ครบ 8 ปีคณะวิทยาการเรียนรู้ฯ มธ. เปิดตัว 'วารสารวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์'

ครบ 8 ปีคณะวิทยาการเรียนรู้ฯ มธ. “8 ปี การเรียนรู้ไม่สิ้นสุด” เปิดตัว “วารสารวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์” ฉบับแรก พร้อมโชว์ 8 นวัตกรรมการเรียนรู้ บ่มเพาะนวัตกรคนรุ่นใหม่ สร้างสังคมแห่งการเคารพและเรียนรู้ร่วมกัน

คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะฯ 29 กันยายน ครบรอบ 8 ปี ภายใต้ชื่องาน “LSEd - Endless Learning 8 ปี การเรียนรู้ไม่สิ้นสุด” รับฟังการเสวนาหัวข้อ “การเรียนรู้ไม่สิ้นสุดบนโลกแห่งความแตกต่างหลากหลาย” จากดร.นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) พร้อมเปิดตัว วารสารวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ (Journal of Learning Sciences and Education) และชมนิทรรศการ 8 ปี 8 นวัตกรรมการเรียนรู้ ณ ลานวงกลม อาคารสิริวิทยลักษณ์ มธ.

ผศ.ดร.อดิศร จันทรสุข คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า คณะวิทยาการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557 เพื่อสร้าง “ชุมชนแห่งการเรียนรู้” ที่มี จิตวิญญาณความเป็นธรรมศาสตร์และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการเรียนรู้ ทั้ง ชุมชนครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ชุมชนนักเรียน นักศึกษา ชุมชนเครือข่ายในนิเวศการเรียนรู้รอบด้าน ทั้งผู้ปกครอง นักการศึกษา องค์กรภาคส่วนต่างๆ และประชาชนผู้ใช้ประโยชน์ ร่วมเป็นเสาหลักประกอบสร้างสถาบันทางการศึกษาที่มีค่านิยม “สร้างสังคมแห่งการเคารพและเรียนรู้ร่วมกัน” มุ่งสู่วิสัยทัศน์  สถาบันการศึกษาชั้นนำที่ขับเคลื่อนสังคมด้วยการเรียนรู้

ผศ.ดร.อดิศร กล่าวอีกว่า คณะวิทยาการเรียนรู้และ ศึกษาศาสตร์ และโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตั้งมั่นอยู่บนแก่นแท้ของการศึกษาที่เชื่อว่าการศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนามนุษย์อย่างเป็นองค์รวมให้เต็มตามศักยภาพของตัวเอง มีวิถีใหม่ของกระบวนการเรียนรู้ 3 ด้าน คือ 1.วิถีการเรียนรู้ด้วยหัวใจ 2.ปฏิบัติด้วยปัญญา และ3.สร้างนวัตกรรมขับเคลื่อนสังคม โดยคณะฯ เป็น ชุมชนการเรียนรู้ “สหวิทยาการ” เชื่อมโยงบูรณาการศาสตร์เพื่อสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ โดยนำมุมมองศาสตร์และศิลป์ที่หลากหลายมาพัฒนาการเรียนรู้ของมนุษย์ และก้าวข้ามข้อจำกัดมายาคติของศาสตร์ด้านการศึกษา เข้าสู่แก่นแท้เชิงปรัชญาของการพัฒนามนุษย์

ทั้งนี้ภายในงานฯ มีการนำเสนอเส้นทางของการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ ตลอดจนคณะฯได้จัดทำ วารสารวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ (Journal of Learning Sciences and Education) ซึ่งเป็นฉบับปฐมฤกษ์ เปิดตัวครั้งแรกในวันสถาปนาครบรอบ 8 ปีของคณะฯ พิเศษกับนิทรรศการ 8 ผลงานนวัตกรรมการเรียนรู้ไม่สิ้นสุด ดังนี้ 1.นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการเรียนรู้  2.การเรียนรู้ส่วนบุคคล (personalized learning) รร.สาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 3. นิเวศการเรียนรู้ รร.สาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 4.วิจัยมายาคติทางการศึกษา  5.ก่อการครู: ครูบันดาลใจจุดไฟการเรียนรู้ 6. นวัตกรรมออกแบบเกม ออกแบบสังคม 7. นวัตกรรมการศึกษาขับเคลื่อนชุมชน สังคม และ 8. ความเท่าเทียม และความแตกต่างหลากหลาย นอกจากนี้จะได้รับฟังการเสวนาหัวข้อ “การเรียนรู้ไม่สิ้นสุดบนโลกแห่งความแตกต่างหลากหลาย” โดย ดร.นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) อีกด้วย

ผศ.ดร.ไอยเรศ บุญฤทธิ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ กล่าวถึง วารสารวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ ว่า วารสารวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 ฉบับนี้ ถือเป็นฉบับปฐมฤกษ์ที่จะเป็นพื้นที่ทางวิชาการ แหล่งรวมของสรรพศาสตร์หลากหลายแขนง โดยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาการเรียนรู้และการศึกษาศาสตร์ พื้นที่แห่งนี้จึงถือเป็นแหล่งสมาทานของผู้ใช้ศาสตร์และศิลป์ในการบูรณาการองค์ความรู้สู่การพัฒนามนุษย์เพื่อสร้างสังคมสันติสุขและยั่งยืน

