หายใจโล่งขึ้น กทม. มีฝุ่นพิษ เกินมาตรฐาน 7 พื้นที่

12 มี.ค. 2566 – ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครขอสรุปผลการตรวจวัด PM2.5 วันที่ 12 มี.ค. 2566 เวลา 05.00-07.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด)

ตรวจวัดได้ 41-67 มคก./ลบ.ม.

ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 53.1 มคก./ลบ.ม.

ค่า PM2.5 มีแนวโน้มลดลง แต่ยังคงเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพบางพื้นที่

ทั้งนี้ ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ได้ 31-56 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 7 พื้นที่ คือ

1.เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.

2.เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.

3.เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.

4.เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.

5.เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.

6.เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.

7.เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.

ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง(คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่นPM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา)
ในช่วงวันที่ 12-19 มี.ค.2566 อากาศเริ่มอยู่ในสภาวะเปิด การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี ส่งผลให้ฝุ่น PM2.5 เกิดการสะสมตัวมีแนวโน้มลดลง แต่อาจมีแนวโน้มฝุ่นละอองขึ้นสูงได้ในบางพื้นที่ ช่วงนี้มีความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมภาคเหนือ ในขณะที่มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนกับฟ้าหลัวในตอนกลางวันและมีฝนตกเล็กน้อยบางแห่ง ทั้งนี้ในช่วงวันที่ 12 – 14 มี.ค.66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ และในช่วงวันที่ 13-14 มี.ค. 2566 อาจมีฝนในบางพื้นที่ จากอิทธิพลของมวลอากาศเย็นเกิดการปะทะกันกับมวลอากาศร้อนทำให้มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นได้ ควรระมัดระวังรักษาสุขภาพจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานกลางแจ้งที่ควรระวังโรคลมแดดและวันนี้กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่

12 มี.ค.2566 พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอาจมีแนวโน้มฝุ่นละอองขึ้นสูงได้ในบางพื้นที่** โดย หลังวันที่ 13 มี.ค.2566 เป็นต้นไปสถานการณ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีแนวโน้มที่ดีขึ้น เนื่องจากลมทางใต้ช่วยพัดพาฝุ่นละอองออกจากพื้นที่ อย่างไรก็ตามช่วงระหว่างวันที่ 15-18 มี.ค. 66 เป็นช่วงที่ควรเฝ้าระวังของพื้นที่เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากฝุ่นละอองข้ามพื้นที่ได้

2. จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ในวันที่ 11 มีนาคม 2566 จำนวน 1 จุด เวลา 13.58 น. แขวงลำต้อยติ่ง เขตหนองจอก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ป้อง 'พิธา' สวนรัฐบาลมือไม่พายเอาเท้าราน้ำ เหน็บ 'ทักษิณ' ผิดศีลข้อ 4

'โรม' ข้องใจ 'ทักษิณ' ลงพื้นที่ดูแข็งแรง ไม่เหมือนป่วยจริง ถามสังคมยอมรับนักการเมืองมุสาได้แค่ไหน สวนคนวิจารณ์ 'พิธา' ดับไฟป่าเชียงใหม่ มือไม่พายอย่าเอาเท้าราน้ำ

นายกฯ ชื่นชม เชียงใหม่จัดการฝุ่นได้ดี ย้ำ PM 2.5 ส่วนใหญ่ลอยมาจากประเทศเพื่อนบ้าน

เชียงใหม่ขอบคุณนายกฯให้กำลังใจรับนโยบายเดินหน้าทำงาน ทำได้ดีขึ้น และยังต้องทำให้ได้ดีกว่านี้อีก