กทม. ดีเดย์ 15 ก.ค. ตอกเสาเข็ม 'เขื่อนคลองเปรมประชากร'

27 มิ.ย. 2565 – นายณรงค์ เรืองศรี รองปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.65 สำนักการระบายน้ำ ร่วมกับสำนักงานเขตดอนเมือง สถาบันพัฒนาชุมชน (พอช) และกองทัพภาคที่ 1 ลงพื้นที่ชุมชนหน้าท่าอากาศยานด้านใต้ เขตดอนเมือง เพื่อชี้แจงสร้างความเข้าใจและกำหนดแผนงานก่อสร้างเขื่อนคลองเปรมประชากร และแผนการก่อสร้างบ้านมั่นคง โดยกำหนดเริ่มตอกเข็มเขื่อนที่ชุมชนเปรมประชาสมบูรณ์ (ฝั่งตรงข้าม) ภายในวันที่ 15 ก.ค. 65 และจะเริ่มตอกเข็ม ณ ชุมชนหน้าท่าอากาศยานด้านใต้ ภายในวันที่ 1 ส.ค. 65 ส่วนการก่อสร้างบ้านมั่นคงจะเริ่มก่อสร้างประมาณช่วงกลางเดือนสิงหาคม 2565 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครโดยสำนักการระบายน้ำดำเนินโครงการพัฒนาคลองเปรมประชากรตามแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานระบบคลองและการพัฒนาชุมชนริมคลองเปรมประชากร ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ พัฒนาด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและบำบัดน้ำเสีย โดยโครงการมีการออกแบบวางผังพื้นที่ริมคลองให้มีความสอดคล้องกันทั้ง 6 องค์ประกอบสำคัญในการพัฒนา ได้แก่ การพัฒนาที่อยู่อาศัย การพัฒนาด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ การจัดระบบสาธารณูปโภคและผังเมือง การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจชุมชน พัฒนาจุดเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะและแผนพัฒนาการท่องเที่ยวในชุมชน โครงการพัฒนาคลองเปรมประชากร แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 จากคลองบ้านใหม่ถึงหมู่บ้านแกรนด์คาแนล ความยาวประมาณ 580 เมตร (ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2562) ช่วงที่ 2 จากหมู่บ้านแกรนด์คาแนลถึงถนนสรงประภา ความยาวประมาณ 5,000 เมตร (ระยะเวลาก่อสร้าง 18 เดือน ดำเนินการปี 2564-2565) ช่วงที่ 3 จากถนนสรงประภาถึงถนนแจ้งวัฒนะ ความยาวประมาณ 10,000 เมตร (ระยะเวลาก่อสร้าง 24 เดือน ดำเนินการปี 2564-2566) และช่วงที่ 4 จากถนนแจ้งวัฒนะถึงถนนเทศบาลสงเคราะห์ ความยาวประมาณ 10,700 เมตร (ระยะเวลาก่อสร้าง 26 เดือน ดำเนินการปี 2563-2565)

หากการก่อสร้างแล้วเสร็จตลอดแนวคลองเปรมประชากร จะช่วยเพิ่มความลึกและความจุปริมาณน้ำในคลองมากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในการการสัญจรทางน้ำและการระบายน้ำในคลอง ช่วยให้สามารถป้องกันและบรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ได้ทางหนึ่งด้วย ทั้งนี้ สำนักการระบายน้ำพร้อมติดตามการทำงานอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสำนักงานเขตในพื้นที่จะเร่งสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนในชุมชนให้เห็นความสำคัญของส่วนรวมและประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการต่อไป.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สงกรานต์'รางน้ำ' พิกัดใหม่เล่นน้ำสุดฉ่ำ

สงกรานต์กรุงเทพฯ จุดเล่นน้ำสงกรานต์ยอดฮิตที่มีคนไทยและชาวต่างชาติเดินทางไปท่องเที่ยวอย่างคับคั่งเป็นประจำทุกปี คนจะนึกถึงถนนข้าวสาร เขตพระนคร หนึ่งในย่านท่องเที่ยวและจัดงานเล่นน้ำสงกรานต์ยอดนิยมเสมอมาของกรุงเทพฯ  รองลงมาสงกรานต์สีลมซึ่งปิดถนนให้เล่นน้ำสงกรานต์กันตลอดเส้นสีลม ยังมีพื้นที่ของคนกลุ่มความหลากหลายทางเพศ LGBTQ ที่จัดประกวดเทพีสงกรานต์ เดินขบวนพาเหรด การแสดงศิลป

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ

ศิลปะกลางแจ้งย่านเก่า หนุนกรุงเทพฯ เมืองที่ดีที่สุด

กรุงเทพฯ ยังคงได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก หลังนิตยสารท่องเที่ยวชื่อดัง DestinAsian ประกาศให้กรุงเทพฯ คว้าอันดับ 1 เมืองที่ดีที่สุด (Best Cities 2024)  ในประเภทเมืองที่เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว (Destination) ในเอเชียแปซิฟิก

สสส.ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรม ‘พัก กะ Park’ เปลี่ยนสวนสาธารณะให้เป็นพื้นที่สุขภาวะ

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร (กทม.), กลุ่ม we!park และภาคีเครือข่ายพัฒนาเมืองสุขภาวะและชุมชนสุขภาวะ (Healthy Space Alliance)