เปิดผลวิจัยอีกด้าน! 'กัญชา' เสพติดได้เร็วกว่าบุหรี่-เหล้า

4 ก.ค. 2565 – ดร.นพ.บัณฑิต ศรไพศาล นักวิทยาศาสตร์สถาบัน Centre for Addiction and Mental Health ประเทศแคนาดา หนึ่งในเครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาชนต้านภัยยาเสพติด ชี้แจงถึงกรณี นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกคณะกรรมการสื่อสารและประชาสัมพันธ์การใช้กัญชาอย่างเข้าใจ กระทรวงสาธารณสุข ได้โพสต์โพสต์บุ๊ก 1 ก.ค.ที่ผ่านมา อ้างถึงงานวิจัยที่ดำเนินการโดย Lopez-Quintero et al. (2011) (ดูงานวิจัยชิ้นนี้ได้ที่ nihms-258354.pdf) ตีพิมพ์ในวารสารด้านการเสพติดชื่อ Drug and Alcohol Dependence เมื่อปี 2554 (11 ปีก่อน) ที่พบว่า การสูบกัญชาเสพติดยากกว่าการติดเหล้าและติดบุหรี่ หากนับตั้งแต่ครั้งแรกที่มีการใช้จนตลอดชีวิตของผู้ใช้ โดยบุหรี่มีสัดส่วนของการกลายมาเป็นผู้เสพติดบุหรี่ได้มากที่สุดร้อยละ 67.5 เครื่องดื่มแอลกอฮอลมีโอกาสเสพติดร้อยละ 22.7 ในขณะที่กัญชามีโอกาสเสพติดได้เพียงร้อยละ 8.9 เท่านั้น

เครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาชนต้านภัยยาเสพติด ขอนำเสนอข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ ที่ไม่ได้เขียนไว้ในเฟซบุ๊ก ดังนี้

ในงานวิจัยชิ้นนี้ พบว่า สัดส่วนของการเสพติดสารเสพติดนั้นๆ ภายในหนึ่งปีแรกของการใช้บุหรี่ สุรา และกัญชา มีสัดส่วนเท่ากันคือร้อยละ 2 แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 67.5 สำหรับผู้ใช้บุหรี่ ร้อยละ 22.7 สำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอลมีโอกาสเสพติด และร้อยละ 8.9 สำหรับผู้ใช้กัญชา เมื่อนับสะสมจนตลอดชีวิตของผู้ใช้ ในขณะเดียวกันผู้วิจัยก็พบว่าในกลุ่มคนที่ติดสารเสพติดนั้นๆ ครึ่งหนึ่งของผู้ที่ใช้กัญชาจะติดกัญชาภายในเวลาเพียง 5 ปี ขณะที่ครึ่งหนึ่งของผู้ที่ใช้สุราจะติดสุราใน 13 ปี และครึ่งหนึ่งของผู้ที่ใช้บุหรี่จะติดบุหรี่ใน 27 ปี

ผู้วิจัยอธิบายว่า สาเหตุที่ผู้ใช้บุหรี่มีสัดส่วนการกลายเป็นผู้เสพติดบุหรี่ในชั่วชีวิตมากกว่าสารเสพติดอื่นเป็นไปได้หลายประการ เช่น การดูดซึมควันบุหรี่ผ่านถุงลมปอดดีกว่าการดูดซึมสุราผ่านระบบทางเดินอาหาร การสูบบุหรี่เป็นที่ยอมรับกว่าการใช้กัญชา เนื่องจากบุหรี่ถูกกฎหมาย แต่กัญชาผิดกฎหมายในช่วงเวลาที่ทำวิจัย ซึ่งทำให้ผู้ใช้บุหรี่ถูกกระตุ้นจากสภาพแวดล้อมให้มีอาการอยากสูบได้มากกว่า เช่น เห็นคนอื่นสูบ และการใช้บุหรี่ไม่ได้ก่อให้เกิดพฤติกรรมทำลายล้างเช่นเดียวกับสุราและกัญชา ทำให้ผู้ใช้บุหรี่จึงใช้บุหรี่ได้มากและกลายเป็นผู้เสพติดบุหรี่ได้มากกว่าผู้ใช้สารเสพติดตัวอื่น โดยผู้วิจัยไม่ได้พูดว่ากัญชาก่อให้เกิดการเสพติดที่ง่ายน้อยกว่าบุหรี่และสุราแต่อย่างใด

ทั้งนี้ งานวิจัยดังกล่าวใช้ข้อมูลการสำรวจในสหรัฐอเมริกา 2 ครั้ง ซึ่งสำรวจในปี ค.ศ. 2001-2002 และ ปี ค.ศ. 2004-2005 ซึ่งเป็นปีที่กัญชายังไม่ถูกกฎหมายเลยในสหรัฐ ทั้งนี้รัฐโคโรราโดและรัฐวอร์ชิงตันเป็น 2 รัฐแรกที่อนุญาตให้เสพกัญชาเพื่อความบันเทิงได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งเริ่มต้นในปี ค.ศ. 2012

