
4 ก.ย.2566-เพจกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ รายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำระบุ ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 17/2566 ลงวันที่ 3 กันยายน 2566 แจ้งเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ด้วย กอนช. ได้ติดตามสภาพอากาศ พบว่าร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบนของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรง ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 5 – 10 กันยายน 2566 มีพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม ดังนี้ ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภออมก๋อย) จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน) จังหวัดตาก (อำเภอท่าสองยาง อุ้มผาง แม่สอด แม่ระมาด และพบพระ) จังหวัดแพร่ (อำเภอร้องกวาง) จังหวัดน่าน (อำเภอปัว บ่อเกลือ เชียงกลาง ทุ่งช้าง ท่าวังผา เฉลิมพระเกียรติ และสองแคว) จังหวัดพิษณุโลก (อำเภอนครไทย และเนินมะปราง) จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอเขาค้อ และเมืองเพชรบูรณ์) จังหวัดอุตรดิตถ์ (อำเภอน้ำปาด) จังหวัดกำแพงเพชร (อำเภอคลองลาน) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดเลย (อำเภอภูเรือ) จังหวัดชัยภูมิ (อำเภอหนองบัวแดง) จังหวัดมุกดาหาร (อำเภอหว้านใหญ่ และอำเภอเมืองมุกดาหาร) จังหวัดนครพนม (อำเภอธาตุพนม) จังหวัดนครราชสีมา (อำเภอปากช่อง) ภาคตะวันออก จังหวัดฉะเชิงเทรา (อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา บ้านโพธิ์ บางน้ำเปรี้ยว และบางปะกง) จังหวัดนครนายก (อำเภอปากพลี และองครักษ์) จังหวัดปราจีนบุรี (อำเภอประจันตคาม และบ้านสร้าง) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอขลุง และแหลมสิงห์) จังหวัดตราด (อำเภอคลองใหญ่ เกาะกูด เกาะช้าง เขาสมิง แหลมงอบ และบ่อไร่) ภาคกลาง จังหวัดอุทัยธานี (อำเภอบ้านไร่) จังหวัดกาญจนบุรี (อำเภอทองผาภูมิ) ภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช (อำเภอฉวาง และพิปูน) จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต และถลาง)
สภาพอากาศ ในช่วงวันที่ 3 – 5 ก.ย. 66 ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 6 – 9 ก.ย. 66 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และประเทศลาว ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566 กรมชลประทาน ดำเนินการสำรวจและตรวจสอบการชำรุดเสียหายของอุปกรณ์และคันกั้นน้ำ โครงการแก้มลิง กุดชีเฒ่า ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านท่าศาลา ตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นและเร่งปรับปรุง ซ่อมแซมให้พร้อมรับมือฤดูฝน
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 3 ก.ย. 66 ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ลงพื้นที่ประชุมติดตามสถานการณ์น้ำและความก้าวหน้าการเตรียมความพร้อมของเครื่องมือเครื่องจักรตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝน 2566 รวมทั้ง 3 มาตรการรับมือเอลนีโญเพิ่มเติม ในพื้นที่ จ.นครสวรรค์ ร่วมกับ นายจุมพฏ วรรณฉัตรสิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล
รองอธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วย ผู้แทนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมทรัพยากรน้ำ และกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ณ ศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ หลังจากนั้น ลงพื้นที่สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ต.ทับกฤช อ.ชุมแสง และโครงการหน่วงน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา จ.นครสวรรค์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อุตุฯ เตือนลมหนาวระลอกใหม่ อุณหภูมิลด 1-3 องศา ใต้ฝนตกหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนาม
นายกฯ พบชาวอุตรดิตถ์ ติดตามพัฒนาแหล่งน้ำ ขายฝันไม่ท่วมไม่แล้ง
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง วันที่ 30 พ.ย. ภายหลังพักค้างคืนจังหวัดเชียงใหม่ เช้าวันเดียวกันนี้ เวลา 09.45 น. นายกรัฐมนตรีและคณะ ออกเดินทางจากท่าอากาศยานทหารกองบิน 41 ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ไปยังท่าอากาศยานทหารกองบิน 46 ตำบลอรัญญิก
อำเภอชะอวด น้ำท่วมทุกพื้นที่แล้ว มวลน้ำจากที่สูงไหลสมทบ ฝนยังไม่หยุดตก
นายวิระชัย ชุมแก้ว นายอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า ตามข้อสั่งการของนายขจรเกียรติ รักพานิชมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ให้ฝ่ายปกครองและผู้นำท้องถิ่นได้เฝ้าระวัง แจ้งเตือน ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัย
ปัตตานีอ่วม! อำเภอเมืองประกาศ 'ธงเหลือง' น้ำท่วม 200 ครัวเรือนริมแม่น้ำ
สถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดปัตตานียังคงน่าเป็นห่วง เพราะอิทธิพลน้ำฝน และน้ำจาก จ.ยะลา ไหลมาสมทบในแม่น้ำปัตตานีทั้ง 2 สาย ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเมืองปัตตานี และแม่น้ำสายบุรีที่เป็นสายน้ำหลักก่อนไหลลงสู่ทะเล ยังคงสูงอยู่และเอ่อล้นเข้าสู่หมู่บ้านที่ติดกับริมแม่น้ำ โดยขณะนี้ฝนที่ตกลงมาเริ่มเบาบางลง
อุทยานฯน้ำตกโยง แจ้งระดับน้ำสูง งดลงเล่นน้ำทุกแหล่งท่องเที่ยว
ผู้สื่อข่าวจังหวัดนครศรีธรรมราชรายงานว่า อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง สรุปสถานการณ์น้ำในพื้นที่ และงดเล่นน้ำทุกแหล่งท่องเที่ยว
'ตำรวจไซเบอร์' เตือนภัย 'ลอยกระทงออนไลน์'
กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือตำรวจไซเบอร์ ได้เตือนภัยลอยกระทงออนไลน์ โดยระบุว่า หลีกเลี่ยงเว็บไซต์ลอยกระทงออนไลน์