หมอธีระวัฒน์ ชี้ การระบาดโรคฝีดาษลิงไม่จบลงง่ายๆ

26 ก.ค. 2565 – ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ฝีดาษลิงไม่ได้ติดต่อกันง่ายแบบที่เราเห็นในโควิด แม้ว่ากลไกการแพร่จะเป็นในลักษณะแบบเดียวกันคือ การสัมผัสใกล้ชิด โดยเฉพาะ ขณะมีเพศสัมพันธ์ สัมผัสกับผื่น (ยกเว้นที่เป็นสะเก็ดแล้ว) แพร่ทางละอองฝอย ไอ จาม และการแพร่จะเกิดขึ้นต่อเมื่อคนติดเชื้อเริ่มมีอาการแล้ว (ไช้ ปวดหัว ปวดเมื่อยตัว ปวดหลัง ตามด้วยผื่น ต่อมน้ำเหลืองโต)

ฝีดาษลิงเตรียมพร้อมที่จะมีการปะทุขึ้นตลอดเวลาที่ผ่านมา แต่ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนในทุกประเทศทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษหรือฝีดาษซึ่งสามารถมีภูมิคุ้มกันข้ามไปยังฝีดาษลิงได้อย่างน้อยถึง 85%

แต่การฉีดวัคซีนไข้ทรพิษได้มีการยุติลงในปี 2523 ทั้งนี้เนื่องจากถือว่าไข้ทรพิษได้สูญไปจากโลกแล้ว ดังนั้นคนที่เกิดก่อนปี 2523 ในประเทศไทย ซึ่งน่าจะมีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป น่าจะยังมีภูมิคุ้มกันฝีดาษลิงอยู่ได้ แต่ไม่ทั้งหมด

ทั้งนี้ เมื่ออ้างอิงตามหลักฐานที่มีการศึกษารายงานในวารสารนิวอิงแลนด์ในปี 2007 ศูนย์สัตว์จำพวกลิงในรัฐโอเรกอนของประเทศสหรัฐ โดยเป็นการศึกษาระยะยาวในเจ้าหน้าที่ 45 คนและทำการติดตามภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนไปยาวเฉลี่ย 15 ปีหรือนานกว่า พบว่า 60% ยังคงมีภูมิคุ้มกันต่อฝีดาษลิงได้ หลังจากที่ฉีด วัคซีนไข้ทรพิษแล้ว

โดยที่ประเมินว่าภูมิที่ยังเหลืออยู่นั้น ควรจะมีระยะเวลาที่ใช้ได้อยู่ถึง 90 ปีจากการดูหลักฐานในเซลล์ความจำระบบ B cell และระดับของภูมิในน้ำเหลือง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะสามารถยืนยาวได้ทั้งหมดทุกคนที่มีภูมิคุ้มกันหลงเหลืออยู่ ทั้งนี้เนื่องจากประสิทธิภาพของ ภูมิคุ้มกันในร่างกายจะถดถอยลงเรื่อยๆเมื่ออายุมากขึ้น สถานะภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity)ที่ได้รับจากวัคซีนไข้ทรพิษ ทั้งใน อาฟริกา และทั้งโลก น่าจะเริ่มเสื่อมโทรมไป

นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันปาสเตอร์ได้ทำแบบจำลองคณิตศาสตร์ รายงานใน bulletin ของ องค์การอนามัยโลกในปี 2020 และได้ข้อสรุป และตั้งข้อสังเกตว่าฝีดาษลิงจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ แปรตาม สัดส่วนของภาวะภูมิคุ้มกันที่เริ่มลดลงในประชากรในประเทศแอฟริกา เช่น คองโก หลังจากที่หยุดการฉีดวัคซีนไข้ทรพิษ ซึ่งสามารถป้องกันข้ามไปยังฝีดาษลิงได้ และเริ่มเห็นการระบาด หนาตาขึ้นเรื่อยๆ

และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเหมือนกับเป็นการนับวันรอปะทุ โดยที่ความสามารถในการแพร่จากคนหนึ่งไปสู่คนอื่นที่เดิมน้อยกว่าหนึ่ง ประมาณ 0.7-0.8 นั่นคือ คนติดเชื้อหนึ่งคน สามารถแพร่ต่อไปหาคนอื่นได้น้อยมาก แต่อาจจะสูงขึ้น เป็นมากกว่าหนึ่ง และนั่น หมายถึง การระบาดแพร่กระจายจะไม่จบสิ้นในเวลาอันรวดเร็ว (sustained transmission)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' ของขึ้น เชี่ยมั้ย! ใครจะมาพูดอะไร แ-่ง ต้อง declare ผลประโยชน์ทับซ้อน

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความ

สยอง! 'หมอธีระวัฒน์' เผยพบแท่งย้วยสีขาว คล้ายหนวดปลาหมึก ในคนที่ฉีดวัคซีนโควิด mRNA

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ภาพและข้อ

‘หมอยง’ ชี้โรคปอดบวมในเด็กที่กำลังระบาดเพิ่มขึ้น ไม่ใช่เชื้ออุบัติใหม่

มีการระบาดและเพิ่มมากขึ้นของปอดอักเสบ โดยเฉพาะในเด็ก ไม่ใช่เฉพาะประเทศจีน ยังพบมากในเนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก อเมริกาในหลายรัฐ และแม้แต่ในประเทศไทย

อาจารย์หมอจุฬาฯ ห่วง ‘ฝีดาษลิง’ มากขึ้นจะควบคุมยาก แนะใส่ใจสุขภาพ

ย่างก้าวของฝีดาษลิงนั้นมีแนวโน้มจะเดินตามรอยเอชไอวี/เอดส์ เพราะ mode of transmission หลักนั้นคือการมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ อย่างไรก็ตามจะควบคุมโรคได้ยากกว่า

'หมอธีระวัฒน์' แฉถูกสั่งสอบสวน เพราะยุติเอาไวรัสจากค้างคาวที่เป็นอันตรายอย่างร้ายแรงมาศึกษา

นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์