“รองประธานสภาฯ” นำสื่อมวลชนทัวร์รัฐสภา ดูโครงการปรับปรุงพื้นที่ภายใต้งบ ปี 69 เผย มอบโจทย์เจ้าหน้าที่ต้องสร้าง “พิพิธภัณฑ์” ที่มีชีวิต คุ้มค่า ใช้ประโยชน์ได้จริง พบ “ห้องสัมมนาจัดเลี้ยง” ไฟไม่พอ ระบบเสียงไม่มี มองทำครั้งเดียวได้ประโยชน์ยาว ย้ำปรับลดได้ ตอนแรกขอ 170 ล้านแต่ปรับลดมาแล้ว
7 พฤษภาคม 2568 - ที่รัฐสภา นายภราดร ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 นำสื่อมวลชนประจำรัฐสภาเดินชมบริเวณอาคารรัฐสภา ซึ่งเป็นประเด็นเรื่องขงการใช้งบประมาณปรับปรุงพื้นที่ในส่วนต่างๆที่นายภราดรรับผิดชอบ
โดยเริ่มจากห้องจัดเลี้ยงสัมมนาที่สามารถรองรับคนได้ 1,500 คน ชั้นB2 ที่ของบประมาณไป 99 ล้านบาท นายภราดรได้ชี้ให้ดูไฟในห้องที่มีความสลัวก่อนกล่าวว่า ตนได้สอบถามเจ้าหน้าที่ว่าเปิดไหสุดแล้วหรือยัง ซึ่งได้รับคำตอบว่าเปิดสุดได้แค่นี้ ห้องก็เป็นห้องโล่งระบบเสียงก็ไม่มี พร้อมปรบมือให้เห็นว่าห้องมีเสียงก้องไม่เก็บเสียง เมื่อทางเจ้าหน้าที่ของบมาตนก็ขอให้คำนึงถึงความจำเป็น ห้องประชุมนี้เคยใช้ประชุม APPF แต่เราไม่ระบบเสียงมีแต่ห้องเปล่าจำเป็นต้องเช่าหลายล้านบาท บางการประชุมใหญ่ระดับประเทศจำเป็นต้องไปเช่าโรงแรมราคาสูง ตนคิดหากมีห้องที่พร้อมใช้งานไว้ก็จะเป็นประโยชน์ นอกจากสมาชิกรัฐสภาแล้วประชาชนสามารถขอใช้ห้องในการจัดงานต่างๆได้
จากนั้นได้พาคณะไปยังโซนพิพิธภัณฑ์รัฐสภา บริเวณชั้น MB1 ชั้น1 และชั้น11ซึ่งเป็นจัดเดียวกับเครื่องยอดของอาคารรัฐสภา ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมด 6,000 ตารางเมตร นายภราดรระบุว่าวันนี้ยังได้ไม่ใช้ประโยชน์เลย ซึ่งตนได้ให้โจทย์ไปว่าเราต้องมีพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต การนำเสนอจะต้องนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ ตั้งใจจะทำให้ทันสมัยเพราะพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยมีน้อยที่จะดีเหมือนต่างประเทศ
ผู้สื่อข่าวได้ถามระหว่างการเดินชมบริเวณพิพิธภัณฑ์ว่าทำแล้วจะคุ้มค่าหรือไม่ นายภราดร กล่าวว่า ที่นี่จะกลายเป็นศูนย์การเรียนรู้ในด้านการเมืองการปกครอง งานนิติบัญญัติ จะคุ้มค่าหรือไม่ต้องดูว่าสิ่งที่ได้กับการลงทุนมากน้อยแค่ไหน หลักใหญ่ตนให้โจทย์ว่าคนที่มาแล้วอยากจะกลับมาอีก เชื่อว่าจะกลายเป็นอีกจุดเช็คอินอีกหนึ่งที่ นอกจากเครื่องยอดแล้ว
