'วิษณุ' ชี้ร่างพรบ.คู่ชีวิต หยุดชะงัก เหตุมีกลุ่มค้านตะแบงเรื่องเท่าเทียม-อ้างขัดรธน.

18 พ.ย.2564 - ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าการสมรสเฉพาะชายกับหญิงไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ว่ารัฐบาลได้เสนอให้มีการทำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คู่ชีวิต พ.ศ. ... เสร็จแล้ว และเสนอไปที่คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิป) ซึ่งวิป มีข้อทักท้วงบางอย่าง จึงส่งกลับไปที่กระทรวงที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงยุติธรรม ให้ปรับปรุงบางอย่างเพิ่มเติม ซึ่งตอนที่ตนร่วมประชุมกับวิป ได้หยิบยกร่างกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมา และขอให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องนำไปจัดทำมาให้เสร็จโดยเร็ว เพื่อจะได้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรให้ทันสมัยประชุมนี้ เพราะทำตัวร่างพ.ร.บ.เสร็จแล้ว คณะรัฐมนตรีผ่านแล้ว และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจเสร็จแล้ว แต่ติดอยู่ที่วิป ซึ่งที่จริง เหตุที่ติดที่วิปเพราะมีคนไปร้องคัดค้าน

รองนายกฯ กล่าวอีกว่า ความคิดเห็นที่แตกต่างกันในร่างพ.ร.บ.นี้ คือรัฐบาลทำเป็นร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต แยกออกมาจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งถือว่าสมประโยชน์กับฝ่ายที่ต้องการจะสมรสแม้มีเพศสภาพ ที่แตกต่างกันอย่างไรก็ตาม แต่ฝ่ายที่ต้องการก็ยังต้องการมากกว่านี้ คือเขาไม่ต้องการทำเป็นพ.ร.บ.แยกต่างหาก แต่ต้องการให้เอาไปใส่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในมาตราใดที่กำหนดว่าชายและหญิงสมรสกันก็ให้มีคำว่าชายกับชาย หรือหญิงกับหญิงด้วย ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาและหลายกระทรวงไม่เห็นด้วย อีกทั้งหลายประเทศก็ไม่ได้เอามารวมกัน เพราะถ้ารวมกัน มันจะยุ่ง แต่ถึงอย่างไรก็ยอมรับสถานะให้สามารถจดทะเบียนสมรสได้ ซึ่งคิดว่าน่าจะเพียงพอแล้ว แต่เมื่อต้องการอย่างอื่นมากไปกว่านั้น มันจะลำบาก และจะไปพันกันแล้วทำให้ระบบกฎหมายเก่าเลอะเลือนไปหมด เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ให้ลองนำกลับไปคิดใหม่อีกครั้ง

นายวิษณุ กล่าวว่า เรื่องนี้คนที่เป็นนักกฎหมายอาจเข้าใจ แต่คนที่ไม่ใช่นักกฎหมายก็อาจไม่เข้าใจ และข้อสอบในเนติบัณฑิตยสภาเคยออกเรื่องนี้มาแล้วหลายครั้ง อย่างไรก็ตาม หลายคนอ่านรัฐธรรมนูญแล้วอ่านมาตรา 1, 2, 3, 4, 5 แล้วเข้าใจว่ามาตราเหล่านี้พูดถึงว่ากฎหมายขัดรัฐธรรมนูญไม่ได้ รวมถึงพูดถึงความมีสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ดังนั้น เมื่อเขาไปเจออะไรที่มันขัดกับสิ่งเหล่านี้ ก็จะร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่าขัด ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยมาแล้วหลายเรื่อง และข้อสอบเนติบัณฑิตยสภาเคยออกมาแล้วว่ามาตราเหล่านี้ในตัวมันเองไม่ได้ให้ความคุ้มครองอะไร แต่ต้องไปรอออกเป็นพ.ร.บ. หรือออกกฎหมายใหม่ ดังนั้นใครที่ไปเปิดรัฐธรรมนูญ เจอมาตรา 5 ที่ระบุว่าบุคคลย่อมมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเมื่ออ่านเจอกฎหมายอะไรที่ขัดกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ก็ไปยื่นร้องเลยว่าขัดรัฐธรรมนูญ แบบนี้ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับ แต่ศาลฯจะรับต่อเมื่อมี พ.ร.บ.ที่ไปขัดกับมาตราอื่นๆในรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่มาขัดกับมาตราที่อยู่ในบททั่วไปเหล่านี้ ซึ่งการบ้านที่ศาลรัฐธรรมนูญให้ไว้คือเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องเร่งออกกฎหมายลูกให้เร็ว ให้ทัน เพราะตอนนี้บางฉบับไม่ได้ออก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ครูหยุย' มั่นใจร่างพรบ.สมรสเท่าเทียม คลอดทัน สว.ชุดปัจจุบันแน่นอน

’ครูหยุย‘ มั่นใจ ‘พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม’ คลอดทัน สว.ชุดปัจจุบันแน่นอน เหตุตัวบทกฎหมายไม่มีอะไรยาก มองเกณฑ์อายุไม่เป็นปัญหา ส่วนศาสนาไม่ได้บังคับ

เพื่อไทย ดักคอฝ่ายค้านอภิปราย 152 ต้องสร้างสรรค์

นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ สส.บัญชีรายชื่อ และรองโฆษกพรรคเพื่อไทย ในฐานะคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวถึงข้อกังวลของวิปฝ่ายค้านว่ารัฐบาลจะล้มการอภิปรายตาม

แผนล่มสภาฯ! 'ก้าวไกล' แห้ว ฝ่ายรัฐบาลผนึก ผ่านรายงานเอ็นเตอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์ ครบวงจรฯ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากการนับองค์ประชุมแบบขานชื่อ เป็นเวลากว่า 1 ชั่วโมง ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พิจารณารายงานผลการศึกษาเรื่องการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร (Entertainment Complex

'วู้ดดี้' ลั่นถึงวันที่รอคอย เฮ! กม.สมรสเท่าเทียมผ่าน

ใช้ชีวิตร่วมกันกับแฟนหนุ่ม โอ๊ต อัครพล มานานหลายปี สำหรับพิธีกรคนเก่ง วู้ดดี้-วุฒิธร มิลินทจินดา และเป็นอีกหนึ่งคนที่อยากให้ประเทศไทยมีกฏหมายสมรสเท่าเทียม โดยล่าสุดหลังจากรอคอยมากว่า 20 ปี ในวันที่กฎหมายสมรสเท่าเทียมในประเทศไทยได้รับการอนุมัติ วู้ดดี้ วุฒิธร ก็ได้ออกมาพูดถึงเรื่องดังกล่าวผ่านอินสตาแกรมส่วนตัว

ผ่านแล้ว พรบ.สมรสเท่าเทียม ให้สิทธิเบื้องต้น LGBTQ อายุ 18 ปี หมั้น-สมรสได้

ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม เข้าสู่วาระพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่.)พ.ศ…. หรือกฎหมายสมรสเท่าเทียม