ผศ.ดร.ไอยเรศ กล่าวต่อว่า เป้าหมายและแนวทางของการจัดทำวารสารวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่งานวิชาการของบุคลากรทั้งภายในและภายนอก สนับสนุนการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การถกเถียงทางวิชาการและวิชาชีพ อีกทั้ง มุ่งส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทางการวิจัยด้านวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังตั้งเป้าหมายเพื่อให้วารสารฉบับนี้ได้ก่อเกิดเป็นพื้นที่สำหรับการพัฒนาผลงานของนักปฏิบัติผู้ขับเคลื่อนชุมชนหรือสังคมด้วยการเรียนรู้ในทุกระดับให้เกิดเป็นงานวิจัย-วิชาการที่มีคุณภาพ สามารถเผยแพร่ให้เป็นที่รับรู้ยอมรับในแวดวงวิชาการ และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป

วารสารฉบับปฐมฤกษ์ฉบับนี้จะนำเสนอมิติด้าน “พื้นที่การเรียนรู้ (Learning Space)” ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการจัดทำวารสาร อีกทั้งต้องการชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการเรียนรู้ที่สามารถเกิดได้ทุกพื้นที่ ทุกหน ทุกแห่ง ดังนั้น บทความภายในวารสาร จึงประกอบด้วยเรื่องราวที่สะท้อนถึงพื้นที่การเรียนรู้หลากหลายมิติ หลากหลายมุมมอง อาทิ พื้นที่การเรียนรู้ในเชิงแนวคิด  (concept) ที่ได้รับการอธิบายเชื่อมโยงอย่างมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ทางกายภาพกับบริบท ในขณะเดียวกัน พื้นที่ภายใต้มโนสำนึกของตัวเรา ก็ถือเป็นพื้นที่หนึ่งที่สามารถขัดเกลาเพื่อธำรงตนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้เช่นกัน

โดยจะแบ่งเป็น 5 บทความ ได้แก่ 1.บทความวิชาการเรื่อง “THE THIRD WORLD WAR”: VISION OF A CONTEMPORARY THAI POET" ของศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. เจตนา นาควัชระ 2.บทความวิชาการเรื่อง “"พิพิธภัณฑ์สิรินธร พื้นที่เพื่อนักเรียนรู้ด้านซากดึกดำบรรพ์" ของ ดร. วราวุธ สุธีธร 3.บทความวิชาการเรื่อง “เมืองแห่งการเรียนรู้: concept, methods, and factors of implementation ของ พีรพล ทุมมาพันธ์ สรียา โชติธรรม และกัญญ์ฐิตา ศรีภา 4.บทความวิจัยเรื่อง "การศึกษารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้และปัจจัยที่ส่งผลการจัดการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล" ของ ชลิดา จูงพันธ์ และ 5.บทความเรื่อง "Intergenerational Ethics Development and Learning in Community: Lanna Wisdom School in Thailand" ของ ฐิติกาญจน์ อัศตรกุล และ ลินดา เยห์

ทั้งนี้หวังว่าด้วยความร่วมมือของทุกท่านจะช่วยให้วารสารวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ ได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพและมีมาตรฐาน ตลอดจนเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการบนฐานของการสร้างสังคมแห่งการเคารพและเรียนรู้ด้วยกัน อันจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์องค์ความรู้สู่สังคมไทยต่อไป.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'บ่อน้ำ' ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ของอาจารย์ปริญญา

อาจารย์ปริญญา จบกฎหมายมหาชน จากเยอรมัน จึงน่าจะเป็นเหตุผล ที่ทำให้ อาจารย์ มักแสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับกฎหมายของประเทศไทย อยู่หลายๆครั้ง ทำเหมือนไม่รู้ว่า “เมื่อเป็นคนไทยทำผิด ก็

มธ.จัดงาน 'วันสัญญา ธรรมศักดิ์' เปิดวงเสวนายกเคส ชั้น 14 สะเทือนกระบวนการยุติธรรม

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัด “งานวันสัญญา ธรรมศักดิ์ ประจำปี 2567” มอบรางวัลนักศึกษากฎหมาย-เรียนดี สืบสานปณิธานปูชนียบุคคลด้านนิติศาสตร์ พร้อมจัดวงเสวนา “กระบวนการยุติธรรม ขั้นตอนบังคับคดีอาญา” ยกเคสตัวอย่าง “คดีชั้น 14 รพ.ตำรวจ” บนขั้นตอนที่ผิดเพี้ยน สั่นคลอนความเชื่อมั่นต่อระบบยุติธรรม-กฎหมายไทย

เปิดเบื้องลึก! กว่าจะได้นั่งเก้าอี้ 'อธิการ มธ.'

รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่ในระหว่างการสรรหาอธิการบดีคนใหม่

ดร.นิว เฮลั่น! หยั่งเสียงเลือกอธิการบดีมธ. 'ปริญญา' ได้ที่โหล่

ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า "โชคดีของ