สภากทม. เห็นชอบ 3 วาระรวด ยกเลิกกฎหมาย 11 ฉบับ ให้สอดคล้องผังเมืองรวม

"สภากทม." เห็นชอบ 3 วาระรวด ยกเลิกเทศบัญญัติและข้อบัญญัติ 11 ฉบับ ให้สอดคล้องกับบริบทผังเมืองรวมของกทม.

25 ม.ค.2566 - ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง นายวิรัตน์ มีนชัยนันท์ ประธานสภากรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมสามัญ สมัยแรก (ครั้งที่ 4) ประจำปีพุทธศักราช 2566 โดยมี สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร(ส.ก.) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม

ในที่ประชุม ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้เสนอญัตติร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ยกเลิกเทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพและข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ....

เนื่องจากเทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร จำนวน 11 ฉบับ เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อใช้เป็นมาตรการทางผังเมืองในขณะที่กรุงเทพมหานครยังไม่มีการกำหนดผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครไว้เป็นการเฉพาะ ประกอบกับเทศบัญญัติและข้อบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับมาเป็นเวลานาน เมื่อมีการตรากฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครขึ้นบังคับใช้ โดยไม่ยกเลิกกฎหมายเก่าอย่างเป็นระบบ หรือไม่มีกรณีที่จะใช้เพราะไม่เหมาะสมหรือสอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน มีข้อกำหนดที่ไม่สอดคล้องและขัดกับกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนของกฎหมายและเกิดปัญหาในทางปฏิบัติ

ประกอบกับบริเวณที่ควบคุมเป็นย่านที่พักอาศัยหนาแน่นมาก ย่านศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเมือง อีกทั้งเป็นพื้นที่ส่งเสริมเกษตรกรรมชานเมืองฝั่งตะวันออกและตะวันตก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาสูงและมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคมไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครได้กำหนดรายละเอียดไว้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วกรุงเทพมหานครแล้ว ทำให้เทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวไม่เหมาะสมกับกาลปัจจุบัน และไม่มีความจำเป็นต้องใช้บังคับอีกต่อไป

เห็นควรยกเลิกเทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง กำหนดบริเวณซึ่งอาคารบางชนิดจะปลูกสร้างขึ้นมิได้ (ฉบับที่ 2 พุทธศักราช 2502 เทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง กำหนดบริเวณซึ่งอาคารบางชนิดจะปลูกสร้างขึ้นมิได้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2505 ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท พ.ศ. 2525

ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทในท้องที่แขวงฉิมพลี แขวงบางระมาด แขวงบางเชือกหนัง และแขวงบางพรม เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2525 ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในท้องที่แขวงฉิมพลี แขวงบางระมาด แขวงบางเชือกหนัง และแขวงบางพรม เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2534

ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลงใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในท้องที่แขวงบางไผ่ แขวงบางแคเหนือ และแขวงคลองขวางเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2525 ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในท้องที่แขวงบางไผ่ แขวงบางแคเหนือ และแขวงคลองขวาง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2534

ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในท้องที่เขตมีนบุรี แขวงคลองสิบ แขวงคู้ฝั่งเหนือ เขตหนองจอก และแขวงคลองสามประเวศ แขวงลำปลาทิว แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2525

ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในท้องที่เขตมีนบุรี แขวงคลองสิบ แขวงคู้ฝั่งเหนือ เขตหนองจอกและแขวงคลองสามประเวศ แขวงลำปลาทิว แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2544 ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท บริเวณโดยรอบศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ในท้องที่แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2532

และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในท้องที่บางส่วนในแขวงแสมดำ แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน และแขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2544 จึงจำเป็นต้องตราข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนี้

นายนภาพล จีระกุล ส.ก.เขตบางกอกน้อย ในฐานะประธานคณะกรรมการการโยธาและผังเมือง กล่าวว่า ตามที่ประธานสภากรุงเทพมหานคร ได้มอบให้คณะกรรมการโยธาและผังเมืองได้ศึกษาร่างข้อบัญญัติฯ ตามที่ผู้ว่าฯกทม.เสนอ คณะกรรมการได้เชิญสำนักการวางผังและพัฒนาเมืองมาให้ข้อเท็จจริง รวมทั้งศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง พบว่าเทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพและข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครทั้งหมด 11 ฉบับ เกิดขึ้นในขณะที่ยังไม่มีผังเมืองรวม จากนั้นได้มีการออกผังเมืองรวมเพื่อครอบคลุมหารบริหารพื้นที่ของกทม.ไว้หมด คณะกรรมการจึงเห็นตรงกับผู้ว่าฯกทม.ที่จะยกเลิก เพื่อให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานไม่สับสน ทั้งนี้คณะกรรมการเห็นว่าควรรับหลักการร่างข้อบัญญัติฯ และพิจารณาสามวาระรวดเดียว

นายสุทธิชัย วีรกุลสุนทร ส.ก.เขตจอมทอง กล่าวว่า ขอชื่นชมผู้ว่าฯกทม.ที่เสนอให้ยกเลิกกฎหมายทั้ง 11 ฉบับ เพราะเทศบัญญัติและข้อบัญญัติมีการบังคับใช้มาเป็นระยะเวลานาน และได้รับการร้องเรียนจากประชาชนหลายพื้นที่เขตว่ากฎหมายเหล่านี้ลิดรอนสิทธิผู้ที่อยู่ริมคลอง ซึ่งกฎหมายกำหนดให้สร้างบ้านทรงจั่ว ความสูงไม่เกิน 8 เมตรเท่านั้น ในขณะที่ประชาชนประสงค์จะสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ หรือการสร้างบ้านบริเวณถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล ต้องเว้นระยะร่น ทำให้ประชาชนที่ต้องการค้าขายทำไม่ได้ ทั้งนี้ขอให้ผว.ตรวจสอบกฎหมายฉบับอื่นที่ต้องแก้ไขเพื่อไม่ให้ลิดรอนสิทธิประชาชนด้วย รวมถึงขอให้สำนักการวางผังฯ พิจารณาเปลี่ยนสีผังเมืองให้สอดคล้องกับบริบทเมืองที่เปลี่ยนไป โดยสภากทม.พร้อมที่จะร่วมพิจารณาเพื่อพัฒนากรุงเทพให้เป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน

ในที่ประชุม ส.ก.ลงมติรับหลักการแห่งข้อบัญญัติ และมีมติเห็นชอบ 3 วาระรวด ตามที่คณะกรรมการการโยธาและผังเมืองเสนอ ซึ่งสภากรุงเทพมหานครจะจัดส่งให้ฝ่ายบริหารพิจารณาประกาศใช้ต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สงกรานต์'รางน้ำ' พิกัดใหม่เล่นน้ำสุดฉ่ำ

สงกรานต์กรุงเทพฯ จุดเล่นน้ำสงกรานต์ยอดฮิตที่มีคนไทยและชาวต่างชาติเดินทางไปท่องเที่ยวอย่างคับคั่งเป็นประจำทุกปี คนจะนึกถึงถนนข้าวสาร เขตพระนคร หนึ่งในย่านท่องเที่ยวและจัดงานเล่นน้ำสงกรานต์ยอดนิยมเสมอมาของกรุงเทพฯ  รองลงมาสงกรานต์สีลมซึ่งปิดถนนให้เล่นน้ำสงกรานต์กันตลอดเส้นสีลม ยังมีพื้นที่ของคนกลุ่มความหลากหลายทางเพศ LGBTQ ที่จัดประกวดเทพีสงกรานต์ เดินขบวนพาเหรด การแสดงศิลป

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ

ศิลปะกลางแจ้งย่านเก่า หนุนกรุงเทพฯ เมืองที่ดีที่สุด

กรุงเทพฯ ยังคงได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก หลังนิตยสารท่องเที่ยวชื่อดัง DestinAsian ประกาศให้กรุงเทพฯ คว้าอันดับ 1 เมืองที่ดีที่สุด (Best Cities 2024)  ในประเภทเมืองที่เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว (Destination) ในเอเชียแปซิฟิก

สสส.ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรม ‘พัก กะ Park’ เปลี่ยนสวนสาธารณะให้เป็นพื้นที่สุขภาวะ

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร (กทม.), กลุ่ม we!park และภาคีเครือข่ายพัฒนาเมืองสุขภาวะและชุมชนสุขภาวะ (Healthy Space Alliance)