เขย่า 'กสม.' ปฏิบัติการเร่งด่วน ปกป้องนักสิทธิมนุษยชน ชนวนรุนแรงเหมืองแร่

นักปกป้องสิทธิมนุษยชน ยื่นหนังสือ ประธาน กสม.ทำงานเชิงรุก พร้อมออกมาตรการเร่งด่วนในการปกป้องผู้หญิงและนักปกป้องสิทธิมนุษชนในพื้นที่ขัดแย้งรุนแรงเหมืองแร่

17 ก.ย.2566 – น.ส.จุฑามาส  ศรีหัตถผดุงกิจ  โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่  (PPM)  ระบุว่า ได้ยื่นหนังสือข้อเสนอเปิดผนึกต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) ในกรณีกรณีการปกป้องและคุ้มครองการทำงานของผู้หญิงและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน  ดังต่อไปนี้ คือ  การใช้มาตรการเชิงรุกในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนและปกป้องนักปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยเสนอให้มีการลงพื้นที่และสอบสวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเร่งด่วนและทันท่วงที เมื่อมีรายงานเกี่ยวกับการละเมิดและการข่มขู่นักปกป้องสิทธิมนุษยชน ควรมีการตอบสนองที่รวดเร็วและตอบรับต่อสถานการณ์ได้ทันท่วงทีเพื่อให้กระบวนการตรวจสอบสอดคล้องกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๒๖ (๑) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนมีหน้าที่และอำนาจในการตรวจสอบและรายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกกรณีโดยไม่ล่าช้า

“ โดยการใช้มาตรการในการทำงานเชิงรุกไปยังสถานที่เกิดเหตุและให้ความคุ้มครองให้แก่ผู้หญิงและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่มีความเสี่ยง การเข้าร่วมประชุมติดตามสถานการณ์และทำงานร่วมกับชุมชนของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนเพื่อสร้างความเข้าใจต่อสถานการณ์และสามารถในการหามาตรการคุ้มครองและสนับสนุนที่เหมาะสม รวมถึงการให้คำแนะนำและสนับสนุนให้กับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ถูกดำเนินคดี เพื่อให้พวกเขาได้รับการปกป้องอย่างเหมาะสม” น.ส.จุฑามาส ระบุ

น.ส. จุทามาส กล่าวว่า นอกจากนี้ ขอให้ กสม.มีการแต่งตั้งคณะทำงานหรือคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนในด้านต่างๆ ในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยบุคคลที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะทำงานหรือคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนควรที่จะหารือกับผู้ได้รับผลกระทบในรายประเด็นสิทธิด้านต่างๆเพื่อให้ได้คณะทำงานหรือคณะอนุกรรมการที่เข้าใจ รู้ปัญหา และสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ หรือ การใช้กระบวนการไต่สวนสาธารณะในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน

เธอ ระบุด้วยว่า เมื่อต้องการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือการลงพื้นที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติหรือเจ้าหน้าหน้าที่ของสำนักคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ควรใช้กระบวนการที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจร่วมกับผู้หญิงและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เช่น  การกำหนดวัน การกำหนดประเด็นในการลงพื้นที่ร่วม เพื่อการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้อย่างแท้จริงและมีประสิทธิภาพ หรือการสังเกตการณ์การชุมนุมโดยสันติของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนเพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงที่เป็นอิสระ ปราศจากการแทรกแซงจากเจ้าหน้าที่ ผู้บังคับใช้กฎหมาย เพื่อเก็บรวบรวมหลักฐาน นำไปสู่การแสดงความรับผิดชอบและเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิ และสนับสนุนให้รับผิดชอบต่อการปกป้องสิทธิมนุษยชน เจ้าหน้าที่รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรับและตอบรายงานการสังเกตการณ์ของกรรมการสิทธิมนุษยชน 

“กำหนดแนวทางในการประสานงานกับผู้ว่าราชการจังหวัดและเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่เพื่อให้ทางจังหวัดเข้าใจว่ามีองค์กรอิสระที่ทำงานตรวจสอบการกระทำสิทธิมนุษยชน หรือหากมีความเสี่ยงหรือความรุนแรงที่อาจจะก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน เจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปกป้องและคุ้มครองผู้หญิงและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน” น.ส.จุฑามาส ระบุ

