
มหาดไทย ยกระดับการแก้ไขปัญหา PM 2.5 สั่งการทุกจังหวัด เร่งแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก เน้นบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
12 มี.ค.2566-นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานว่า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ได้สั่งการให้กรมป้องกันเเละบรรเทาสาธารณภัย ติดตามสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) อย่างใกล้ชิด ซึ่งพบว่าในหลายพื้นที่ของประเทศมีปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานต่อเนื่องและอาจส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพของประชาชน กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงมีหนังสือสั่งการไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดให้เร่งรัดดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และหากสถานการณ์ไม่มีแนวโน้มลดลง ได้กำชับรีบดำเนินการจัดการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นกรณีเร่งด่วนพิเศษ เพื่อพิจารณากลั่นกรองแนวทางในการแก้ไขปัญหา
นายสุทธิพงษ์ กล่าวว่า ขณะนี้ได้สั่งการไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) โดยในพื้นที่ที่มีสถานการณ์ PM 2.5 ที่เกินเกณฑ์มาตรฐานอย่างต่อเนื่องและยังคงมีแนวโน้มที่สูงขึ้น ให้ยกระดับปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหา PM 2.5 การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 ต.ค.2562 ตามมาตรการที่ 1 คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่
โดยแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1 เมื่อปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ไม่เกิน 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร หน่วยงานดำเนินภารกิจตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่เพื่อควบคุมปริมาณ PM 2.5 ให้ลดลงหรือคงอยู่ในระดับคงที่ ต่อมาระดับที่ 2 เมื่อ PM 2.5 ระหว่าง 51 – 75 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร หน่วยงานดำเนินการเพิ่มและยกระดับมาตรการต่าง ๆ เข้มงวดขึ้น ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ โดยมีส่วนราชการอื่น ๆ สนับสนุนการปฏิบัติ และต่อมาในระดับที่ 3 : PM 2.5 ระหว่าง 76 – 100 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร เมื่อดำเนินการตามระดับ 2 แล้ว สถานการณ์ยังมีแนวโน้มสูงขึ้น ผู้ว่าราชการจังหวัดใช้อำนาจตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องเข้าควบคุมแหล่งกำเนิด/หยุดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ และมีคณะกรรมการควบคุมมลพิษให้ข้อเสนอแนะ ซึ่งหากปริมาณความหนาเเน่นของฝุ่นละอองยังคงเพิ่มสูงขึ้น ให้ดำเนินการในระดับที่ 4 : PM 2.5 มากกว่า 100 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร และดำเนินการในระดับ 3 แล้ว สถานการณ์ไม่มีแนวโน้มลดลง ให้มีการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นกรณีเร่งด่วนพิเศษ เพื่อพิจารณากลั่นกรองแนวทางในการแก้ไขปัญหา และนำกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเป็นการเร่งด่วน เพื่อพิจารณาสั่งการ
ปลัด มท.กล่าวว่า ขณะนี้ได้เน้นย้ำการบูรณาการของหน่วยงานทุกภาคส่วน และสั่งการให้หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย บังคับใช้กฎหมายโดยเคร่งครัด ตลอดจนเข้าควบคุมแหล่งกำเนิด/หยุดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) รวมทั้งกำกับ และติดตามผลการปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามแผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ปี 2566 (1 สื่อสารเชิงรุก 5 ยกระดับปฏิบัติการ 1. สร้างการมีส่วนร่วม) โดยเร่งประชาสัมพันธ์ ขอความร่วมมือประชาชน ตลอดจนภาคส่วนต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการสอดส่อง ดูแลหมู่บ้าน/ชุมชน โดยงดการเผา และงดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) พร้อมทั้งสร้างการรับรู้ให้ประชาชนทราบถึงมาตรการ และผลการปฏิบัติของภาครัฐในการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ตลอดจนช่องทางในการรับความช่วยเหลือจากภาครัฐ เช่น การให้บริการห้องปลอดฝุ่นในพื้นที่ และแนวทางการดูแลสุขภาพ อย่างต่อเนื่อง
2. เมื่อสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานในพื้นที่ต่อเนื่อง และ 3. กำกับ ติดตามผลการดำเนินการในระดับอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมทั้งรายงานผลการปฏิบัติให้กระทรวงมหาดไทยทราบ ผ่านกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลางตามแนวทางที่กำหนดอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ การเเก้ปัญหาสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน
นอกจากนี้ ในส่วนของการพิจารณายกระดับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ฝุ่นละออง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดดำเนินตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง โดยสามารถประสานการดำเนินงานกับศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน (ส่วนหน้า ภาคเหนือ) ในพื้นที่รับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ให้กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว นอกจากนี้ ยังได้เน้นย้ำให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังสถานการณ์ ติดตามข้อมูลคุณภาพอากาศและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากพื้นที่มีปริมาณฝุ่นละอองในระดับที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ให้ประสานศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนปฏิบัติการฉีดพ่นน้ำเพิ่มความชื้นและลดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศอย่างต่อเนื่อง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อากาศร้อนจัด! เหนือ-กลางแตะ 41 องศา เตรียมรับพายุฤดูร้อน 16-17 มี.ค.
กรมอุตุนิยมวิทยาเผย ไทยตอนบนยังคงร้อนจัด โดยบางพื้นที่ในภาคเหนือและภาคกลางอาจแตะ 41 องศาเซลเซียส ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเผชิญสภาพอากาศ
ร้อนจัดทะลุ 40 องศา! โฆษกรัฐบาลเตือนระวังฮีทสโตรก ฝุ่นภาคเหนือยังน่าห่วง
อากาศร้อนจัดหลายจังหวัดแตะ 40+ องศาฯ ‘จิรายุ’ เตือนประชาชนหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง ลดเสี่ยงฮีทสโตรก ขณะเดียวกัน ฝุ่น PM 2.5 ภาคเหนือยังเกินมาตรฐาน จับตาค่าฝุ่นขยับเพิ่มใน 7 วันข้างหน้า
'อนุทิน' สั่งปลัด มท.เร่งสอบปม 'สปส.-ปลัดแรงงาน' ไม่ต้องกลัวอิทธิพล!
'อนุทิน' สั่ง 'ปลัด มท.' เร่งประชุม คกก.สอบข้อเท็จจริง 'สำนักงานประกันสังคม-ปลัดแรงงาน' เร็วที่สุด กำชับทำให้เต็มที่ไม่ต้องกลัวธง-อิทธิพล
ทหารภาค 3 ระดมกำลังอากาศยานดับไฟป่าแม้ฝนตก จุดความร้อนยังลุกลาม
ทหารภาค 3 ยังคงนำอากาศยานช่วยดับไฟป่าในหลายพื้นที่ แม้จุดความร้อนจะลดลงจากฝนตก แต่ไฟป่ายังคงลุกลามต่อเนื่องต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
เชียงใหม่เฝ้าระวังฝุ่น PM 2.5 แนะใช้หน้ากากป้องกันและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
สาธารณสุขเชียงใหม่แนะประชาชนตรวจสอบค่าฝุ่น PM 2.5 ก่อนออกจากบ้าน ใช้หน้ากากป้องกันตามกิจกรรม พร้อมกำชับหน่วยงานรับมือเชิงรุกดูแลสุขภาพประชาชน หลังค่าฝุ่นเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ดุสิตโพล เผยผลสำรวจชี้รัฐล้มเหลวแก้ปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5
“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ค่าฝุ่น PM 2.5 กับคนไทย”กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,255 คน