สทนช. เร่งหน่วยงานด้านน้ำคลอดแผนปฏิบัติการรองรับฤดูฝน เตรียมรับมือ “ลานีญา” คาดฝนตกหนัก มิ.ย. - ส.ค. 67

สทนช. มั่นใจ 10 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 รับมือสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเห็นผลเป็นรูปธรรมเร่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการภายใต้มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 และรายงานผลทุกวันที่ 5 ของเดือน เผยสภาวะลานีญาจะเด่นชัดช่วงเดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2567 คาดฝนจะตกหนักสูงกว่าค่าเฉลี่ย

ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า ภายหลังจากคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ซึ่งมี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบ 10 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2567 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2567/2568 เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา และเตรียมนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบนั้น ระหว่างนี้ สทนช. ได้เร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการภายใต้มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการดังกล่าว ให้ สทนช. ทุกวันที่ 5 ของเดือน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไปจนกว่าจะสิ้นสุดฤดูฝน เพื่อให้การขับเคลื่อนมาตรการเป็นไปตามแผนและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ทั้งนี้ จากการติดตามสถานการณ์น้ำและสภาพอากาศคาดว่า ในช่วงต้นฤดูฝน ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่จะมีปริมาณน้ำใช้การทั้งประเทศประมาณ 16,570 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 35 ซึ่งใกล้เคียงกับปี 2566 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สภาวะเอลนีโญได้อ่อนกำลังลงและจะเปลี่ยนไปสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2567 ซึ่งจะทำให้เกิดฝนตกมากกว่าค่าเฉลี่ย โดยฝนจะเริ่มตกตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2567 และจะตกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในเดือนกันยายน 2567 ซึ่งจะมีฝนเฉลี่ยสูงถึง 263 มิลลิเมตร ดังนั้น สทนช. จึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมเครื่องมือและอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการภายใต้มาตรการดังกล่าวอย่างเร่งด่วน เพื่อรองรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นการทำงานในเชิงรุกเพื่อเป็นการป้องกันก่อนเกิดภัย ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและลดความเสียหายให้กับประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เลขาธิการ สทนช. กล่าวต่อว่า 10 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 มาจากการถอดบทเรียนมาตรการรับมือฤดูฝนในปีที่ผ่านมาร่วมกับทุกภาคส่วน ผนวกกับการรวบรวมข้อมูลด้านน้ำจากทุกมิติ และสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนควบคู่กับการติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ เป็นต้น ก่อนที่จะมาวิเคราะห์และจัดทำมาตรการรับมือฤดูฝนที่มีความสมบูรณ์ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น ได้ทันต่อสถานการณ์

สำหรับ 10 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2567 ประกอบด้วย มาตรการที่ 1 คาดการณ์ชี้เป้าและแจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและพื้นที่เสี่ยงช่วงฝนทิ้งช่วง พัฒนาเทคโนโลยีและเครื่องมือที่ทันสมัย เพิ่มความแม่นยำเชิงพื้นที่และช่วงเวลา อันจะนำไปสู่การแจ้งเตือนเหตุทันท่วงที พื้นที่สามารถเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ ทั้งเครื่องจักร เครื่องมือ เรือลำเลียง เสบียง ยารักษาโรค เพื่อเข้าให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันสถานการณ์ มาตรการที่ 2 ทบทวน ปรับปรุงเกณฑ์บริหารจัดการน้ำ อาคารควบคุมบังคับน้ำอย่างบูรณาการในระบบลุ่มน้ำและกลุ่มลุ่มน้ำ โดยมองภาพรวมทั้งลุ่มน้ำ นำสถิติปริมาณฝนในช่วงเวลาที่กำหนดมาคาดการณ์แนวโน้ม ประกอบการตัดสินใจระบายน้ำหรือพร่องน้ำในเขื่อนได้แม่นยำยิ่งขึ้น ลดผลกระทบให้พื้นที่ได้มากกว่าการบริหารจัดการน้ำโดยแยกแต่ละเขื่อนออกจากกัน โดยเฉพาะเมื่อประเทศต้องเจอกับเหตุการณ์ร่องมรสุมพาดผ่าน พายุจร ผลกระทบจากปรากฏการณ์ลานีญา พร้อมทั้งบริหารจัดการพื้นที่ลุ่มต่ำรองรับน้ำหลาก การวางแผนปรับปฏิทินและควบคุมพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูฝนให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์น้ำปัจจุบัน

มาตรการที่ 3 เตรียมความพร้อมเครื่องจักร เครื่องมือ อาคารชลศาสตร์ ระบบระบายน้ำ ระบบโทรมาตร บุคลากรประจำพื้นที่เสี่ยง และศูนย์อพยพให้สามารถรองรับสถานการณ์ในช่วงน้ำหลากและฝนทิ้งช่วง มาตรการที่ 4 ตรวจสอบพร้อมติดตามความมั่นคงปลอดภัยของคันกั้นน้ำ ทำนบ พนังกั้นน้ำ โดยจะมีการจัดตั้งคณะทำงานตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยคันกั้นน้ำ ทำนบ พนังกั้น ภายใต้คณะกรรมการลุ่มน้ำ ซึ่งในปีนี้จะดำเนินการสร้างเครือข่ายจากพี่น้องประชาชนช่วยแจ้งเหตุพื้นที่ที่พนังกั้นน้ำมีความเสี่ยงทรุดเสียหายร่วมกับภาครัฐด้วย มาตรการที่ 5 เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของทางน้ำอย่างเป็นระบบ โดยจัดทำแผนบูรณาการด้านเครื่องมือ เครื่องจักร สารชีวภัณฑ์ในการกำจัดวัชพืช ผักตบชวา ขยะในลำน้ำ และดำเนินการขุดลอกคูคลอง พร้อมทั้งจัดทำแผนการบริหารจัดการน้ำหลากกรณีต่าง ๆ ในพื้นที่เศรษฐกิจและพื้นที่เปราะบาง

มาตรการที่ 6 ซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ ตั้งศูนย์ล่วงหน้าก่อนเกิดภัย และฟื้นฟูสภาพให้กลับสู่สภาพปกติ โดยบูรณาการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกับแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในระดับชาติและระดับพื้นที่ มาตรการที่ 7      เร่งพัฒนาและเก็บกักน้ำในแหล่งน้ำทุกประเภทช่วงปลายฤดูฝน โดยกักเก็บน้ำส่วนเกินไปเก็บไว้ในลำน้ำและแหล่งน้ำทุกประเภท พร้อมทั้งพัฒนาแหล่งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินเพิ่มขึ้น เพื่อสำรองไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งถัดไป มาตรการที่ 8 สร้างความเข้มแข็งเครือข่ายภาคประชาชน ในการให้ข้อมูลสถานการณ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแจ้งเตือน และสร้างการตระหนักรู้ให้กับภาคประชาชน พร้อมทั้งการเตรียมซ้อมรับมือกับสถานการณ์ฝนตกหนักและน้ำป่าไหลหลาก มาตรการที่ 9 สร้างการรับรู้ศูนย์บริการข้อมูลสถานการณ์น้ำและประชาสัมพันธ์ ด้วยการจัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลสถานการณ์น้ำและดินโคลนถล่มในพื้นที่เสี่ยง โดยจะต้องสร้างการรับรู้ที่เข้าใจง่าย เช่น การใช้ภาษาท้องถิ่น และ มาตรการที่ 10          ติดตามประเมินผล ปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัยที่เกิดขึ้นจริง

“สทนช. ได้เน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตาม 10 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 ตามความเหมาะสมของพื้นที่อย่างเคร่งครัด เพราะนอกจากจะบรรเทาภัย แก้ไขปัญหาได้แม่นยำ ลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งเป็นการช่วยประหยัดงบประมาณแผ่นดินแล้ว ยังจะช่วยให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในระยะสั้นและระยะยาวเกิดประสิทธิภาพสูงสุดอีกด้วย” เลขาธิการ สทนช. กล่าวทิ้งท้าย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สทนช. ตั้ง“วอร์รูม” แก้ปัญหาน้ำเค็มรุกคลองประเวศบุรีรมย์ ลงพื้นที่ทำงานเชิงรุกเร่งฟื้นฟู ขีดเส้นภายใน เม.ย. กลับสู่ภาวะปกติ

สทนช.ตั้ง “วอร์รูม” เฉพาะกิจผนึกกำลังบูรณาการวางแผน สั่งการ แก้ปัญหาทำนบดินชั่วคราวพังทลาย น้ำเค็มทะลักเข้าคลองประเวศบุรีรมย์และคลองสาขา ในพื้นที่   จ.ฉะเชิงเทรา และสมุทรปราการ ลงพื้นที่เร่งติด ตามการดำเนินงานในเชิงรุก หวังลดผลกระทบที่เกิดขึ้น มั่นใจสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติได้ภายในเดือนเม.ย.นี้อย่างแน่นอน

ห่วงปชช. 7 จ. ริมน้ำโขง หลังสารเคมีรั่ว สั่ง สทนช. เฝ้าระวังถึง 12 เม.ย.

'สมศักดิ์' ห่วงชาวไทย-ลาว หลังสารเคมีรั่วลงแม่น้ำโขง สั่ง สทนช. เกาะติดใกล้ชิด แจงตรวจคุณภาพน้ำ จ.เลย ใช้ได้ปกติ แต่ยังเฝ้าระวังถึง 12 เม.ย.

เปิดงบฯขับเคลื่อนแผนบูรณาการฯทรัพยากรน้ำปี 67 สทนช.เผยผลงานปี 66 การันตีผลสัมฤทธิ์ที่คุ้มค่า

สทนช. โปร่งใสเปิดแผนบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ประจำปีงบประมาณ 2567 กว่า 56,000 ล้านบาท จะถูกนำไปใช้อย่างคุ้มค่า สอดคล้องยุทธศาสตร์ชาติ

สทนช. เดินหน้าสรรหาคนไทยคนแรก นั่งCEO สำนักงานเลขาฯคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง

สทนช. เดินหน้าสรรหาคนไทยคนแรกเพื่อดำรงตำแหน่ง CEO สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง เพื่อสนับ สนุนการขับเคลื่อนการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง 4 ประเทศ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือในทุกมิติ สู่เป้าหมายการบริหารจัดการลุ่มน้ำโขงตอนล่างให้เกิดความยั่งยืนและเท่าเทียมอย่างเป็นธรรม

สทนช.เกาะติดพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง 2 จังหวัดภาคตะวันออก บูรณาการแก้ปัญหาเร่งด่วน-ระยะยาว มั่นใจรอดแล้งนี้

สทนช.ลงพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง จ.จันทบุรี-ตราด ทั้งพื้นที่ต้นน้ำและปลายน้ำ เร่งประสานหน่วยงานเกี่ยวข้อง ขับเคลื่อนแผนแก้ปัญหาภัยแล้งและน้ำเค็มรุกล้ำในระยะเร่งด่วน

สทนช. เดินหน้าขับเคลื่อนแผนแม่บทน้ำฯ 20 ปี หนุนประปาภูมิภาคขยายเขต เร่งจัดการน้ำสะอาดส่งถึงทุกครัวเรือน

สทนช. หนุนประปาภูมิภาค สาขาบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ขยายเขตท่อเข้าช่วยพื้นที่ 6 ตำบลที่ขาดแคลนน้ำสะอาด เพื่ออุปโภคบริโภค มุ่งทุกครัวเรือนไม่ขาดแคลนน้ำสะอาด พร้อมร่วมหารือรักษาคุณภาพน้ำประปาให้ได้เกณฑ์มาตรฐานจนสิ้นฤดูแล้งสอดรับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี