'มัลลิกา' ชูแก้ประมวลกฎหมายอาญา คุ้มครองเด็กและเยาวชน

มัลลิกา'มัลลิกา' พร้อมผู้สนับสนุนรวม 21 ส.ส.ประชาธิปัตย์ และพรรคร่วมรัฐบาล เสนอแก้กฎหมายอาญา แทรกความผิดหนัก 'การกระทําผิดต่อเด็กผ่านสื่อออนไลน์' กำหนดโทษแรง

22 ธ.ค.2565 - นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง 21 ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์และพรรคร่วมรัฐบาล เข้าชื่อเสนอร่าง พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่..พ.ศ. ว่าร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นประมวลกฎหมายอาญา โดยบันทึกหลักการและเหตุผลประกอบการแก้ไข ซึ่งหลักการคือแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ดังนี้

1.แก้ไขเพิ่มเติมการกระทำความผิดนอกราชอาณาจักรโดยเพิ่มบทบัญญัติของการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศและความผิดต่อเสรีภาพ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 8(3) และมาตรา 8(7)

2.เพิ่มการกระทำความผิดอันมีลักษณะการโน้มน้าว จูงใจ ล่อลวง ส่งหรือส่งต่อซึ่งเรื่องทางเพศไม่เหมาะสม การข่มขู่ว่าจะเผยแพร่ส่งต่อซึ่งข้อความ ภาพ เสียงที่บันทึกเกี่ยวกับเรื่องที่ไม่เหมาะสมทางเพศ เป็นความผิดเกี่ยวกับเพศ (เพิ่มมาตรา 280/2มาตรา 284/1 มาตรา 284/2 มาตรา 284/3 มาตรา284/4 มาตรา 284/5 และมาตรา284/6

3.แก้ไขเพิ่มเติมโดยเพิ่มบทลงโทษของการกระทำความผิดอันมีลักษณะการโน้มน้าว จูงใจ ล่อลวง ส่งหรือส่งต่อซึ่งเรื่องทางเพศไม่เหมาะสม (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 285 มาตรา 285/1 และมาตรา 285/2

4.เพิ่มบทลงโทษการกระทำความผิดในการครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็กโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์หรือช่องทางโทรคมนาคม ซึ่งเพิ่มมาตรา 287/1 วรรคสาม และมาตรา 287/2 วรรคสาม

5.เพิ่มการกระทำความผิดซ้ำกรณีการเฝ้าดูหรือติดตามอันทำให้ผู้ถูกกระทำเกิดความรำคาญ และการกลั่นแกล้ง รังแก ระราน ข่มเหงต่อผู้อื่นผ่านอุปกรณ์โทรคมนาคมหรือระบบคอมพิวเตอร์ และเพิ่มบทลงโทษกรณีบุคคลที่เป็นผู้ดูแลระบบหรือเข้าถึงข้อมูลได้ คือ เพิ่มมาตรา 309/1 มาตรา 309/2 มาตรา 309/3 มาตรา 309/4 มาตรา 309/5 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 321 และเพิ่ม 321/2
 
"เหตุผลที่ต้องเสนอเพราะ เราห่วงใยเด็กและเยาวชนในยุคสมัยการขยายตัวของสื่อออนไลน์และการรู้เท่าไม่ทันคนที่ไม่ดีในสังคมโดยที่ปัจจุบันประมวลกฎหมายอาญาไม่ได้กำหนดให้ลักษณะการโน้มน้าว จูงใจ ล่อลวง ส่งหรือส่งต่อซึ่งเรื่องทางเพศไม่เหมาะสม การข่มขู่ว่าจะเผยแพร่ส่งต่อซึ่งข้อความ ภาพ เสียงที่บันทึกเกี่ยวกับเรื่องที่ไม่เหมาะสมทางเพศ เป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศซึ่งเป็นความผิดทางอาญา รวมถึงไม่ได้กำหนด การกระทำความผิดซ้ำกรณีการเฝ้าดูหรือติดตามอันทำให้ผู้ถูกกระทำเกิดความรำคาญ และการกลั่นแกล้ง รังแก ระราน ข่มเหงต่อผู้อื่นผ่านอุปกรณ์โทรคมนาคมหรือระบบคอมพิวเตอร์เป็นการกระทำความผิดต่อเสรีภาพซึ่งเป็นความผิดทางอาญา จากสถานการณ์ปัจจุบันได้มีการกระทำดังกล่าวที่ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางจิตใจ ร่างกาย และทรัพย์สินต่อผู้ถูกกระทำ ดังนั้น สมควรกำหนดโทษทางอาญาเพื่อคุ้มครองผู้ถูกกระทำและป้องกันไม่ให้เกิดอาชญากรรมร้ายแรง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้" นางมัลลิกา กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สส.รักชนก' งานงอก! ศาลรธน. ชี้พรบ.คอมพ์ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาในคดีที่ศาลอาญาส่งคำโต้แย้งของจำเลย (น.ส.รักชนก ศรีนอก) ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ 683/2565 เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย

ไม่ทิ้งเด็กเดินทางผิด ไว้ข้างหลัง!  ผุดศูนย์เรียนรู้ ทักษะอาชีพ เปิดประตูชีวิตใหม่

“กสศ”.เปิดงานแนวรุกทางการศึกษา  ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง จับมือกรมพินิจฯ  เจาะกลุ่มเด็กในกระบวนการยุติธรรม  สร้างโอกาสทางการศึกษา เปิดเส้นทางชีวิตใหม่   ผุดศูนย์เรียนรู้ในศูนย์ฝึกอบรมฯ ทั่วประเทศ เผยตัวเลขเด็กกลับไปทำผิดซ้ำลดลงต่อเนื่อง

มัลลิกา เชื่อ ปชป. ไม่โหวต 'พิธา' ย้ำไม่เห็นด้วยเอาม็อบกดดัน

มัลลิกา ยัน ประชาธิปัตย์ไม่โหวต"พิธา" แม้ยังไม่มีมติกรรมการบริหารพรรค ย้ำ "อุดมการณ์-ธรรมนูญพรรค" ยึดมั่น ชาติ-ศาสน์-กษัตริย์

รู้กันไว้! ไวรัสโควิดไร้สีที่ตามองเห็นส่วนที่ขึ้นเป็นสีแดงเพราะใช้คอมพิวเตอร์แต่ง

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์เปิดความรู้เรื่องสีไวรัส บอกชัดไม่มีสีที่ตามองเห็นได้ ส่วนที่เป็นสีแดงไม่ใช่สีจริงเป็นการแต่งแต้มด้วยคอมพิวเตอร์

แพทย์มือดีลงเลือกตั้ง 'ปชป.' เปิดตัวหมอโนเกียร์ อาสารับใช้พื้นที่เขตบางกอกน้อย-ตลิ่งชัน

แพทย์มือดีลงเลือกตั้ง! ประชาธิปัตย์ ส่งหมอโนเกียร์ ลงแข่งเขตเก่า "องอาจ" มั่นใจเป็นทางเลือกและโอกาสของคนกรุงเทพฯ เขตบางพลัด-บางกอกน้อย