กรมอุตุฯ ออกประกาศฉบับ 6 เตือนประชาชนเฝ้าระวังฝนตกหนัก

28 พ.ค. 2566 – ประกาศ “กรมอุตุนิยมวิทยา” ฉบับที่ 6 ฝนตกหนักถึงหนักมาก บริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามัน มีผลกระทบถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2566

ในช่วงวันที่ 28-30 พฤษภาคม 2566 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนช้างแรงพัดปกคลุมประเทศไทย ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศกัมพูชาและเวียดนามตอนล่างจะเคลื่อนผ่านประเทศไทยและลงสู่อ่วมะตะบัน ประเทศเมียนมา

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนพิ่มขึ้นกับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก และฝนที่ตกสะสมชื่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาด เชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม

วันที่ 28 พฤษภาคม 2566

ภาคเหนือ: จังหวัดตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
ภาคตะวันออก :จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้ : จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

วันที่ 29-30 พฤษภาคม 2566
ภาคเหนือ : จังหวัดตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์
ภาดกลาง: จังหรัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2566

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ประกาศ ณ วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เวลา 05.00 น.

“กรมอุตุนิยมวิทยา” จะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เวลา 17.00 น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯ พยากรณ์ฝน 10 วันล่วงหน้า จับตา 'ไต้ฝุ่นโคอินุ'

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.:(นับตั้งแต่ 07.00น. ถึง 07.00น.วันรุ่งขึ้น) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง ุ2 - 11 ต.ค.66 อัปเดต 2023100112 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) :

อุตุฯ เตือนฝนถล่ม 36 จังหวัด รับมือท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน

กรมอุตุฯ จับตาพายุโซนร้อน ‘โคอินุ’ เคลื่อนตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก

รายงานภาพเคลื่อนไหวพยากรณ์ฝนสะสมราย 6 ชม. และโอกาสการก่อตัวพายุหมุนเขตร้อน (Tropical Cyclone Genesis) จาก ศูนย์พยากรณ์อากาศยุโรประยะกลาง

เหนือ อีสาน กลาง ยังต้องรับมือฝนตกหนักวันนี้

กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานสภาพอากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน

กรมอุตุฯ จับตาพายุดีเปรสชันทวีกำลังแรงเป็นพายุโซนร้อน 'โคอินุ' คาดถึงเวียดนาม

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตสถานการณ์พายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก เช้าวันนี้(30/9/66) : พายุดีเปรสชันได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน "โคอินุ (KOINU)" (ความหมาย "ลูกสุนัข" ตั้งชื่อโดยประเทศญี่ปุ่น )แล้ว

กรมอุตุฯ คาดหมายฤดูหนาวของไทยจะมาช้ากว่าปกติ 2 สัปดาห์ หนาวเย็นน้อยกว่าปีที่ผ่านมา

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศการคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย ประมาณปลายเดือนตุลาคม 2566 ถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2567