
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เตือนประชาชนควรตรวจสอบข้อมูลให้ครบ รอบด้าน อย่าหลงเชื่อตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ หลังพบตัวเลขข่าวปลอมสัปดาห์ล่าสุด ระบุคนสนใจเรื่อง มังคุดนึ่งรักษาโรคมะเร็ง – อ้างเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า หลอกแอดไลน์ ติดตั้งแอฟลดค่าไฟ – ธนาคารกรุงไทย – ออมสินอ่วม! อ้างชื่อปล่อยกู้วงเงินสูง ดอกเบี้ยต่ำ และเกาหลีขึ้นบัญชีดำนักท่องเที่ยวไทย 4 ภาคอีสาน ติดอันดับ วอนอย่าเชื่อ-เช็คก่อนแชร์
21 มี.ค. 2566 – นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า สรุปผลการมอนิเตอร์ และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประจำวันที่ 10 – 16 มีนาคม 2566 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 3,227,794 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 240ข้อความ แบ่งเป็นข้อความที่มาจาก Social listening จำนวน 207 ข้อความ ข้อความที่มาจาก Line Official จำนวน 33 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 148 เรื่อง
ทั้งนี้ ดีอีเอสได้แบ่งข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจ เป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย
กลุ่มที่ 1 ข่าวปลอมเรื่องนโยบายรัฐบาล ข่าวสารทางราชการ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ขัดศีลธรรมอันดีและ
ความมั่นคงภายในประเทศจำนวน 67 เรื่อง
กลุ่มที่ 2 ข่าวปลอมเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง รวมถึงสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมาย
จำนวน 64 เรื่อง
กลุ่มที่ 3 ข่าวปลอมเรื่องภัยพิบัติ จำนวน 1 เรื่อง
กลุ่มที่ 4 ข่าวปลอมเศรษฐกิจ จำนวน 8 เรื่อง
สำหรับข่าวปลอมทั้ง 4 กลุ่มมีความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องโควิค-19 จำนวน 3 เรื่อง
นางสาวนพวรรณ กล่าวต่อว่า เมื่อพิจารณาจากข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจสูงสุด 10 อันดับระหว่างวันที่ 10 – 16 มีนาคม 2566 ดังนี้
อันดับที่ 1 เรื่อง มังคุดนึ่งรักษาโรคมะเร็ง
อันดับที่ 2 เรื่อง เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าโทรแจ้งประชาชนให้แอดไลน์ และติดตั้งแอปฯ เพื่อลดค่าไฟ
อันดับที่ 3 เรื่อง ธ.กรุงไทยปล่อยกู้ยืมสำหรับอาชีพอิสระ
อันดับที่ 4 เรื่อง ออมสินปล่อยกู้สินเชื่อออมสิน สร้างงาน สร้างอาชีพ ผ่านเพจ Mymoเงินด่วน
อันดับที่ 5 เรื่อง กินมากแต่ไม่ถ่าย มีอาการท้องแข็ง ถ้าปล่อยไว้ปอดกับหัวใจจะทำงานผิดปกติ
อันดับที่ 6 เรื่อง เกาหลีขึ้นบัญชีดำนักท่องเที่ยวไทย 4 จังหวัดภาคอีสาน ขอนแก่น ศรีสะเกษ อุดรธานี
และยโสธร ให้เป็นพื้นที่สีแดง
อันดับที่ 7 เรื่อง ออมสินเปิดลงทะเบียนเงินกู้ ดอกเบี้ยถูก
อันดับที่ 8 เรื่อง เจ้าหน้าที่กรมการค้าภายใน โทรแจ้งประชาชนให้อัปเดตข้อมูลผ่านลิงก์
อันดับที่ 9 เรื่อง ไขมันสูง หน้ามืดบ่อย มึนหัวเป็นประจำ หากมีเบาหวานหลอดเลือดจะแตกง่าย
อันดับที่ 10 เรื่อง จิบน้ำเกลือหิมาลัย ช่วยป้องกันเพลีย ปวดหัว มึนหัวได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อย่าหลงเชื่อ คลัง-ธปท. ข่มขู่ประชาชนโอนเงินยืนยันตัวตน
ผู้สื่อข่าว รายงานว่า กระทรวงการคลัง ออกหนังสือเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อ เอกสารปลอมอ้างชื่อแบงก์ชาติและกระทรวงการคลัง ข่มขู่ประชาชนให้โอนเงินยืนยันตัวตน
ดีอีเอสปิดช่องมิจฉาชีพหลอกลงทุน-ระดมทุนออนไลน์ผิดกฎหมาย
กระทรวงดิจิทัลฯ เร่งจัดการปัญหาหลอกลวงการลงทุนผ่านโซเชียลมีเดียทั้งแอบอ้างชื่อ-โลโก้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ชวนลงทุน-กู้เงิน เพื่อรับเงินปันผลสูง เป็นต้น เจอปุ๊บดำเนินคดี-ปิดกั้น Account เว็บไซต์ทันที ลดผลกระทบความเสียหายประชาชน กางโทษจำคุก-ปรับเงิน
'ดีอีเอส' ชี้ข่าวปลอมเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพพุ่ง
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยถึงผลการมอนิเตอร์ข่าวปลอมรอบสัปดาห์นี้ พบข่าวปลอมมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ เกิดจากโลกออนไลน์ โดยมีข่าวต้องคัดกรอง 3,204,784 ข้อความ พบประชาชนให้ความสนใจข่าวปลอมกลุ่มนโยบาลรัฐบาลมากที่สุด มีจำนวน 68 เรื่อง รองลงมาข่าวปลอมกลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีจำนวน 43 เรื่อง
'ดีอีเอส' เปิดตัว Health Link รูปแบบใหม่
'ชัยวุฒิ' เปิดตัวใช้งาน Health Link รูปแบบใหม่ ตั้งเป้านำร่องกับโรงพยาบาลในสังกัด กทม. 11 แห่งในเดือนพฤษภาคมนี้
'ดีอีเอส'จับตาข่าวปลอม เส้นเลือดสมองแตก-โควิด ทำคนตื่นตระหนก
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดผลมอนิเตอร์ข่าวปลอมรอบสัปดาห์นี้ พบข่าวปลอมเกือบ 100% เกิดจากโลกออนไลน์ โดยมีข่าวต้องคัดกรอง 3,243,222 ข้อความ พบประชาชนให้ความสนใจข่าวปลอมกลุ่มสุขภาพมากที่สุด โดยเฉพาะข่าวปลอม ไม่ควรสระผมก่อนอาบน้ำ เพราะทำให้เส้นเลือดสมองแตก รองลงมาข่าว โควิดสายพันธุ์ XBB และ XBB.1.16 ตรวจพบยาก เป็นพิษมากกว่าเดลต้า 5 เท่า มีอัตราการตายที่สูงกว่า และดื้อต่อภูมิคุ้มกัน ข้อมูลเท็จ ไม่เป็นความจริง อย่าแชร์!
หลอกไม่หยุด! คนไทยแห่แชร์ 'เฟคนิวส์' อ้าง คลัง กดลิงก์ดาวน์โหลดดูดเงิน
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดผลมอนิเตอร์ข่าวปลอมรอบสัปดาห์ พบเฟคนิวส์ มิจฉาชีพอ้างกระทรวงการคลังเปิดตัวแอปพลิเคชัน ให้ประชาชนกดลิงก์ดาวน์โหลด เพื่อดดูดเงิน อาละวาดหนัก เตือนอย่าหลงเชื่อ ควรตรวจสอบให้รอบด้าน