'สุชาติ' เผย 'นายกฯ-บิ๊กป้อม' กำชับเร่งช่วยพนักงานเจเอสแอล แจง 3 แนวทางแก้ปัญหา

5 ก.ค.2565 - เวลา 13.35 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงกรณีที่พนักงานของบริษัท เจเอสแอล โกลบอล มีเดีย จำกัด เรียกร้องสิทธิเงินชดเชยในอัตราที่เป็นธรรม หลังจากถูกบริษัทดังกล่าวเลิกจ้างเมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาว่า พนักงานกลุ่มดังกล่าวได้เข้ามาพบตนที่กระทรวงแรงงาน ในวันนี้ (5 ก.ค.) เวลา 15.00 น. ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ได้เน้นย้ำว่าการร้องเรียนดังกล่าวถือเป็นเรื่องเร่งด่วน

นายสุชาติ กล่าวว่า ตนได้มอบหมายให้รองปลัดกระทรวงแรงงานได้ไปดูแลเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่ 4 ก.ค. ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม สำหรับกรณีดังกล่าว เรามีระดับการแก้ปัญหา 3 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1 การแจ้งสิทธิ และให้กำลังใจแก่พนักงานกลุ่มดังกล่าว โดยเราต้องเรียกนายจ้างมาพบภายใน 7 วัน แต่ถ้านายจ้างยังไม่มาพบทางกระทรวงฯภายในเวลาดังกล่าว เราต้องออกหนังสือไปและประกาศ ณ ที่ทำการบริษัท พร้อมกับแจ้งความเพื่อดำเนินคดีทางอาญากับนายจ้าง ซึ่งถ้าตำรวจได้ออกหมายเรียก แต่นายจ้างยังไม่มาตามหมายเรียก ก็จะนำไปสู่การออกหมายจับต่อไป

รมว.แรงงาน กล่าวอีกว่า แนวทางที่ 2 ทางกระทรวงฯได้ให้สำนักงานประกันสังคมเข้าไปดูแลโดยได้มีการแจ้งสิทธิให้พนักงานกลุ่มดังกล่าวรับทราบว่าเขาจะได้รับเงินจากกองทุนสำหรับผู้ว่างงานจำนวน 180 วันในอัตรา 50 เปอร์เซ็นต์ เพราะถือเป็นการตกงานแบบฉับพลัน แนวทางที่ 3 พล.อ.ประวิตรได้กำชับให้นำตำแหน่งงานที่อยู่ในเว็บไซต์ www.ไทยมีงานทำ.com โดยให้คัดเลือกตำแหน่งงานที่คล้ายกับงานที่พนักงานเหล่านั้นทำอยู่ นำไปให้พวกเขาได้เลือกสมัครเข้าทำงาน ทั้งนี้ ในเรื่องการต่อสู้ทางกฎหมาย กระทรวงแรงงานมีหน้าที่ช่วยเหลือลูกจ้างในลักษณะเป็นทนายหรือฝ่ายกฎหมายให้กับฝ่ายลูกจ้าง รวมถึงเป็นผู้ดำเนินการแจ้งความดำเนินคดีให้แก่ฝ่ายลูกจ้างด้วย และถ้าเรื่องเข้าสู่กระบวนการในชั้นศาล ทางกระทรวงฯก็ต้องติดตามขั้นตอนในชั้นศาลต่อไปด้วย โดยกระทรวงแรงงานยืนยันว่าจะทำเต็มที่เพื่อช่วยเหลือฝ่ายลูกจ้าง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวดี!! “พิพัฒน์” รมว.แรงงาน จัดให้บริการตรวจเช็คสภาพรถฟรี ขับขี่ปลอดภัย ใส่ใจทุกเส้นทาง ก่อนเดินทางช่วงสงกรานต์ 2567

วันที่ 11 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2567 นี้ ตนมีความห่วงใยพี่น้องผู้ใช้แรงงาน และพี่น้องประชาชนทั่วไปที่เดินทางกลับภูมิลำเนา รวมทั้งผู้ที่เดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อน เนื่องจากเป็นช่วงที่มีวันหยุดยาวติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันนั้น

"พิพัฒน์" เชื่อมขยายผล ทันที! หลังบริษัทอาหารญี่ปุ่น ชื่นชมแรงงานไทยมีทักษะ เปิดรับแรงงาน เริ่มวุฒิ ม.6 รายได้ 3 หมื่นขึ้นไป

เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม นายอัครพงศ์ เฉลิมนนท์ กงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา นางสาวสดุดี กิตติสุวรรณ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน)

“พิพัฒน์” รุกเปิดตลาดแรงงานญี่ปุ่นภาคท่องเที่ยว เจรจา รร.ดุสิตธานี เกียวโต ดันส่งแรงงานไทยไปทำงานเพิ่ม

วันที่ 8 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์

ทำได้แน่ ! "พิพัฒน์" ยืนยัน ค่าแรงขั้นต่ำผ่านกลไกไตรภาคี ถึงเป้าหมาย 400 บาทในสิ้นปี 2567

นายพิพัฒน์ รัขกิจประการ รัฐมนตรีว่ากระทรวงแรงงาน ยืนยันว่า การผลักดันนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ ผ่านกลไกของคณะกรรมการไตรภาคี 400 บาท ทั่วประเทศ ในปี 2567 กำลังดำเนินการอยู่