คิกออฟ! 'นำเข้าแรงงานต่างด้าว' ใน 8 จังหวัด ทำงานชายแดนไป-กลับ และตามฤดูกาล

เริ่มวันแรก กระทรวงแรงงานเปิดให้นำเข้าแรงงานตาม ม.64 ใน 8 จังหวัด ศรีสะเกษ สุรินทร์ สระแก้ว ตราด เชียงราย ตาก กาญจนบุรี และระนอง ทำงานบริเวณชายแดนแบบไป - กลับ และตามฤดูกาล พร้อมแจง 5 ขั้นตอนการเข้ามาทำงานในสถานการณ์โควิด

15 มี.ค.2565 - นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า วันนี้เป็นวันแรกที่กระทรวงแรงงานเปิดให้นำเข้าแรงงานต่างด้าวตามมาตรา 64 เพิ่มขึ้นในจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ สระแก้ว ตราด เชียงราย ตาก กาญจนบุรี และระนอง รวม 8 จังหวัด เพื่อเข้ามาทำงานในประเทศไทยภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด แก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และการลักลอบทำงานอย่างผิดกฎหมาย หลังจากสำรวจความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวของนายจ้าง สถานประกอบการ และพบความต้องการจ้างแรงงานในพื้นที่ 8 จังหวัด จำนวน 32,479 คน จึงมีการเร่งดำเนินการวางแนวทางการนำคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา และกัมพูชา ที่เข้ามาทำงานบริเวณชายแดนในลักษณะไป - กลับ หรือตามฤดูกาลในพื้นที่

ทั้งนี้ตามข้อตกลงว่าด้วยการข้ามแดนระหว่างประเทศทั้งสอง ( มาตรา 64) โดยใช้แนวทางเดียวกับการนำเข้าแรงงานชาวกัมพูชามาทำงานตามฤดูกาลภาคเกษตรในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ที่เปิดนำร่องการนำเข้าฯเป็นจังหวัดแรก เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564 ซึ่งขณะนี้กรมการจัดหางานได้เตรียมความพร้อมเพื่อดำเนินการนำเข้าแรงงานต่างด้าวตามมาตรา 64 เป็นที่เรียบร้อย ตามที่พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน มีข้อสั่งการ

ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า กรมการจัดหางานจัดทำแนวทางการนำแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาและเมียนมาเข้ามาทำงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) โดยมี 5 ขั้นตอน ดังนี้

1. นายจ้างประสานลูกจ้าง เพื่อจัดเรียมเอกสารและนัดหมายวันเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทย เพื่อให้แรงงานต่างด้าวเตรียมหลักฐาน ได้แก่ หลักฐานการตรวจโควิด - 19 โดยวิธี RT- PCR หรือผลรับรองการตรวจ ATK ไม่เกิน 72 ชม.ก่อนเดินทางเข้ามา เอกสารรับรองการฉีดวัคซีนแล้ว 2 เข็ม และบัตรผ่านแดนที่ประเทศต้นทางออกให้ หรือเอกสารอื่นที่อธิบดีกรมการจัดหางานประกาศกำหนด

2. ด่านควบคุมโรคติดต่อฯ ตรวจสอบเอกสารหลักฐานการตรวจโควิด - 19 และเอกสารรับรองการฉีดวัคซีนแล้ว 2 เข็ม และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลดำเนินการตรวจโรคตามกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของคนต่างด้าว และทำประกันสุขภาพระยะเวลา 3 เดือน และออกใบรับรอง ต.8

3. ด่านตรวจคนเข้าเมืองฯ ดำเนินการตรวจบัตรผ่านแดนที่ประเทศต้นทางออกให้ หรือเอกสารอื่นที่อธิบดีกรมการจัดหางานประกาศกำหนด และดำเนินการตรวจประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรในบัตรผ่านแดน เป็นระยะเวลา 30 วันต่อครั้ง

4. สถานที่กักตัว โดยคนต่างด้าวที่ฉีดวัคซีนมาจากประเทศต้นทางครบแล้วให้เข้ารับการกักตัวอย่างน้อย 7 วัน และให้มีการตรวจหาเชื้อโควิด - 19 โดยวิธี RT - PCR จำนวน 2 ครั้ง กรณีตรวจพบเชื้อให้เข้ารับการรักษาโดยนายจ้างเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษา

5. การขอรับใบอนุญาตทำงาน โดยสำนักงานจัดหางานจังหวัดฯ ดำเนินการตรวจสอบเอกสาร ได้แก่ 1.คำขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าวตามมาตรา 64 (แบบ บต. 29) 2.สำเนาบัตรผ่านแดนหรือเอกสารซึ่งอธิบดีกรมการจัดหางานประกาศกำหนด และสำเนาหลักฐานการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร 3.ใบรับรองแพทย์ (6 โรค) 4.รูปถ่ายขนาด 3 x 4 ซม. จำนวน 3 รูป 5.สัญญาจ้างและหนังสือรับรองการจ้าง 6.เอกสารนายจ้าง 7.หลักฐานการกักตัวครบกำหนดไม่พบเชื้อ

โดยจัดเก็บค่าธรรมเนียมการยื่นคำขอ ฉบับละ 100 บาท ค่าใบอนุญาตทำงาน ฉบับละ 225 บาท และออกใบอนุญาตทำงานแบบ บต.40 ไม่เกิน 3 เดือน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผู้ใช้แรงงานเฮ! 1 พ.ค.2567 วันแรงงาน "พิพัฒน์" ย้ำชัดประกาศแน่ ทำเร็วขึ้น ค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ยืนยันถึงการประกาศบิ๊กเซอร์ไพรส์ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ว่า

"พิพัฒน์" เตรียมเปิดบิ๊กเซอร์ไพรส์ มอบของขวัญวันแรงงาน ค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ 400 บาท

วันที่ 22 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงงาน กล่าวถึงของขวัญสำหรับผู้ใช้แรงงาน ในวันแรงงาน 1 พ.ค.2567 นี้ว่า

‘สุชาติ’ ลั่นไม่ยึดติด หลังมีชื่อนั่ง รมต. ยันปรับ ครม.อำนาจนายกรัฐมนตรี

พรรครวมไทยสร้างชาติ ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในกลไกของหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค และผู้ใหญ่ของพรรคเป็นหลัก การปรับ ครม.อำนาจเป็นของนายกรัฐมนตรี

ข่าวดี!! “พิพัฒน์” รมว.แรงงาน จัดให้บริการตรวจเช็คสภาพรถฟรี ขับขี่ปลอดภัย ใส่ใจทุกเส้นทาง ก่อนเดินทางช่วงสงกรานต์ 2567

วันที่ 11 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2567 นี้ ตนมีความห่วงใยพี่น้องผู้ใช้แรงงาน และพี่น้องประชาชนทั่วไปที่เดินทางกลับภูมิลำเนา รวมทั้งผู้ที่เดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อน เนื่องจากเป็นช่วงที่มีวันหยุดยาวติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันนั้น

"พิพัฒน์" เชื่อมขยายผล ทันที! หลังบริษัทอาหารญี่ปุ่น ชื่นชมแรงงานไทยมีทักษะ เปิดรับแรงงาน เริ่มวุฒิ ม.6 รายได้ 3 หมื่นขึ้นไป

เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม นายอัครพงศ์ เฉลิมนนท์ กงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา นางสาวสดุดี กิตติสุวรรณ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน)