
17ม.ค.65-เพจ “NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ” ได้โพสต์ข้อความ ดวงจันทร์จะเต็มดวง ใกล้โลกมากที่สุดในวันพรุ่งนี้ (18 ม.ค.)ดังนี้
18 มกราคมนี้ #ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดใน18 มกราคมนี้ #ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี2565ดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดปรากฏเล็กกว่าปกติเล็กน้อย สังเกตการณ์ได้ตลอดคืนวันที่ 18 มกราคม 2565 เป็นคืนจันทร์เต็มดวงที่ดวงจันทร์จะโคจรอยู่ในระยะไกลโลกมากที่สุดในรอบปี หรือเรียกว่า “ไมโครฟูลมูน” (Micro Full Moon)ระยะห่างจากโลกประมาณ 401,011 กิโลเมตร คืนดังกล่าวจะมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดปรากฏเล็กสุดในรอบปี เริ่มสังเกตดวงจันทร์ได้ด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันออก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 18:30 น. เป็นต้นไปจนถึงรุ่งเช้า
ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นวงรี 1 รอบ ใช้เวลาประมาณ 27.3 วัน ในแต่ละเดือนจะมีทั้งวันที่ดวงจันทร์ใกล้โลกและไกลโลก ตำแหน่งที่ดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุดเรียกว่า เปจี (Perigee) มีระยะห่างเฉลี่ยประมาณ 357,000 กิโลเมตร และตำแหน่งที่ดวงจันทร์ไกลโลกที่สุด เรียกว่า อะโป (Apogee) มีระยะห่างเฉลี่ยประมาณ 406,000 กิโลเมตร การที่ผู้คนบนโลกมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงในคืนที่ดวงจันทร์โคจรเข้ามาใกล้หรือไกลโลกมีขนาดที่แตกต่างกัน นับเป็นหตุการณ์ปกติที่สามารถอธิบายได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์
อนึ่ง ขณะที่ดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งไกลโลกที่สุด หรือใกล้โลกที่สุด อาจไม่ใช่วันที่ดวงจันทร์เต็มดวงก็ได้ แต่ในวันที่ 18 มกราคม 2565 เป็นวันที่ดวงจันทร์เต็มดวง และอยู่ในตำแหน่งไกลโลกที่สุดในปีนี้พอดี เราจึงเรียกว่า ไมโครฟูลมูน
สำหรับ #ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี 2565 จะเกิดขึ้นในวันที่ 14 กรกฎาคม 2565 ที่ระยะห่างจากโลก 357,411 กิโลเมตร วันดังกล่าวจะมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย มารอติดตามชมกันต่อไปครับ
MicroFullMoon2022
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รอชม 'ดาวศุกร์สว่างที่สุด' รุ่งเช้า 18 ก.ย. สังเกตได้ด้วยตาเปล่า
เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ แจ้งว่า รุ่งเช้า 18 กันยายนนี้ #ดาวศุกร์สว่างที่สุด อีกครั้ง 18 กันยายน 2566 ช่วงเช้าก่อนรุ่งสาง
ชวนชม 4 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ เกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า เดือนสิงหาคมนี้พบกับ 4 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่จะเกิดขึ้น ได้แก่ ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ (ฝนดาวตกวันแม่) ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกรุงเทพฯ ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี และซูเปอร์บลูมูน
รับรองแล้ว 'แก้วโกสินทร์-ไพลินสยาม' ชื่อภาษาไทยดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เผยว่า สหพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติ หรือ IAU (The International Astronomical Union) ได้รับรองชื่อภาษาไทยของดาวฤกษ์แม่ GJ3470 และดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ GJ3470b ว่า “แก้วโกสินทร์” และ “ไพลินสยาม” นับเป็นระบบดาวเคราะห์นอกระบบ ระบบที่ 3 ที่มีชื่อเป็นภาษาไทย
ห้ามพลาด สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ ชวนประชาชนรับชม ปรากฏการณ์สุริยุปราคา
เพจ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ระบุว่า 20 เมษายนนี้ มีปรากฏการณ์ #สุริยุปราคาบางส่วนเหนือฟ้าเมืองไทย สังเกตได้บางพื้นที่ทางภาคใต้ อีสาน และตะวันออก
'สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ' ชวนนอนนับ 'ฝนดาวตกเจมินิดส์' คืนนี้
สดร.ชวนโต้ลมห่มหนาว นอนนับฝนดาวตกเจมินิดส์ อ่างเก็บน้ำห้วยลาน อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ท่ามกลางลมหนาวระลอกใหม่จากจีน เผยทั่วประเทศดูได้ตาเปล่าหัวค่ำเป็นต้นไปมากสุด 150 ดวง/ชม.
3 เหตุผล ต้องดู 'จันทรุปราคาเต็มดวง' วันลอยกระทง
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้โพสต์ชักชวนดูปรากฎการณ์"จันทรุปราคาเต็มดวงเหนือฟ้าเมืองไทย”