นักวิชาการธรรมศาสตร์ แนะรัฐบาลโฟกัส “กลุ่มนักท่องเที่ยวสูงอายุ” ที่อยู่ในประเทศนาน มีกำลังซื้อสูง ควบคู่กับการขับเคลื่อนโครงการอเมซิ่ง ไทยแลนด์ แกรนด์ทัวร์ริซึม แอนด์ สปอร์ต ที่เน้นเฉพาะวัยรุ่น-วัยทำงาน และยังเป็นรูปแบบเดิม ระบุ ควรผลักดัน “การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์” ขับเคลื่อนผ่านชุมชน-วัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ
7 ก.พ.2568 - เมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2568 รัฐบาล นำโดย น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศให้ปี 2568 เป็นปี อเมซิ่ง ไทยแลนด์ แกรนด์ทัวร์ริซึม แอนด์ สปอร์ต โดยจะมีการจัดคอนเสิร์ตการแสดง และกีฬาระดับโลก หวังดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทย 39 ล้านคน หวังกวาดรายได้ไม่ต่ำกว่า 3 ล้านล้านบาท โดยผนึกกำลังพันธมิตรทุกภาคส่วน ร่วมจุดพลังท่องเที่ยวไทยสู่ก้าวต่อไปที่ยิ่งใหญ่ พร้อมยกระดับมาตรการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย ตอกย้ำความตั้งใจในการผลักดันประเทศไทยเป็น Tourism Hub ระดับโลก
รศ.ดร.สายฝน สุเอียนทรเมธี คณบดีวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยว่า โครงการอเมซิ่ง ไทยแลนด์ แกรนด์ทัวร์ริซึม แอนด์ สปอร์ต (อเมซิ่ง ไทยแลนด์ฯ) ที่จะผลักดันกันในปี 2568 โดยตั้งเป้านักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเข้ามายังประเทศไทยไว้ที่ 39 ล้านคน และหวังกวาดรายได้ 3-3.5 ล้านล้านบาทนั้น ส่วนตัวเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ และหากย้อนกลับไปดูยอดนักท่องเที่ยวที่เข้ามายังประเทศไทยในปี 2567 พบว่ามีจำนวน 35.5 ล้านคนโดยประมาณ ฉะนั้นการเพิ่มอีกเพียง 5 ล้านคน เพื่อให้ถึงเป้าหมาย 39-40 ล้านคน คงไม่ใช่เรื่องยาก
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในรายละเอียดของโครงการแล้ว ส่วนตัวมองว่ายังเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวแบบเดิม เช่นเดียวกับเมื่อ 4-5 ปีที่ผ่านมา คือมีการจัดกิจกรรมดนตรี อาหาร กีฬา ฯลฯ ซึ่งแน่นอนว่า กิจกรรมเหล่านี้เป็นจุดมุ่งหมายเดิมของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาประเทศไทยอยู่แล้ว และการมุ่งเน้นไปที่ดนตรี กีฬา จะได้นักท่องเที่ยวในกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงานเป็นหลัก ซึ่งคนกลุ่มนี้จะอยู่ในประเทศไทยสั้น จับจ่ายใช้สอยน้อย เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้สูงอายุ
รศ.ดร.สายฝน กล่าวต่อไปว่า สิ่งที่อยากเสนอแนะรัฐบาลคืออยากให้เพิ่มเติมหรือให้น้ำหนักการพุ่งเป้าไปยังกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อ และมีเวลาในการท่องเที่ยวหรือพร้อมที่จะอยู่ในประเทศเป็นเวลานาน ซึ่งคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่ต้องการใช้ชีวิตภายหลังการเกษียณจากการทำงาน ซึ่งถือว่ามีจำนวนมาก ส่วนตัวจึงอยากให้รัฐบาลพูดถึงเรื่องการสร้างระบบนิเวศ (ecosystem) ผ่านการการออกแบบเมืองที่เป็นมิตร และมองไปที่เศรษฐกิจผู้สูงวัย (silver economy)
“นักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงวัยเขาไม่ได้ต้องการแหล่งท่องเที่ยวเยอะๆ วันหนึ่งอาจจะไปแค่ 1–2 สถานที่เท่านั้น และเขาต้องการมาเที่ยวเมืองเล็กๆ หรือเมืองรอง ไม่ได้ต้องการไปเมืองใหญ่ๆ เขาต้องการการเที่ยวที่เน้นความสบาย อยู่แล้วรู้สึกเหมือนได้รับการพักผ่อน มีความปลอดภัย มีโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับไม่ว่าจะเป็นโรงแรมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ การเข้าถึงบริการทางสุขภาพได้ง่าย รวมถึงผู้คนที่ยิ้มแย้มแจ่มใส มีความเข้าใจและต้อนรับพวกเขา” รศ.ดร.สายฝน กล่าว
