จี้ รัฐบาล เอาจริงแก้ฝุ่นพิษ เสนอ 5 ทางออก โว เพื่อไทย มา pm 2.5 หมดไป

3 ก.พ.2566-นายนพดล ปัทมะ รองประธานยุทธศาสตร์ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ปัญหาค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ในกรุงเทพมหานครติดอันดับโลกขณะนี้ และอยู่ในระดับเป็นอันตรายต่อสุขภาพจากสภาพอากาศปิด รถยนต์สันดาปภายใน โรงงาน เป็นต้น ขณะที่ในหลายจังหวัดประสบปัญหาจากการเผาป่า เผาไร่ ที่ผ่านมา การแก้ไขปัญหาเป็นแบบไฟไหม้ฟางและปลายเหตุมาตลอด พรรคเพื่อไทยเห็นว่าเรื่องนี้ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดทั้งระยะสั้น กลาง และระยะยาว หากได้เป็นรัฐบาลจะแก้ปัญหาโดย

1.เข้มงวดห้ามเผาป่า เผาไร่เช่น อ้อย ข้าวโพด และของเหลือจากผลิตผลทางการเกษตรอย่างเคร่งครัด พร้อมกับดำเนินนโยบายปลูกป่าเศรษฐกิจขนานใหญ่ ได้ทั้งการแก้ปัญหาโลกร้อนและซับฝุ่น pm 2.5

2.เร่งแก้ไขปัญหาฝุ่นไร้พรมแดนจากประเทศเพื่อนบ้านด้วยการเจรจากับมิตรประเทศ เพื่อร่วมมือกันกำจัดฝุ่นที่ต้นตอ ไม่ให้มีปัญหาเผาผลผลิตทางการเกษตร เช่น ข้าวโพด อ้อย พร้อมกับถ่ายทอดเทคโนโลยีนำซากผลผลิตทางการเกษตรมาทำปุ๋ยหรือพลังงาน

3. เปลี่ยนรถโดยสารประจำทางเครื่องยนต์ดีเซลในกรุงเทพมหานครที่มีประมาณ 7,000-8,000 คัน เป็นรถไฟฟ้า อีวี ตั้งเป้าภายใน 4 ปี หากทำได้จะทำให้ปัญหาฝุ่น pm 2.5 เบาบางลงอย่างมาก รวมทั้งตรวจสอบการปล่อยมลพิษจากโรงงานในจังหวัดรายล้อมกรุงเทพฯอย่างเข้มงวด เข้มงวด site ก่อสร้าง

4.สร้างรายได้จากอุตสาหกรรมใหม่ หรืออุตสาหกรรมสีเขียว โดยเร่งให้ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมผลิตรถไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบ เช่น ผลิตชิ้นส่วน แบตเตอรี่ เพื่อให้คนไทยเข้าถึงรถไฟฟ้าในราคาสมเหตุสมผล ลดการใช้รถสันดาปภายใน และจะแก้ไขปัญหาขีดความสามารถของประเทศ และยังช่วยลดแหล่งกำเนิด pm 2.5 ได้อย่างเป็นระบบ

5.ผลักดันร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาด ทันทีที่พรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล เพื่อวางโครงสร้างทางกฎหมายเพื่ออากาศสะอาดของพี่น้องประชาชน เพราะอากาศสะอาดเป็นหนึ่งในสิทธิมนุษยชน

“ปัญหาฝุ่น pm 2.5 ไม่เลือกคนรวย คนจน เด็กอนุบาล หรือผู้สูงอายุ เราจะไม่ปล่อยให้แก้ปัญหาแบบนี้อีกต่อไป พรรคเพื่อไทยมา pm 2.5 ต้องหมดไป ต้องแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและโดยแก้เริ่มจากได้การมีรัฐบาลใหม่ที่เอาจริงเรื่องนี้"นายนพดล กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘นพดล’ ชี้ข่าวดีหาก ‘อิหร่าน’ ยุติโจมตี ‘อิสราเอล’ ห่วงคนไทยขอให้ฟังคำเตือนสถานทูต

กรรมาธิการห่วงใยชีวิตของคนไทยเกือบ 30,000 คนที่ทำงานในประเทศอิสราเอล และเข้าใจว่ามีแรงงานบางส่วนเริ่มเดินทางกลับไปทำงานเพราะต้องมีรายได้เลี้ยงครอบครัว

ปี 2566 ไทยมีคุณภาพอากาศแย่ติด 1 ใน 5 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รายงานคุณภาพอากาศโลกปี 2566 ของ IQAir ระบุว่าประเทศไทยมีคุณภาพอากาศในระดับที่แย่เป็นอันดับที่ 5 จากทั้งหมด 9 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวัน