมจิตวิญญาณของพี่น้องในท้องถิ่นภาคเหนือ  ที่ก่อให้เกิดศิลปินและภูมิปัญญา  ที่มีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง เปี่ยมไปด้วยจิตสำนึกรักบ้านเกิด ที่สำคัญคือการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่จะส่งต่อให้กับลูกๆและหลานๆเยาวชนรุ่นต่อๆไป  และการเสนอให้ดอยเชียงดาว เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งใหม่ หรือที่เรียกว่าเป็น biosphere reserve ต้องยกให้เป็นเครดิตของชุมชนด้วย ที่ร่วมผลักดันนำเสนอ  เพราะคนที่นี่มีจิตใจอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  และเราหวังว่าการได้รับยกย่องของดาวเชียงดาว จะส่งเสริมเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ของพี่น้องในชุมชน 

หลังจากได้รับการยกย่องให้เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลแล้ว อนาคตของเชียงดาวจะเป็นอย่างไร นายวราวุุธ กล่าวว่า  การประกาศให้ดอยเชียงดาว เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑล ยังเป็นแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น  ระยะต่อไป ทส.จะต้องสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ บูรณาการพื้นที่ จะต้องมีคณะกรรมการมนุษย์พื้นที่ชีวมณฑลในเชียงดาวเกิดขึ้น  เพื่อรับผิดชอบพื้นที่ดังกล่าวโดยตรง  คณะกรรมการนี้ จะทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลจัดการ และประสานงานกับองค์กรต่างๆที่มีหลายภาคส่วน   เพื่อตอบสนองการพัฒนาที่ยั่งยืน   โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนในพื้นที่  โดยเฉพาะพี่น้องใน   Buffer Zone   และ Transition Area เพราะคำว่า  ไบโอสเพียร์  หมายถึงการเป็นพื้นที่ ที่มีความสมบูรณ์อย่างยิ่ง และเป็นตัวอย่างของคำว่า คนอยู่กับป่าได้อย่างยั่งยืน มีการเกื้อหนุนจุนเจือกัน คือ คนดูแลป่า และป่าก็ดูแลคน   และในอนาคต  เราก็จะมีพื้นที่ไบโอสเพียร์ เพิ่มขึ้น ที่เขาพระแทว จ.ภูเก็ต  ซึ่งการมีพื้นที่ไบโอสเพียร์หลายๆ แห่ง สะท้อนนโยบายว่าเราจะต้องทำให้คนอยู่ร่วมกับป่าให้ได้

"ในแง่การบริหารจัดการพื้นที่เชียงดาวกว่า 5แสนไร่ จะประกอบด้วย 3 ส่วน คือ Core Area หรือพื้นที่ส่วนกลางเป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาว ถัดมาเป็น Buffer Zone  เปรียบเสมือนวงกลาง เป็นพื้นที่ พี่น้องประชาชนมาใช้ประโยชน์ ทั้งในเรื่องของวัฒนธรรม  การศึกษาหาความรู้ ส่วนTransition Area เป็นส่วนเป็นเมืองและเป็นชุมชนที่จะอยู่ล้อมรอบ พื้นที่ไบโอสเพียร์"นายวราวุธกล่าว

รมว.ทส.ยอมรับว่า หลังการประกาศเป็นพื้นที่ชีวมณฑล จะทำให้ดอยเชียงดาวเกิดการบูมด้านการท่องเที่ยวมากขึ้นแน่นอน   เพราะการได้ขึ้นเป็นไบโอสเฟียร์ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในเครือข่ายบัญชีของโลกนั้นแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของธรรมชาติไร อีกทั้งการที่ดอยเชียงดาวมีวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างกัน จากความหลากหลายของความเป็นชาติพันธุ์ เชื่อว่าสิ่งเหล่านี้ จะเป็นแม่เหล็กที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวผู้คนต่างๆให้เข้ามา  สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเปลี่ยนแปลงในวันหน้าคือ คือการต้องหาทางอนุรักษ์ความหลากหลายทางวัฒนธรรม  ที่ต้องมีการสืบสานต่อ    ไม่ให้สิ่งใหม่ๆ ที่เข้ามาทำลาย  เพราะการที่ไบโอสเพียร์ จะกำเนิดขึ้นได้นั้นหัวใจสำคัญ   คือ การคงอยู่ของพี่น้องประชาชนที่อยู่ในพื้นที่แห่งนั้น  เพราะการเป็นไบโอสเพียร์ คือ ตัวอย่างของการที่คนจะอยู่กับป่าได้ ซึ่งพี่น้องประชาชนในพื้นที่ต้องเข้าใจตรงนี้  และให้ความสำคัญ  ตลอดจนต้องคิดว่า เราต้องทำการอนุรักษ์สิ่งที่มีอยู่มากน้อยแค่ไหน เพื่อจะได้ส่งต่อทรัพยากรเหล่านี้ให้ลูกหลาน  


