รัฐบาลตีปี๊บ ประกวด 'ข้าวหอมมะลิไทย' ช่วยยกคุณภาพชีวิตเกษตรกร

รัฐบาลหนุนเกษตรกรและโรงสี จัดประกวดข้าวหอมมะลิไทยปี 2566 เฟ้นหาและอนุรักษ์พันธุ์ข้าวไทยคุณภาพชั้นเลิศ พร้อมขยายช่องทางการจำหน่าย

26 เม.ย. 2567 – นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การทำงานของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ที่ได้ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการประกวดข้าวหอมมะลิของประเทศไทย ประจำปี 2566 (ครั้งที่ 41) และการประกวดข้าวสารคุณภาพดีเด่นแห่งประเทศไทยประจำปี 2566 เพื่อเฟ้นหาและอนุรักษ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศของไทย เป็นไปตามวิสัยทัศน์ของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ต้องการยกระดับอุตสาหกรรมการเกษตรสู่การเป็นศูนย์กลางการเกษตรและอาหารของโลก (Agriculture and Food Hub) ส่งเสริมการเพาะปลูกข้าวหอมมะลิคุณภาพดี สร้างต้นแบบเกษตรกร ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ตลอดจน เชื่อมโยงแหล่งตลาดให้เกษตรกรผู้ชนะการประกวด ได้เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ขยายช่องทางการจำหน่ายให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรอย่างยั่งยืน

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ข้าวหอมมะลิเป็นข้าวที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว มีเม็ดยาวเรียวสวย สีมันวาว หุงแล้วมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นใบเตย รสสัมผัสนิ่มนวล จึงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากที่สุดทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยประเทศไทยซึ่งถือเป็นผู้ผลิตข้าวที่สำคัญของโลก ในปี 2566 ไทยสามารถส่งออกข้าวได้สูงถึง 8.76 ล้านตัน นับได้ว่าสูงสุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่ากว่า 178,135 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาร้อยละ 28 โดยข้าวหอมมะลิยังคงรักษาระดับการส่งออกได้ดีแม้ราคาสูงกว่าคู่แข่ง โดยมีปริมาณส่งออกในปี 2566 อยู่ที่ 1.32 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 5.6 และตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน แคนาดา และฮ่องกง

สำหรับการประกวดข้าวหอมมะลิของไทยฯ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทเกษตรกรรายบุคคล และประเภทสถาบันเกษตรกร มีเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิจาก 22 จังหวัด ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ทั้งนี้ สำหรับผู้ชนะการประกวดข้าวหอมมะลิของประเทศไทย ประจำปี 2566 ประเภทเกษตรกรรายบุคคล ได้แก่ รางวัลชนะเลิศ นายณรงค์ จันทรุ่ง จ.อุบลราชธานี และประเภทสถาบันเกษตรกร ได้แก่ รางวัลชนะเลิศ วิสาหกิจชุมชนข้าวหอมมะลิสงเปลือย ม.5 ต.เมืองทอง จ.ร้อยเอ็ด โดยได้รับรางวัลเป็นรางวัลเกียรติยศและใบประกาศเกียรติคุณ พร้อมเงินรางวัล รวมกว่า 6 แสนบาท

นอกจากนี้ ภายในงานได้มีการจัดทำ MOU ซื้อ – ขายข้าวเปลือกหอมมะลิล่วงหน้าในราคานำตลาด ซึ่งสูงกว่าราคาตลาด 500 บาทต่อตัน จำนวน 6 คู่ ปริมาณกว่า 343.4 ตัน เพื่อสร้างความมั่นใจว่าข้าวที่มีคุณภาพสูง จะมีตลาดรองรับ

“นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญกับการทำงานเชิงรุกเข้าช่วยเหลือเกษตรกรที่เปรียบเสมือนเป็นกระดูกสันหลังของชาติ สนับสนุนให้ยกระดับ คงคุณภาพสินค้าเกษตร มั่นใจได้ว่ารัฐบาลจะตั้งใจทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ และประชาชนอย่างเต็มความสามารถ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ยกระดับคุณภาพชีวิตให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน” นายชัย ระบุ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เศรษฐา' สั่งพัฒนาแหล่งน้ำทุ่งกุลา ดันข้าวหอมมะลิตีตลาดโลก

นายกฯ รับฟังสถานการณ์น้ำ-แผนพัฒนาทุ่งกุลาฯ สั่ง“กรมชลฯ” ผลักดันศักยภาพทุ่งกุลาฯ หาแหล่งน้ำ -พัฒนาข้าวหอมมะลิไทย หวังตีตลาดโลก เพิ่มมูลค่าสินค้า-สร้างรายได้เกษตรกร

เศรษฐา โปรยยาหอมชาวอีสาน ไตรมาส 4 รับเงินหมื่นแน่

นายกฯ ขึ้นเวทีมหาสารคาม “อุ๊งอิ๊ง” สส.เพื่อไทย พรึบ ชู 3 ปัญหาวาระแห่งชาติ ‘หนี้นอกระบบ-ยาเสพติด-ภัยแล้ง’ ย้ำคำมั่นเงินหมื่นดิจิทัลได้แน่ไตรมาส 4 ด้านปชช.คึกคักบอก ‘รักเศรษฐา’

'เศรษฐา' ลุยอีสานคุยขอจัดการปัญหาหนี้นอกระบบ - ยาเสพติด

“เศรษฐา” ลุยอีสาน พบชาวมหาสารคาม ลั่นปัญหาหนี้นอกระบบหยั่งลึกสังคมไทย ขันน็อตทุกภาคส่วนทำงานหนักขึ้น หลังตัวเลขยังไม่เป็นที่พอใจ ขีดเส้นกำหนดกรอบปราบยาเสพติด 90 วัน พร้อมรายงานสำนักนายกฯทุกเดือน

โพลชี้ชัดเจน ประชาชน อยากเห็นนายกฯ ปฏิรูปตำรวจ

นายนพดล กรรณิกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ นโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ที่ปรึกษามูลนิธิ สถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ และผู้ก่อตั้งซูเปอร์โพล เสนอผลการศึกษาเรื่อง ปฏิรูปตำรวจ กับ ศรัทธาจากประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวนทั้งสิ้น 1,597 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 - 4 พฤษภาคม พ.ศ.2567 ที่ผ่านมา

นายกฯ ผลักดันเพิ่มความคุ้มครองให้กับลูกจ้าง 11 ด้าน

นายกฯ มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน ผลักดันกฎหมายเพิ่มความคุ้มครองให้กับลูกจ้าง 11 เรื่อง ส่งเสริมแรงงานให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่ครอบคลุมตามกฎหมาย