โพลชี้คนไทยเข้าใจ ‘โควิด-สงคราม’ ส่งผลกระทบทั่วโลก ต่างปรับตัวยึด ศก.พอเพียง

3 เม.ย.2565-ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่องความกังวล และผลกระทบต่อคนไทย จากวิกฤตการณ์ของโลก จำนวน 1,113 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 29 มี.ค.– 2 เม.ย.2565 ที่ผ่านมา พบว่าผลกระทบต่อคนไทยจากวิกฤตโควิด-19 พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.7 ระบุ มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในประเทศและเศรษฐกิจโลก และร้อยละ 86.3 ระบุ มีส่งผลต่อสุขภาพกายและจิตใจของคนไทยนอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 86.2 ระบุ มีผลกระทบต่อการจ้างงาน ตกงาน ลดเงินและทำให้รายได้ลด ร้อยละ 85.7 ระบุ มีผลกระทบต่อกลุ่มอาชีพที่ต้องสูญหายไปในช่วงวิกฤตโควิด และร้อยละ 85.6 ระบุ ทำให้การใช้ชีวิตยากลำบากขึ้น เช่น มีภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ต้องซื้ออุปกรณ์เพื่อดูแลรักษาสุขภาพ

ที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อถามถึง ผลกระทบต่อคนไทยจากวิกฤตการณ์สู้รบยูเครน กับ รัสเซีย พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 86.6 ระบุ ต้นทุนด้านพลังงานและอื่น ๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น น้ำมัน ไฟฟ้า ก๊าซ ทองคำ เป็นต้น ร้อยละ 85.5 ระบุ มีผลกระทบทำให้ค่าครองชีพในหลายประเทศเพิ่มขึ้น ร้อยละ 85.1 ระบุ สินค้าอุปโภคบริโภคสินค้าและต้นทุนการผลิตด้านการเกษตร ปุ๋ยอาหารสัตว์ สูงขึ้นและสินค้าราคาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 79.3 ระบุ ต้นทุนการผลิตที่อาศัยการส่งออกและนำเข้าจากประเทศรัสเซีย และยูเครนเพิ่มขึ้น และร้อยละ 78.7 ระบุ การสู้รบทางทหารระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและหลายประเทศ

การรับรู้ของประชาชน ต่อ ความเข้าในสถานการณ์ ต่อผลกระทบจากทั้งวิกฤตโควิด และ การสู้รบรัสเซีย กับ ยูเครน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.8 ระบุ กังวลว่าสถานการณ์วิกฤตการณ์ทั้งสองจะยืดเยื้อ ร้อยละ 79.2 ระบุ กลัวความไม่มั่นคงในชีวิตและทรัพย์สินทั้งการงานการเงินสุขภาพและคุณภาพชีวิตการดำรงอยู่ของชีวิตการใช้ชีวิตตามปกติ ร้อยละ 72.4 ระบุ กังวลและกลัวประชาชนในประเทศไม่อยู่ในมาตรการควบคุมโรคของโควิด ร้อยละ 70.3 ระบุ กังวลถึงการเล่นสงครามทางการเมืองภายในประเทศ ของนักการเมืองต่าง ๆ ร้อยละ 67.1 ระบุ กังวลและกลัวความเห็นต่าง ท่าทีของไทยในเวทีโลก จะถูกขยายผลความขัดแย้งภายใน กระทบผลประโยชน์ของชาติ และร้อยละ 67.1 ระบุ กลัวการเกิดความรุนแรงทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ กลัวการสู้รบทางทหาร

เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชน ต่อทางออก ในสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.4 ระบุ ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเคร่งครัดต่อเนื่อง คือ ทางอออกทุกวิกฤต รองลงมาคือ  77.5 ระบุ ประชาชนมีความเข้าใจถึงสถานการณ์วิกฤตินี้เกิดขึ้นทั่วโลก ไม่ใช่แต่ประเทศไทย ร้อยละ 73.6 ระบุ เข้าใจว่าสถานการณ์แบบนี้ไม่ควรโทษหรือกล่าวหาใคร ร้อยละ 73.2 ระบุ เข้าใจต่อความพยายามในการช่วยเหลือเยียวยาพยุงค่าครองชีพลดภาระในระยะสั้น ร้อยละ 70.2 ระบุ รับรู้ว่ามาตรการช่วยเหลือเยียวยาด้านโควิดของรัฐบาล  มีส่วนบรรเทาความเดือดร้อนในระยะสั้น  ร้อยละ 69.4 ระบุ รับรู้และเข้าใจว่าระบบสาธารณสุขของประเทศไทย ได้รับการยอมรับด้านการจัดการและการดูแลผู้ป่วยเป็นอย่างดี  ร้อยละ 68.6 ระบุ เข้าใจสถานการณ์บทบาทการวางตัวเป็นกลางของรัฐบาลและเห็นด้วยกับการรักษาประโยชน์ไม่เป็นคู่ขัดแย้ง 

“ผลสำรวจนี้สะท้อนให้ทราบว่าประชาชนส่วนใหญ่รับรู้และเข้าใจถึงสถานการณ์โรคระบาดและสงครามที่เกิดขึ้น มีผลกระทบกับทุกประเทศ มิใช่เฉพาะไทย  โดยต่างได้รับผลกระทบทั้งด้านจิตใจและร่างกาย ความสุขและคุณภาพชีวิตในภาพรวม  อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่พอใจกับท่าทีและนโยบายการวางตัวเป็นกลางของรัฐบาล ที่ไม่โดดเป็นคู่ขัดแย้งในสงคราม ซ้ำเติมวิกฤตเศรษฐกิจช่วงโควิดที่เกิดขึ้น และพอใจกับโครงสร้างของระบบสาธารณสุขไทยที่เข้มแข็ง สามารถดูแลส่วนรวมได้ดีกว่าหลายประเทศ ส่วนใหญ่รับทราบถึงความพยายามและมาตรการช่วยเหลือระยะสั้นจากรัฐบาลที่ผ่านมา ในการบรรเทาความดือดร้อนและช่วยเหลือค่าครองชีพที่จำเป็น ที่สำคัญ ยังกังวลกับความยืดเยื้อของสงครามและโรคระบาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การละเลยการ์ดตกในมาตรการควบคุมโรคของประชน และการที่ฝ่ายการเมือง นำเรื่องละเอียดอ่อนไปสร้างคะแนนนิยม ขยายผลจนกระทบเอกภาพและผลประโยชน์ของชาติได้   ทั้งนี้ ความตระหนักรู้ เข้าใจและมีส่วนร่วมของทุกคน บนผลประโยชน์ชาติ เป็นเรื่องสำคัญ ที่เราทุกคนจำเป็นต้องอยู่บนความพอเพียง เพื่อจะผ่านสถานการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้นไปด้วยกัน”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' แจง 5 ข้อ พูดเรื่องผลกระทบการวัคซีนโควิดทำไม ในเมื่อมันผ่านไปแล้ว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

‘หมอมนูญ’ เตือนโควิดหลังสงกรานต์เปลี่ยนไป ใครมีอาการแบบนี้รีบตรวจ ATK

อาการของโรคโควิดเปลี่ยนไป ส่วนใหญ่เป็นอาการของทางเดินหายใจส่วนบน คอ จมูก มากกว่าทางเดินหายใจส่วนล่าง หลอดลม และปอด

'ซูเปอร์โพล' การันตี 'ทักษิณ' เป็นผู้มีบารมี ปชช.วอนแก้ปากท้อง

สำนักวิจัยซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง จับกระแสโพล ทักษิณ ชินวัตร กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ

‘หมอมนูญ’ เผยผลติดตามสถานการณ์ 5 โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

ข้อมูลของโรงพยาบาลวิชัยยุทธที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่  ไรโนไวรัส (Rhinovirus) อาร์เอสวี (RSV) และ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human metapneumovirus (hMPV)