นักวิชาการ เผยอิทธิพล 'ลานีญา' แรงขึ้น ระวังฝนถล่ม ปริมาณสูงกว่าค่าเฉลี่ยทุกภูมิภาค

18 ส.ค.2565 - รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเกษตร โพสต์เฟซบุ๊กว่า #อัพเดทน้ำท่วมน้ำแล้ง (16 ส.ค. 65) ลานีญายังแรงอีก ระวังฝนหนัก!! ความน่าจะเป็นที่จะเกิดลานีญาปรับเพิ่มขึ้นอีกและทรงตัวในระดับสูง พร้อมกำลังที่เพิ่มขึ้น จับตาช่วง ก.ย.-พ.ย. (ฤดูฝน) ปริมาณฝนจะมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติทุกภูมิภาคและมากกว่าปีที่แล้ว กทม. กลาง ตะวันออก ตะวันตก อีสาน ใต้ตอนบน ต้องระวังเป็นพิเศษ ปีนี้ได้หนาวจับใจกันยาวๆ ทุกภูมิภาคถึงอย่างน้อย ม.ค. 66 และจะหนาวเย็นกว่าปีที่แล้ว

ล่าสุด (16 ส.ค. 65) ทาง International Research Institute for Climate Society (IRI) มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และ Climate Prediction Center องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) สหรัฐอเมริกา ได้พยากรณ์ว่า ความน่าจะเป็นที่จะเกิดลานีญาปรับเพิ่มเกิน 80% ช่วง ก.ค.-ก.ย.65 และแตะเกือบ 80% ลากยาวถึง ธ.ค. 66 (ภาพที่ 2 ซ้าย) โดยเพิ่มกำลังอีกจากเดิม มากกว่าที่คาดไว้ในเดือนที่แล้ว แม้ว่าจะอยู่ในระดับกำลังอ่อน (ภาพที่ 2 ขวา) แต่ก็ประมาทไม่ได้ ลานีญาจะอ่อนกำลังช่วง ก.พ. 66 สัญญาณเอลนีโญยังมีน้อยและน่าจะไม่เกิดภัยแล้ง

โดยภาพที่ 3 บ่งชี้ว่าให้เตรียมรับมือกับปริมาณฝน (ของจริง) ที่จะเพิ่มขึ้นจากนี้ไป และมากกว่าเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้ในเดือนที่แล้ว เนื่องจากลานีญาไม่ยอมอ่อนกำลังลง และยืดเยื้อออกไปถึง พ.ย. 65 โดยช่วง ก.ย.-ต.ค. 65 ต้องระวังน้ำท่วมให้มากในทุกภูมิภาค เพราะฝนจะมามากกว่าปกติ กทม. กลาง ตะวันออก ตะวันตก และอีสาน ต้องระวังเป็นพิเศษ ฝนจะลากยาวถึงอย่างน้อย พ.ย. 65 ภาคใต้ระวังน้ำท่วมช่วง ต.ค.-ธ.ค. 65

ส่วนภาพที่ 4 APEC Climate Center พยากรณ์ว่าฝนจะมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติเกือบทุกพื้นที่ช่วง ก.ย.-พ.ย. ทุกภูมิภาค ต้องระวังน้ำท่วมให้มาก โดยเฉพาะ กทม. กลาง ตะวันออก ตะวันตก และอีสาน ส่วน ธ.ค. 65 ยังมีฝนมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติเกือบทุกภูมิภาค ส่วนช่วง ม.ค. 66 ฝนจะลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปกติ แต่ ก.พ. 66 ฝนจะกลับมามากกว่าค่าเฉลี่ยปกติในทุกภูมิภาค
สำหรับอุณหภูมิ ทาง IRI และ APEC Climate Center พยากรณ์ว่าช่วง พ.ย. 65 - ม.ค. 66 อากาศจะหนาวเย็นมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติ และจะหนาวกว่าปีที่ผ่านมาเกือบทุกภูมิภาค ซึ่งมาจากอิทธิพลของปริมาณฝนที่ลากยาวออกไปจากฤดูกาลปกติ

เตรียมรับมือกับปริมาณฝนของจริงที่จะมากกว่าปีที่แล้วกันนะครับทุกภูมิภาคช่วง ก.ย.-ต.ค.65 และภาคใต้ยาวถึง ธ.ค. 65 เตรียมรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยความไม่ประมาทกันนะครับ เกษตรกรต้องระวังผลผลิตเสียหายให้มากโดยเฉพาะช่วงเก็บเกี่ยวข้าว ฝนมากและหนาวเย็นกว่าปกติ รักษาสุขภาพกันด้วยนะครับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งเดินหน้ารับมือภัยแล้ง หลังพบ 4 แห่ง ต้องเฝ้าระวังน้ำน้อย

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้รับรายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ จากสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) โดยขณะนี้ มีปริมาณน้ำรวมทั้งประเทศ 46,027 ล้านลูกบาศก์

สทนช. เร่งหน่วยงานด้านน้ำคลอดแผนปฏิบัติการรองรับฤดูฝน เตรียมรับมือ “ลานีญา” คาดฝนตกหนัก มิ.ย. - ส.ค. 67

สทนช. มั่นใจ 10 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 รับมือสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเห็นผลเป็นรูปธรรมเร่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการภายใต้มาตรการรับมือฤดูฝน

กรมอุตุฯ ออกประกาศ จังหวัดที่ได้รับผลกระทบ ‘พายุฤดูร้อน’ ช่วง 8-11 เม.ย.

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฉบับที่ 2 เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 8 – 11 เมษายน 2567)

กรมอุตุฯ เตือนรับมือพายุฤดูร้อน ฝนแรกเดือนเมษายน หนักแน่!

กรมอุตุนิยม อัพเดทผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 3-12 เม.ย. 67 init. 2024040212 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) : ช่วง 3-8 เม.ย.67 จะเป็นช่วงที่มีอากาศร้อนถึงร้อนจัดหลายพื้นที่บริเวณประเทศไทยตอนบน

กรมอุตุฯ เผยสาเหตุเกิด 'พายุฤดูร้อน' ถล่มอีสาน เตือน 42 จังหวัดระวังฝนตกใน 24 ชม.ข้างหน้า

กรมอุตุนิยมวิทยา วิเคราะห์สาเหตุการเกิดพายุฤดูร้อน (ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บ) บริเวณภาคอีสาน (จ.เลย อุดรธานี บึงกาฬ หนองคาย ร้อยเอ็ด นครราชสีมา) เมื่อวานที่ผ่านมา (28/3/67)