ชวนดู 'ดาวอังคาร' โคจรใกล้โลก 1 ธ.ค. โอกาสดีเห็นภูเขาไฟสูง 22 กม.ได้ชัดเจน

1 ธ.ค.2565 - สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยข้อมูลว่า วันนี้ 1 ธันวาคม "ดาวอังคาร" จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุด ห่างจากโลกประมาณ 81.5 ล้านกิโลเมตร จากนั้นจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ ในวันที่ 8 ธ.ค. 65 (ดวงอาทิตย์ โลก และดาวอังคารจะเรียงตัวอยู่ในเส้นเดียวกัน) ในช่วงดังกล่าว หลังจากดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าดาวอังคารจะปรากฏสว่างมากทางทิศตะวันออก มีสีส้มแดง และสว่างเด่นชัดอยู่บนท้องฟ้าตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า

หากชมผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาด 10 นิ้ว กำลังขยายตั้งแต่ 100 เท่าขึ้นไป จะสามารถมองเห็นรายละเอียดของพื้นผิว รวมทั้งขั้วน้ำแข็งบนดาวอังคารได้อย่างชัดเจน ดังนั้น ตลอดเดือนธันวาคมจึงเป็นช่วงที่เหมาะแก่การสังเกตการณ์ดาวอังคารเป็นอย่างยิ่ง

เนื่องจากวงโคจรของดาวอังคารค่อนข้างรี และอยู่ใกล้โลกมาก เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์วงนอกดวงอื่น ๆ เป็นผลให้วันที่ดาวอังคารอยู่ตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ จะไม่ใช่วันที่ดาวอังคารเข้าใกล้โลกมากที่สุด ต่างจากดาวเสาร์และดาวพฤหัสบดี ทั้งนี้ ดาวอังคารจะเข้าใกล้โลกในทุก ๆ 2 ปี 2 เดือน และจะเข้าใกล้โลกมากที่สุดทุก ๆ 15 - 17 ปี

ทั้งนี้ เพจเฟซบุ๊ก "NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ" ได้เผยภาพถ่ายของดาวอังคาร ซึ่งถ่ายไว้เมื่อวันที่ 27 พ.ย.2565 ด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดหน้ากล้อง 0.4 เมตร ที่หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา มองเห็นพืดน้ำแข็งปกคลุมบริเวณขั้วเหนือ รวมถึงเมฆสีขาวปกคลุมบริเวณทิศตะวันออก (ซ้าย) ของดาวอังคารอย่างชัดเจน และช่วงนี้ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้เห็นรายละเอียดพื้นผิวโดยเฉพาะภูเขาไฟโอลิมปัส ภูเขาไฟที่มีความสูงกว่า 22 กิโลเมตร (กลางภาพ) ได้อย่างชัดเจน

พร้อมเชิญชวนให้ผู้ที่สนใจ เข้าร่วมกิจกรรมสังเกตการณ์ "ดาวอังคารใกล้โลก" วันที่ 1 ธ.ค.2565 ตั้งแต่เวลา 18.00-22.00 น. ฟรี ! ไม่มีค่าใช้จ่าย

พบกันได้ที่จุดสังเกตการณ์หลัก 4 แห่ง
- อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่
- หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา
- หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา
- หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา

หรือชมถ่ายทอดสดปรากฏการณ์ดาวอังคารใกล้โลกได้ทางเพจ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

นอกจากนี้ ยังร่วมกับโรงเรียนในเครือข่ายกระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์ 560 แห่งทั่วประเทศ ตั้งกล้องโทรทรรศน์ และจัดกิจกรรมสังเกตปรากฏการณ์ในครั้งนี้ด้วย ผู้สนใจสามารถตรวจสอบ
จุดสังเกตการณ์ใกล้บ้านท่านได้ที่ https://bit.ly/MemberList-NARIT-DobsonianTelescope2022

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นาซา' นำเครื่องบินเก็บตัวอย่างอากาศเหนือน่านฟ้าไทย แก้ฝุ่นพิษในระยะยาว

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.)(NARIT) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ร่วม NASA ศึกษาปัญหามลภาวะอากาศในไทย ภายใต้โครงการ Airborne and Satellite Investigation of Asian Air Quality หรือ ASIA-AQ เก็บตัวอย่างอากาศเหนือน่านฟ้าไทย

สดร. เปิดภาพปรากฏการณ์ 'จันทรุปราคาบางส่วน'

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) เผยภาพ “ปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน” ช่วงเงามืดของโลกบังมากที่สุด เวลาประมาณ 03.14 น. ต่อเนื่องคืนวันที่ 29 ตุลาคม 2566 หรือเช้าวันออกพรรษา บันทึกภาพจากหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ

ข่าวดี! คืนวันแม่ ชม 'ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์' ด้วยตาเปล่า

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) แจ้งว่า ในคืนวันแม่ 12 สิงหาคม จนถึงรุ่งเช้า 13 สิงหาคม 2566

'วีนัส' ได้ 'Elon Musk' เป็นแรงบันดาลใจแต่งเพลง 'ดาวอังคาร' (Mars)

สลัดคราบนักแสดง ผีเด็ก ในภาพยนตร์เรื่องบุปผาราตรี 3.1 และ 3.2 พร้อมมาเป็นศิลปินเต็มตัว ภายใต้สังกัด YES i AM (เยสไอแอม) สำหรับสาวมากความสามารถ “วีนัส” (วีนัส ศักดิ์ศิริ) กับซิงเกิล ดาวอังคาร (Mars) ซึ่งเพลงนี้ “วีนัส” ได้แต่งเองจากประสบการณ์จริงตอนที่รู้สึกแย่สุดๆ

ชวนชม 'ซูเปอร์ฟูลมูน' คืนวันอาสาฬหบูชา พระจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แจ้งว่า​ คืนวันอาสาฬหบูชา 13 กรกฎาคม 2565​ นี้

จาก ‘ผีเด็ก’ สู่ศิลปินสาวมากฝีมือ ‘วีนัส’นักแต่งเพลงดาวรุ่งที่น่าจับตามอง

ถ้าเอ่ยถึงภาพยนตร์สยองขวัญอย่าง “บุปผาราตรี ภาค 3.1 และ 3.2” เชื่อว่าทุกคนจะต้องรู้จักผีเด็กผู้หญิงที่เคยถูกกล่าวถึงมากมายในช่วงที่ภาพยนตร์ฉายทั้ง 2ภาค ล่าสุดจากผีเด็กในวันนั้น วีนัส ศักดิ์ศิริ หรือ พูกัน-นัดตะวัน ศักดิ์ศิริ ศิลปินในวัย 20ปี กลายมาเป็นทั้งนักร้อง นักแต่งเพลง และนักแสดง โดยวันนี้เธอจะมาเปิดเส้นทางจาก “ผีเด็ก” สู่ “ศิลปินมากความสามารถ”