ในทางกลับกันผู้วิจัยอธิบายว่า การที่ผู้ใช้กัญชามีระยะเวลาจากการเริ่มใช้สู่การกลายเป็นผู้เสพติดที่รวดเร็วกว่ากรณีผู้ที่ใช้สุราและบุหรี่มากนั้น เกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ ความง่ายของการติด คุณสมบัติทางเภสัชวิทยาของสารเสพติด และความแพร่หลายของสารเสพติด สถานะทางกฎหมายของสารเสพติด ว่าถูกหรือผิดกฎหมาย และการยอมรับทางสังคมของการใช้สารเสพติดนั้น ๆ ตลอดจนการใช้สารเสพติดอื่นร่วมด้วย ซึ่งผู้วิจัยระบุว่า กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยที่ใช้กัญชาจะใช้สารเสพติดอื่นร่วมด้วยถึงร้อยละ 80 ขณะที่ผู้ที่ใช้บุหรี่และสุราจะใช้สารเสพติดอื่นร่วมด้วยเพียงครึ่งหนึ่ง และ 1 ใน 3 ตามลำดับ

ทั้งหมดนี้ ผู้วิจัยได้ย้ำว่าแม้บุหรี่จะมีสัดส่วนผู้ใช้กลายมาเป็นผู้เสพติดบุหรี่มากกว่าผู้ใช้สุราและกัญชา แต่การที่กัญชามีระยะเวลาจากการเริ่มใช้สู่การเสพติดเร็วกว่าบุหรี่และสุราอย่างมาก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการป้องกันที่เข้มงวดมากสำหรับการป้องกันการเสพติกัญชา โดยผู้วิจัยใช้คำว่า Aggressive Preventive Interventions เมื่อเทียบกับการป้องกันการเสพติดบุหรี่และสุรา

โดยสรุป ผู้วิจัยได้อธิบายว่าผู้ใช้บุหรี่สามารถใช้บุหรี่ได้สะดวกกว่า เพราะสังคมยอมรับมากกว่าและบุหรี่แพร่หลายมากกว่าเพราะถูกกฎหมาย ทำให้มีสัดส่วนของผู้ใช้บุหรี่กลายเป็นผู้เสพติดบุหรี่ได้มากเมื่อเทียบกับสุราและกัญชาดังตัวเลขที่ระบุในเฟซบุ๊ก แต่ที่เฟซบุ๊กข้างต้นไม่ได้ระบุ คือ ผู้วิจัยอธิบายว่าความง่ายของการติดและการใช้สารเสพติดอื่นร่วมด้วย เป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้ใช้กัญชากลายเป็นผู้เสพติดกัญชาในอัตราเร็วที่สูงกว่าผู้ใช้บุหรี่และสุรามาก ซึ่งต่างจากการสรุปของข้อมูลที่เขียนอยู่ในเฟซบุ๊กข้างต้นอย่างมาก

ข้อมูลเพิ่มเติมที่สำคัญ งานวิจัยโดย Feingold et al. (2020) (Probability and correlates of transition from cannabis use to DSM‐5 cannabis use disorder: Results from a large‐scale nationally representative study – Feingold – 2020 – Drug and Alcohol Review – Wiley Online Library) ได้ใช้การสำรวจเดียวกันนี้ แต่เก็บข้อมูลในระยะเวลาที่เป็นปัจจุบันกว่าระหว่างปี 2012-2013 ถือเป็นการสำรวจวิจัยครั้งที่ 3 (NESARC-III) โดยระยะเวลาดังกล่าวเป็นปีที่ 2 รัฐ ในสหรัฐอเมริกา อนุญาตให้เสพกัญชาได้อย่างเสรี

ผู้วิจัยชุดหลังนี้พบว่า สัดส่วนของผู้ใช้กัญชากลายเป็นผู้เสพติดกัญชาในช่วงชีวิตถึงร้อยละ 27 ซึ่งมากขึ้นกว่างานวิจัยเก่า และระยะเวลาจากการเริ่มใช้ไปสู่การเสพติดเป็นเวลาเพียง 4 ปี ซึ่งเร็วขึ้นกว่างานวิจัยเก่า จึงสรุปได้ว่ากัญชาก่อให้เกิดการเสพติดได้เร็วและมากกว่าที่กล่าวอ้างในเฟซบุ๊กของนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โควิดพุ่ง! ไทยติดเชื้อใหม่รอบสัปดาห์ 630 ราย ดับเพิ่ม 5 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 17 - 23 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 630 ราย

ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 501 ราย ดับเพิ่ม 4 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 10 - 16 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 501 ราย

กก.บำบัดผู้ติดยาเสพติด สั่งขยาย CBTx  ชุมชนล้อมรักษ์ทั่วปท. บำบัดผู้ป่วยกลุ่มใหญ่

‘สมศักดิ์’ ถก กก.บำบัดผู้ติดยาเสพติด สั่ง ขยาย ‘CBTx ชุมชนล้อมรักษ์’ ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ หลังช่วยบำบัดผู้ป่วยกลุ่มใหญ่สุด เผย ปี 67 มีผู้ป่วยยาเสพติดสะสม 4.6 หมื่นคน เป็นสีเขียว 3.6 หมื่นคนรับ บำบัดเป็นปลายน้ำ ต้องเร่งแก้ต้นน้ำ

ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 446 ราย ดับเพิ่ม 3 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 446 ราย

เครือข่ายกัญชา จ่อบุกยุติธรรม หวดหนัก 2 รมต.สร้างความวิบัติไม่ใช้ข้อเท็จจริงกำหนดนโยบาย

“เครือข่ายกัญชา” จ่อบุกกระทรวงยุติธรรม 6 มีนาคม นี้ จี้  2 รมต. แจงต่อสาธารณะด้วยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เทียบชัด ๆ คุณ-โทษ กัญชา สุรา ยาบ้า และบุหรี่  อัดไม่ใช้ความรู้กำหนดนโยบาย