กรมอุตุฯ ชี้ไทยยังเจออิทธิพลลมมรสุมพาดผ่าน ทำให้ทั่วไทยเจอฝนตกหนักแทบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ที่เจอแค่ 40% แต่ส่วนอื่นเจอถึง 70-80%ของพื้นที่
13 ก.ย.2566 - กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์ลักษณะอากาศทั่วไปใน 24 ชั่วโมงข้างหน้า ว่าร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านประเทศเมียนมาและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้
สำหรับทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 00:00 น. วันนี้ ถึง 00:00 น. วันพรุ่งนี้
ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดอุทัยธานี ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง และพังงา อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดพังงาขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
กรุงเทพและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
คนกรุงเทพฯและปริมณฑลเซ็งอุณหภูมิสูงขึ้น 1-3 องศาซ้ำมีฝนด้วย
กรมอุตุฯ เผยมวลอากาศเย็นอ่อนกำลังลง ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น 1-3 องศา ซ้ำร้ายมีลมตะวันออกพาความชื้นมาทำให้มีฝนด้วย ส่วนภาคใต้ยังเจอมรสุมต่อเนื่องฝนถล่ม 60-70%
อัปเดตรอบ 3 กรมอุตุฯ ปรับข้อมูลใหม่คาดหมายลักษณะอากาศ 'ฤดูหนาว 2566'
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศการคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย พ.ศ.2566 โดยปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเป็นครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ระบุคาดหมายลักษณะอากาศในเดือนธันวาคม 2566 ถึงประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ดังนี้
กรมอุตุฯ ชี้อุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้น1-3 องศา เหตุอากาศเย็นอ่อนกำลังลง!
กรมอุตุฯ ชี้มวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยเริ่มอ่อนกำลังลง ทำให้อุณหภูมิขยับสูงขึ้น 1-3 องศา ส่วนภาคใต้ยังเจอมรสุมกระหน่ำต่อเนื่อง ฝนถล่ม 60-70%
มาแล้ว! ลมหนาวรอบใหม่
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางปกคลุมประเ
กรมอุตุฯ เตือนฉบับสุดท้าย ฝนถล่ม 14 จว.ใต้ ภาคเหนือ-อีสาน-กลาง อุณหภูมิลดลง 1-2 องศา
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566) ฉบับที่ 9 ซึ่งเป็นฉบับสุดท้ายของเหตุการณ์นี้
ปัตตานีอ่วม! อำเภอเมืองประกาศ 'ธงเหลือง' น้ำท่วม 200 ครัวเรือนริมแม่น้ำ
สถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดปัตตานียังคงน่าเป็นห่วง เพราะอิทธิพลน้ำฝน และน้ำจาก จ.ยะลา ไหลมาสมทบในแม่น้ำปัตตานีทั้ง 2 สาย ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเมืองปัตตานี และแม่น้ำสายบุรีที่เป็นสายน้ำหลักก่อนไหลลงสู่ทะเล ยังคงสูงอยู่และเอ่อล้นเข้าสู่หมู่บ้านที่ติดกับริมแม่น้ำ โดยขณะนี้ฝนที่ตกลงมาเริ่มเบาบางลง