น.ส.จุฑามาส กล่าวด้วยว่า ต้องมีการทำความเข้าใจและจัดทำบันทึกความเข้าใจ/ข้อตกลง (MOU) กับหน่วยงานของรัฐ: คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรเผยแพร่ ทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่อันชอบธรรม สิทธิและความคุ้มครองที่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนพึงมีตามปฏิญญาว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ พร้อมทั้งเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ยุติการกระทำและทัศนคติที่ไม่ยอมรับการทำงานที่ชอบธรรมของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและการโจมตีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน มาตราการและความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีหน้าที่คุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ตำรวจ, ทหาร, หน่วยงานความมั่นคง และหน่วยงานปราบปรามทุจริต ในการดำเนินกิจกรรมที่มีการประสานงานเพื่อยุติการคุกคามและคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

ขณะที่ น.ส.สุธีรา  เปงอิน โพรเทคชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล (PI)  ระบุว่า  ในการทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยกับหน่วยงานของรัฐ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องแสดงจุดยืนที่สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและเจ้าหน้าที่ต้องมีการประกาศพันธกิจอย่างชัดเจน ที่จะตีความสิทธิมนุษยชนให้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ รวมทั้งมีความเข้าใจเกี่ยวกับปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และข้อเสนอแนะของสหประชาชาติที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อเสนอแนะของผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เกี่ยวกับบทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

เธอระบุด้วยว่า กสม.ควรที่จะติดตามอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องต่อความเห็น ข้อเสนอแนะ ที่เสนอต่อหน่วยงานรัฐหรือเอกชนเกี่ยวกับมาตรการในการปกป้องและคุ้มครองสิทธิของผู้หญิงและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน หรือมาตราการในการป้องกันมิให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอีก

“กรณีที่เห็นควรสามารถใช้กระบวนการในการร้องขอข้อมูลหรือชี้แจงประเด็นกับหน่วยงานรัฐหรือเอกชนเพื่อให้หน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่ในการปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ละเลย และใช้กระบวนการเรียกร้องทางกฎหมายหากจำเป็น การตรวจสอบการทำงานของรัฐและข้อเสนอที่มีต่อภาคเอกชนที่ต้องแก้ไขข้อพิพาทและป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิสิทธิชุมชน สิทธิในทรัพยากร หรือสิทธิของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๓๕ ขอให้ตั้งอนุกรรมการ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นๆมาร่วมตรวจสอบและให้ข้อมูล และใช้กลไกอนุกรรมการในการเรียกข้อมูลเอกสาร และชี้แจงประเด็นปัญหา” น.ส.สูธีรา ระบุ

 น.ส.สุธีรา กล่าวด้วยว่า ในการการเผยแพร่ข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูลจากรายงานของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนระดับท้องถิ่นและชุมชน เพื่อเสริมสร้างการเข้าใจบทบาทของนักปกป้องสิทธิมนุษชนและมาตราการปกป้องนักปกป้องสิทธิมนุษยชน  โดยการยื่นคำร้องต่อหน่วยงานระหว่างประเทศและการออกแถลงการณ์เพื่อเผยแพร่ระดับสากล เพื่อส่งเสริมความร่วมมือกับหน่วยงานภาคประชาสังคมที่ทำงานเกี่ยวกับการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

“ การจัดทำรายงานการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศ ในกระบวนการเตรียมรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศเพื่อนำเสนอให้รัฐสภาและคณะรัฐมนตรีพิจารณา  ควรระบุข้อจำกัดที่มีของหน่วยงานรัฐในการปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเพิ่มเติม เพื่อให้รัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรีทราบถึงข้อจำกัดที่ต้องเผชิญ เช่น ข้อจำกัดของงบประมาณของหน่วยงาน และกำลังของเจ้าหน้าที่ที่อาจไม่เพียงพอในการดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน หากมีรายงานเรื่องข้อจำกัดที่หน่วยงานที่รับผิดชอบได้แจ้งว่างบประมาณไม่เพียงพอ หรือมีพื้นที่ห่างไกล หรือมีจำนวนเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอที่จะสามารถดำเนินการได้ตามข้อเสนอแนะ สามารถเสนอให้มีการแก้ไขโดยการเสนอให้มีการเพิ่มทรัพยากรในการปกป้องและคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (เช่น การขอเพิ่มงบประมาณหรือการส่งเจ้าหน้าที่ไปทำงานในพื้นที่เพิ่มเติมเพื่อลดความไม่ปลอดภัย)” น.ส.สุธีรา ระบุ

น.ส.สุธีรา กล่าวด้วยว่า เราจึงหวังว่าท่านจะรวบรวม ประสบการณ์ สถานการณ์ของผู้หญิงและนักปกป้องมนุษยชน และข้อเสนอแนะต่างๆในการประชุมรวมถึงข้อเสนอฉบับนี้ เพื่อหากลไกหรือมาตรการในการคุ้มครองผู้หญิงและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนต่อไปให้เกิดอย่างเป็นรูปธรรม หรือการให้คำแนะนำหรือเสนอข้อเสนอต่อรัฐบาลใหม่ที่จะกำลังเกิดขึ้น รัฐสภา และสถาบันอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านกฎหมายและนโยบายที่จำเป็นในการปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน  หรือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องมีส่วนร่วมในความพยายามสนับสนุนเพื่อโน้มน้าวการตัดสินใจเชิงนโยบายและส่งเสริมการปฏิรูปสิทธิมนุษยชน คือ การร่างรัฐธรรมนูญโดยประชาชน หรือกระตุ้นเตือนให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต้องมีหน้าที่ในการปกป้องและคุ้มครองมิให้เกิดการละเมิดสิทธิจากทั้งรัฐและเอกชนจากการลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนได้ทันท่วงที

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่ (PPM) และ องค์กรโพรเทคชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล (PI) ทำงานร่วมกับผู้หญิงและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนด้านสิทธิชุมชน  สิทธิด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะประเด็นเรื่องการได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ และสิทธิในกระบวนการยุติธรรม   โดยก่อนหน้านี้  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังข้อมูลและความเห็นต่อสถานการณ์ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ภาคตะวันออกฉียงเหนือ และภาคอื่นๆในประเทศไทยโดยรับฟังสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของผู้หญิงและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สมชัย ชี้ปรับ ครม. ‘รัฐบาล’ ขาดทุนมากขึ้น  หน้าตาคนมาใหม่หลายคน ปชช.ส่ายหน้า

ปรับ ครม.ครั้งนี้ จึงดูเหมือนรัฐบาลจะขาดทุนมากขึ้น  เพราะหน้าตาคนมาใหม่หลายคนประชาชนก็ส่ายหน้า  ยิ่งปานปรีย์ลาออกอีก ยิ่งเสียโอกาสได้คนเก่งและทุ่มเทมาอยู่ใน ครม.

ดร.รัชดา เชื่อถ้าใช้หลักตอบแทนนายใหญ่ ’นพดล’ เสียบเก้าอี้ ‘ปานปรีย์’ แน่

ดร.รัชดา อยากรู้รัฐมนตรีต่างประเทศคนใหม่ของรัฐบาลนี้จะเป็นใคร คนที่จะต้องเป็นหน้าเป็นตาของประเทศ สถานการณ์การเมืองในประเทศเพื่อนบ้านและการเมืองโลกตอนนี้

ก้าวไกล เดือดแทน ‘หมอชลน่าน’ ทุ่มเทเหนื่อยสุด โดนคนทิ้งพรรคเสียบเก้าอี้

‘ณัฐชา’ มอง ปรับ ครม.เศรษฐา 1/1 ‘เพื่อไทย’ ยังรักษาคาแรคเตอร์ ‘สมบัติผลัดกันชม’ เก้าอี้ รมต. เหมือนเดิม สงสัย ทำไมเอาคนทิ้งพรรคอย่าง ’สมศักดิ์‘ แทน ’หมอชลน่าน‘ เหตุเหนื่อยสุดแบกรับสถานการณ์ช่วงเลือกตั้ง-จัดตั้งรัฐบาล

แฉเล่ห์ 'พท.' วางยาแก้ รธน. ล็อกคำถามประชามติครั้งแรก

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า พรรคเพื่อไทยจริงใจแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่