‘หมอแล็บแพนด้า’ เตือนเคี้ยวใบกระท่อมห้ามตรวจ ATK จะเกิดผลลวงได้

31 ม.ค.2565-ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน นักเทคนิคการแพทย์ หัวหน้างานตรวจโรคติดเชื้อทางโลหิตวิธีอณูชีววิทยาศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เจ้าของเพจ “หมอแล็บแพนด้า” โพสต์เรื่อง “หัวจะปวด กำลังเคี้ยวใบกระท่อมอยู่ห้ามตรวจ ATK เด้อออ 5555” ระบุว่า อย่างที่รู้กันว่าประเทศไทยอนุญาตให้ซื้อใบกระท่อมมาเคี้ยวได้แล้ว แรกๆก็ไม่มีปัญหาอะไรหรอกค้าบ แต่หลังๆเริ่มมีการเอา ATK แบบน้ำลายมาใช้ตรวจโควิด บางพื้นที่คนไข้เคี้ยวใบกระท่อมไม่หยุดปากเลย พอบ้วนน้ำลายตรวจก็ปรากฏว่าทุกคนที่เคี้ยวใบตรวจเป็นลบหมดเลย แล้วคนไข้ก็เชื่อว่าตัวเองไม่ติด อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเหมือนเดิม มันจะไปตรวจเจอได้ยังไงล่ะครับ บ้วนออกมาเป็นกากเลย ซึ่งถ้ามีเชื้อโควิดจริงๆ เชื้อมันก็จะไปเกาะตามกาก โอกาสที่จะบวกก็น้อยลง และในใบกระท่อมมันมีสารไมทราไจนีน (Mitragynine) เป็นสารจำพวกอัลคาลอยด์ซึ่งทำให้กรดเบสในชุดตรวจ ATK เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดผลลวงได้

“ส่วนคนไข้กลุ่มที่มาด้วยกันที่ไม่ได้เคี้ยวใบกระท่อม พอตรวจ ATK ก็บวกสิครับ เจอเชื้อไปตามระเบียบ ไปล้างปากบ้วนกากใบกระท่อมให้เรียบร้อยก่อนตรวจนะครับ เจ้าหน้าที่ก็อย่าเพิ่งตรวจให้เด้อออ ถือเป็นสิ่งส่งตรวจที่ไม่เหมาะสม ตรวจไปก็แปลผลไม่ได้อยู่ดีจ้าาาา แดดจ๋าาา พี่มาแล้ว” 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผลวิจัยชี้ Long COVID จะทำให้ลางานมากกว่าปกติ 1.4 เท่า

'หมอธีระ' เผยแดนกิมจิยังคองแชมป์ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อโควิดใหม่สูงสุด ชี้ผลวิจัย Long COVID เมืองผู้ดีที่ศึกษาประชากร 2 แสนรายพบผู้ป่วยจะมีปัญหาลางานมากกว่ากว่าปกติ 1.4 เท่า

'นพ.ธีระ' แนะยังต้องป้องกันตัวเองเพราะไทยมีผู้ติดโควิดระดับเกินพันต่อวัน

'หมอธีระ' เผยตัวเลขล่าสุดจากองค์การอนามัยโลก โอมิครอนยึดแล้ว 99.6% โดยสายพันธุ์ที่แรงที่สุดยามนี้คือ XBB.1.5 เผยไทยยังพบผู้ติดเชื้อใหม่ในระดับเกินพันต่อวัน

'นพ.ธีระ' ชี้เป็นความท้าทายในการอยู่กับโควิด19 ซึ่งย่างเข้าสู่ปีที่ 4

'หมอธีระ' ชี้เป็นความท้าทายของโควิด-19 ที่ย่างเข้าสู่ปีที่ 4 ว่าเราจะอยู่กันอย่างไร ย้ำใช้ชีวิตประจำวันโดยใส่ใจเรื่องสุขภาพ ในขณะที่ด้านวิทยาศาสตร์ก็ต้องเร่งศึกษาวิจัย

WHO ชี้ยอดสังเวยโควิดลดลง 8%ในรอบ 4 สัปดาห์

'หมอธีระ' เผย WHO ออกรายงานโควิด ชี้ผู้เสียชีวิตในรอบ 4 สัปดาห์ที่ผ่านมาลดลงกว่าช่วงก่อนหน้าราว 8% โดยทวีปอเมริกา- แอฟริกา-เมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกยังแรงอยู่