มูลนิธิสืบฯ ค้านเพิกถอนพื้นที่ป่าอนุรักษ์ในอุทยานฯทับลาน 2.6 แสนไร่

27 ม.ค.2567 - นายภาณุเดช เกิดมะลิ ในฐานะประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียรสืบ ได้ออกแถลงการณ์ คัดค้านการเพิกถอนพื้นที่ป่าอนุรักษ์ จำนวน 2 แสนกว่าไร่ ออกจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน โดยระบุว่า

เนื่องจากการประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้ง ที่ 1/2567 เมื่อ วันที่ 25 มกราคม 2567
ที่ผ่านมา ในระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ 3.5 การปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน โดยที่ประชุมดังกล่าวได้มีการนำเสนอข้อมูลมติคณะรัฐ มนตรี เมื่อวันที่14 มีนาคม 2566 ที่ได้เห็นชอบข้อเสนอของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ เรื่องผลการดำเนินการปรับปรุงแนวเขต ที่ดินของรัฐ และปรับปรุงแนวเขตที่ดินของรัฐแบบบรูณาการ (One map) ที่ให้ดำเนินการใช้เส้นปรุง การสำรวจแนวเขต ปี พ.ศ. 2543 พื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดปราจีนบุรีจะเป็นการเพิกถอนพื้นที่ อุทยานแห่งชาติทับลานถึง สองแสนกว่าไร่ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ขอคัดค้านการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานจำนวน 265,286.58 ไร่ ออกจากการเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

1. การประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ในวันดังกล่าว ได้บรรจุหัวข้อการปรับปรุงแนวเขต อุทยานแห่งชาติทับลาน เป็นวาระเรื่องทราบ ซึ่งถือเป็นการข้ามขั้นตอนการให้ข้อเสนอแนะ อย่างละเอียดรอบคอบของคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ และประเด็นการเพิกถอนพื้นที่ดังกล่าวได้มีการนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติมาแล้ว 2 ครั้ง โดยที่ประชุมได้มีข้อเสนอแนะให้มีการใช้แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดินของราษฎรในเขตป่าอนุรักษ์ตามมาตรา 64 พ.ร.บ. อุทยาน แห่งชาติ พ.ศ. 2562 ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดินของราษฎรในเขตป่าอนุรักษ์ ตามมาตรา 64 เป็นการแก้ไขปัญหาที่ดินของราษฎรที่มีอยู่ก่อนแล้วภายในเขตป่าอนุรักษ์ให้มีการจัดการได้อย่างเหมาะสมหลักเกณฑ์พิจารณา และคุณสมบติของบุคคลที่อยู่อาศัย หรือ ทำกิน ในชุมชนภายใต้ โครงการ ที่จะดำเนินการ รวมถึง หน้าที่ของบุคคลที่อยู่อาศัย หรือทำกินในชุมชนในการอนุรักษ์ฟื้น ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพภายในเขตพื้นที่ดำเนินโครงการด้วย

2. การเพิก ถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน จำนวน 265,286.58 ไร่ โดยให้กันออกและส่งมอบพื้นที่ให้ ส.ป.ก. ดำเนินการ ทำให้ไม่เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561 - 2580 ที่กำหนดให้ต้องมีการเพิ่มพื้นที่ป่าธรรมชาติให้ได้ร้อยละ 35 ของพื้นที่ประเทศ และไม่เป็นไปตาม นโยบายป่าไม้แห่งชาติที่กำหนดให้ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ประเทศ และกระเทือนต่อความเป็นธรรมในการแก้ไขปัญหาราษฎรในป่าอนุรักษ์ตามมาตรา 64 ที่ดำเนินการ มาก่อนหน้านี้ รวมถึง อาจเป็นการเอื้อ ประโยชน์ให้ก้บ นายทุน และจะกลายเป็นบรรทัดฐานที่เกิดขึ้นในพื้นที่ป่าอนุรักษ์อื่นๆที่มีปัญหาทับซ้อนในลักษณะเดียวกันทั่วประเทศ

3. กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ และพันธุ์พืช มีภารกิจเกี่ยวกับ การอนุรักษ์ส่งเสริมและฟื้นฟู ทรัพยากรป่าไม้สัตว์ป่า ในเขตพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์โดยการควบคุม ป้องกันพื้นที่ป่าอนุรักษ์เดิม ที่มีอยู่และพื้นที่ป่าเสื่อม โทรมให้กลับ สมบูรณ์ แต่กลับ ปล่อยให้เกิดกระบวนการเพิก ถอน พื้นที่ป่าอนุรักษ์สองแสนกว่าไร่ ซึ่งขัดต่อภารกิจหลักของหน่วยงานตนเอง หากยังคงให้เกิด การสูญเสียพื้นที่ป่าอนุรักษ์อย่างต่อเนื่อง เชื่อได้ว่า กรมอุทยานฯ ในยุคนี้จะเป็นยุคที่ประเทศไทยสูญูเสียพื้นที่ป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาตมากที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา มูลนิธิสืบนาคะเสถียรขอคัดค้านการดำเนินการเพื่อเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานจำนวน 265,286.58 ไร่ และขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทบทวนภารกิจหลัก และหน้าที่ของ หน่วยงานตนเอง เพื่อรักษาทรัพยากรป่าไมและสัตว์ป่าของประเทศชาติต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เจโทร-บีโอไอ-สกพอ 'จับมือตั้ง'Sustainable Business Desk '

ไทย-ญี่ปุ่น หนุนอุตสาหกรรมสีเขียว ล่าสุด เจโทร จับมือ บีโอไอ และ สกพอ.จัดตั้ง Sustainable Business Desk ด้านเอกชนใหญ่เครือเจริญโภคภัณฑ์ พีทีที โกลบอล เคมิคอล และเอกชนญี่ปุ่นขานรับ เผยผลรูปธรรมพัฒนาธุรกิจยั่งยืนและความเป็นกลางทางคาร์บอน

นักวิชาการ ชี้จุดออ่อน ไทยเจอมลพิษจากอุตสาหกรรม-สถานประกอบการเกลื่อนเมือง

นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ชี้ไทยเจอมลพิษจากอุตสาหกรรมและสถานประกอบการเกลื่อนเมือง จุดอ่อนอยู่ที่ไหน?..ประเทศพัฒนาแล้วเขาป้อง กันอย่างไร

นักวิชาการ อธิบายชัด ทำไมชาวนาจึงเผาตอซังและฟางข้าว

ช่วงเวลาที่เกษตรกรเผาฟางข้าวจะเริ่ม หลังจากทำการเก็บเกี่ยวข้าวคือช่วงกลางถึงปลายเดือนมกราคมเป็นต้นไปและเริ่มการไถพรวนดินในเดือนเมษายน