" คำว่าไบโอสเพียร์ รีเซิร์ฟ มีความครอบคลุมมากกว่า มรดกโลกขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง  เพราะเป็นเรื่องคนกับธรรมชาติ คนกับป่า  เรื่องปัญหาจากการท่องเที่ยว ผมอยากยกตัวอย่างเรื่องความสะอาดในชุมชน ถ้ามีนักท่องเที่ยวเข้ามามากขึ้น เชื่อว่าปริมาณขยะจะเป็นตัวสะท้อนจิตวิญญาณชุมชน  ว่ามีความหวงแหน มีการอนุรักษ์ มากน้อยแค่ไหน  เพราะการเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑล ในวันนี้ ไม่ใช่เป็นจุดที่เราจะหยุด   เราจะต้องทำงานให้หนักขึ้น สานต่องานที่เราได้ทำมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่น้องประชาชนที่อยู่ในพื้นที่นั้น  ขอให้ท่านอนุรักษ์แล้วก็รักษา ความเป็นชนบท ความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เอาไว้ อย่าได้เเผลอทำอะไร ไปตามกระแสที่เปลี่ยนแปลงของโลกใบนี้  เพื่อรักษาสิ่งที่มีอยู่ให้คงอยู่จนชั่วลูกชั่วหลาน"

ปัญหาไฟป่าภาคเหนือที่ปะทุลุกลามขึ้นทุกปีในช่วงหน้าแล้ง ทำให้เกิดความกังวลว่าจะกระทบต่อเชียงดาว   นายวราวุธกล่าวว่า เรื่องนี้ จะต้องมีมาตรการดูแลป้องกัน  ซึ่งส่วนตัวเชื่อว่านับตั้งแต่วันที่ดอยเชียงดาว ได้ขึ้นเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑล จะทำให้พี่น้องประชาชนที่อยู่ในดอย  จะมีความตื่นตัวมากขึ้น ทำหน้าที่ในการที่จะเป็นหูเป็นตาดูแล   ส่วนทางภาครัฐเอง ในแผนปฏิบัติการไฟป่าของภาคเหนือ  ทางทส.มีการส่งรองปลัดทส.และผู้ตรวจราชการไปประจำการ แต่ละจังหวัดเพื่อดูแลปัญหา  เรียกได้ว่าเป็นการดูแลที่หน้างานเลยทีเดียว ส่วนปีหน้านั้นก็จะต้องเพิ่มความเข้มข้นในการตรวจตรามากขึ้น เนื่องจาก ดอยเชียงดาวได้เป็นพื้นที่ชีวมณฑลแล้ว จึงต้องมีการทำงานอย่างเข้มงวดมากขึ้น โดยร่วมมือกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่

ก่อนประกาศให้ดอยเชียงดาวเป็นพื้นที่ชีวมณฑล แห่งที่ 5 ของประเทศ ไทยมีพื้นที่สงวนชีวมณฑลอยู่ 4 แห่ง ได้แก่  พื้นที่ชีวมณฑลสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา ขึ้นบัญชีเมื่อปี  2519 ปี 2520 ประกาศอีก 2แห่ง ได้แก่ แม่สาย - คอกม้า  จ.ลำปาง และปี 2540  ที่จังหวัดระนอง 

พืชถิ่นเดียวของไทย และพืชชนิดใหม่ของโลกที่เชียงดาว

ความหลากหลายทางชีวภาพของดอยเชียงดาว ยังมีอีกหลายสิ่งที่ต้องติดตามค้นหาต่อไป  แต่การค้นพบล่าสุดในกลุ่มพืชก็คือ การพบดอกไม้ ที่ได้รับการยืนยันแล้วว่า เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย และเป็นพืชชนิดใหม่ของโลก  โดยกรมอุทยานสัตว์และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รายงานว่าพบ พืชชนิดใหม่ของโลก 4 ชนิด คือ