รศ.ดร.สายฝน กล่าวอีกว่า หากรัฐบาลต้องการสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ส่วนตัวมองว่า ควรจะต้องออกแบบให้ผู้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งจะเห็นว่าที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวบางกลุ่มที่อยากจะมีประสบการณ์ร่วมกับวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยชุมชนผู้ซึ่งเป็นเจ้าของวัฒนธรรมจะสามารถเข้ามาให้บริการกับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ได้ ซึ่งก็ต้องมีการพัฒนาทักษะต่างๆ ให้กับคนในชุมชน และพัฒนาระบบนิเวศให้มีความพร้อมในการรองรับ สิ่งเหล่านี้เป็นซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ และกำลังเป็นเทรนด์การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ๆ ที่เรียกว่าการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
“ข้อจำกัดที่สำคัญภายในประเทศของเรา คือเรื่องการขนส่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวมีความยากลำบากในการเดินทาง โดยเฉพาะเมืองเล็กๆ หรือเมืองรองซึ่งยังคงเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนา ถ้ารัฐบาลจะผลักดันเรื่องเมืองรอง จะต้องทำให้นักท่องเที่ยวเขาสามารถเดินทางเองได้โดยสะดวกด้วยผ่านรถบริการสาธารณะที่เข้าถึงได้” รศ.ดร.สายฝน กล่าว
/////
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ผ่าข้อเสนอ 'นักวิชาการ มธ.' ตรวจแถว! กสทช. เปิดประมูลคลื่นความถี่ จี้ออกมาตรการคุม 'ผู้มีอำนาจเหนือตลาด'
นักวิชาการธรรมศาสตร์ จับตา “กสทช.” เปิดประมูลคลื่นสากล 6 ย่านความถี่ ทั้งที่มีแนวโน้มผู้ประกอบการเข้าร่วมเพียงแค่ 2 ราย ตั้งคำถามคลื่นกระจุกอยู่กับรายใหญ่และการประมูลแข่งขันกันน้อย เหตุบางคลื่นยังไม่หมดสัญญาแต่เปิดช่องให้ประมูลล่วงหน้าได้ แนะควรกำหนดราคาตั้งต้นประมูลให้ใกล้เคียงราคาประเมิน ไม่ต้องลดเพื่อสร้างแรงจูงใจเหมือนในอดีต ชงคลอดแพกเกจดูแลผู้บริโภค จี้มาตรการกำกับ “ผู้มีอำนาจเหนือตลาด” พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการ MVNO รายเล็ก เพิ่มทางเลือกประชาชน
นักวิชาการ มธ. เห็นด้วย 'หวยเกษียณ' แนะเพิ่มเงินรางวัลจูงใจ ปชช.เก็บออม หนุนเปิดให้ถอนเงินได้เมื่อจำเป็น
นักวิชาการธรรมศาสตร์ เห็นด้วยโครงการ ‘หวยเกษียณ’ เพื่อให้ ปชช. มีเงินออม แต่ ‘เงินรางวัล’ ยังไม่จูงใจเมื่อเทียบสลากรางวัลอื่นๆแนะเพิ่มเงินรางวัลจูงใจ-ปรับเงื่อนไขให้ถอนเงินได้เมื่อจำเป็น ชี้เพื่อประสิทธิภาพ-ความโปร่งใส ควรเพิ่มสัดส่วนภาคประชาสังคมเป็น ‘บอร์ดกองทุน กอช.’
The Return of Trump กับชะตากรรมอาเซียน! 3 นักวิชาการมธ. ชำแหละเกมมหาอำนาจ
ท่ามกลางกระแสการกลับมาของ ‘โดนัลด์ ทรัมป์’ สู่ทำเนียบขาว 3 นักวิชาการ มธ.วิเคราะห์ผลกระทบที่อาเซียนต้องเผชิญ เมื่อสหรัฐฯ เดินหน้าปรับยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก บทบาทของอาเซียนกำลังลดลงหรือเป็นโอกาสต่อรอง
นักวิชาการมธ. เตือน 'รถบัส 2 ชั้น' วิ่งระยะไกลเสี่ยงอุบัติเหตุกว่ารถชั้นเดียว 7 เท่า
นักวิชาการธรรมศาสตร์ ชี้ รถบัส 2 ชั้น เสี่ยงอุบัติเหตุกว่ารถชั้นเดียวถึง 7 เท่า เสี่ยงตายมากกว่า 10 เท่า จึงไม่เหมาะสมวิ่งทางไกล-ทางคดเคี้ยว-ลาดชัน เหตุผู้โดยสารอยู่ข้างบน ส่งผลให้ ‘จุดศูนย์ถ่วง’ ไม่สมดุล ระบุ ต่างประเทศใช้แค่เป็นรถชมเมืองเท่านั้น เสนอแก้ปัญหาเบื้องต้น กำหนดโซนให้รถ 2 ชั้น วิ่งได้จำกัด
แยก ‘ประกันสังคม’ พ้นระบบราชการ นักวิชาการหนุน ‘สปสช.’ ดูแลรักษาพยาบาลผู้ประกันตน
นักวิชาการมธ. หนุนแยก ‘ประกันสังคม’ ออกจากระบบราชการ เพื่อให้มืออาชีพบริหารกองทุน เพิ่มความโปร่งใสและประสิทธิภาพ เสนอเพิ่มสัดส่วน ’ผู้ประกันตน‘ ในบอร์ด สปส. ให้มากกว่า ’นายจ้าง-ภาครัฐ‘ พร้อมแนะให้ สปสช. ดูแลสวัสดิการรักษาพยาบาล ส่วนประกันสังคมมุ่งดูแลสวัสดิการด้านอื่นแทน
นักวิชาการมธ. ถามรัฐบาลตีตก ร่างพ.ร.บ.บำนาญฯเพราะห่วงผลประโยชน์การเมือง?
นักวิชาการธรรมศาสตร์ ตั้งคำถามรัฐบาลจริงใจแค่ไหนกับ 'บำนาญ-สวัสดิการผู้สูงอายุ' หลังร่าง พ.ร.บ.บำนาญประชาชนถูกตีตกซ้ำ ชี้ไทยมีศักยภาพเดินหน้า แต่ขาดเจตจำนงทางการเมือง หวั่นมุ่งแต่ประชานิยมระยะสั้นหรือห่วงผลประโยชน์ทางการเมือง