เทียนเชียงดาว

เทียนเชียงดาว Impatiens chiangdaoensis T. Shimizu เป็นไม้ล้มลุก สูง 10–50 ซม. มีขนหยาบตามแผ่นใบด้านบน ก้านดอก ใบประดับ กลีบเลี้ยง กลีบดอก และผล ออกดอกสีม่วง ออกเดี่ยว ๆ  กลีบดอกกลีบกลางรูปหัวใจ กว้าง 1.2–1.4 ซม. เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะทางภาคเหนือที่ดอยเชียงดาว  ขึ้นตามหินปูนที่โล่ง ความสูง 1000–2000 เมตร พบบริเวณเส้นทางไปยังอ่างสลุง บนยอดดอยหลวงเชียงดาว ช่วงเดือนสิงหาคม

เทียนนกแก้ว

เทียนนกแก้ว Impatiens psittacina Hook. F. ไม้ล้มลุกพบขึ้นตามซอกหินปูน ดอกสีม่วงอมชมพู รูปร่างโดยรวมคล้ายนกแก้ว เทียนนกแก้วถูกตีพิมพ์เป็นพืชชนิดใหม่ของโลกโดย Sir Joseph Dalton Hooker อดีตหัวหน้าสวนพฤกษศาสตร์คิว สหราชอาณาจักร โดยตีพิมพ์ในวารสาร Botanical Magazine 127: t. 7809 ปี ค.ศ. 1901 และได้ให้ชื่อสามัญไว้ว่า ‘cockatoo balsam’ ต้นพืชได้ถูกค้นพบในรัฐฉาน เมียนมา เมล็ดถูกส่งให้สวนพฤกษศาสตร์คิวในปี ค.ศ. 1899 ปลูกและออกดอกในปี ค.ศ. 1900 มีเขตการกระจายพันธุ์ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียถึงเมียนมา และทางตอนเหนือของไทย คำระบุชนิด ‘psittacina’ หมายถึง ‘parrot-like’ คือคล้ายนกแก้วเมื่อมองจากด้านข้างตอนดอกบาน พบบริเวนดงไม้หก ทางขึ้นปางวัว บนดอยหลวงเชียงดาว ช่วงเดือนสิงหาคม-ธันวาคม

ชมพูเชียงดาว

ชมพูเชียงดาว Pedicularis siamensis Tsoong ไม้ล้มลุก สูง 40–60 ซม. ลำต้นมีขน  มีดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะ ยาวได้ถึง 40 ซม.  ดอกสีชมพูถึงม่วงเข้ม เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบบนยอดดอยหลวงเชียงดาวและกิ่วลม ความสูง 1800–2100 เมตร ช่วงเดือนตุลาคม-มกราคม

ขาวปั้น

ขาวปั้น Pterocephalodes siamensis (Craib) V.Mayer & Ehrend. (ชื่อพ้อง Scabiosa siamensis Craib) ไม้ล้มลุก สูง 10–50 ซม. ลำต้นอวบหนา มีช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น ออกเดี่ยว ๆ  เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาคเหนือที่ดอยหัวหมด จังหวัดตาก และดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นตามเขาหินปูนที่เปิดโล่ง ความสูง 900–2200 เมตร จะพบได้บนยอดดอยหลวงเชียงดาวและกิ่วลม ช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม

ดอกไม้อื่่นๆในเชียงดาว

บั้งม่วงเชียงดาว

ศรีพายัพ

สิงโตชมพูเชียงดาว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มเยาวชนรักษ์โลก The Youth Fund ผนึก ทช.-เอสซีจี เปิดตัวโครงการใหม่ปกป้องทะเลไทย

กลุ่มเยาวชน The Youth Fund ร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) จัดกิจกรรมเปิดตัวโครงการ Marine Saver Mission สานต่อโครงการ Nets up ตอกย้ำความสำคัญของนวัตกรรมและความยั่งยืนในโครงการด้านสิ่งแวดล้อม

มาแล้ว 'นพดล' ป้อง 'ทักษิณ' คุย 'ฮุน เซน' ปมพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล

นายนพดล ปัทมะ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ตามที่มีการบิดเบือนว่านายทักษิณ ชินวัตร

มูลนิธิสืบฯ ค้านเพิกถอนพื้นที่ป่าอนุรักษ์ในอุทยานฯทับลาน 2.6 แสนไร่

นายภาณุเดช เกิดมะลิ ในฐานะประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียรสืบ ได้ออกแถลงการณ์ คัดค้านการเพิกถอนพื้นที่ป่าอนุรักษ์ จำนวน 2 แสนกว่า