ภายหลังการเดินชมพื้นที่ดังกล่าว นายภราดร ระบุว่า ตนได้พาไปดูในส่วนที่เป็นข่าว 2 ส่วนคือพิพิธภัณฑ์ และห้องสัมมนาที่จุคนได้ 1,500 ที่นั่ง โดยห้องสัมมนานั้นวัตถุประสงค์คือตั้งใจที่จะใช้เป็นห้องสัมมนาขนาดใหญ่ ไม่ใช่เฉพาะของสภาผู้แทนราษฎรแต่รวมถึงพี่น้องประชาชนทั่วไปด้วยที่ประสงค์จะใช้ห้องประชุมขนาดใหญ่และสามารถขอใช้กับสภาผู้แทนราษฎรได้
และจากที่พาไปดูจะว่าระบบแสง และไม่มีระบบเสียง ซึ่งเราเคยจัดงานไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว เราต้องไปจ้างระบบเสียงและแสงรวมถึงโต๊ะที่นั่ง ค่าบริหารจัดการเป็นล้านบาท ยังไม่รวมถึงการจัดงานประชุมระดับประเทศที่ผ่านมาก็เพิ่งจะจัดไป เราต้องไปเช่าห้องสัมมนาของโรงแรมที่จะจัดงานของสภาฯ และใช้เงินอีกมากพอสมควร ฉะนั้น ทางประธานสภาฯก็ดำริว่าเมื่อเรามีห้องเป็นของเราแล้วจำเป็นที่จะต้องนำพื้นที่ที่ว่างเปล่ามาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุดเพื่อบริการให้กับประชาชนด้วย ซึ่งเป็นหนึ่งโครงการที่ทางสำนักงานเลขาธิการสภาฯ ได้ขอสู่สำนักงบประมาณไป
นายภราดร กล่าวว่า ส่วนของพิพิธภัณฑ์ที่หลายคนได้มาสภาฯ คงจะเห็นในส่วนที่มีการจัดไว้ชั่วคราวซึ่งเป็นส่วนแค่เล็กๆเท่านั้น โดยพื้นที่ทั้งหมดมี 3 ชั้นคือชั้น MB1 ชั้น 1 และชั้น 11 รวมทั้งหมด 6,000 ตารางเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ใหญ่พอสมควร โดยในแบบเตรียมไว้เพื่อทำพิพิธภัณฑ์ ซึ่งทางสภาฯเห็นว่าเป็นประโยชน์กับพี่น้องประชาชน และมีประชาชนเข้ามาเยี่ยมชมจำนวนมากในแต่ละวัน รวมถึงพิพิธภัณฑ์จะเป็นแหล่งเรียนรู้ใหม่ ที่เปิดกว้างให้ประชาชนเข้ามายังสภาฯ
โดยประเทศที่เจริญแล้วอย่างประเทศอังกฤษจะเห็นว่ามีพิพิธภัณฑ์อยู่ทั่วเมืองเต็มไปหมด ที่แสดงถึงประวัติศาสตร์ด้านต่างๆ เราจึงอยากให้ที่นี่เป็นแหล่งเรียนรู้ของประชาชนในเรื่องของการเมืองการปกครอง นิติวิธีในกระบวนการของรัฐสภาจึงได้ให้โจทย์กับทางกลุ่มงานพิพิธภัณฑ์ไปว่าพิพิธภัณฑ์จะต้องทำให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต คือคนเข้ามาแล้วต้องอยากที่จะกลับมาอีกและเมื่อกลับมาแล้วต้องมีสิ่งที่มาเปลี่ยนแปลงไป และบริการให้กับพี่น้องประชาชน
รองประธานสภาฯคนที่ 2 กล่าวว่า ในการพิจารณาโครงการในต่างๆ มีหลักใหญ่ 3 หลักคือ 1.หลักความจำเป็น 2. เมื่อดูความจำเป็นแล้วโครงการนั้นความคุ้มค่ากับงบประมาณที่จะใช้หรือไม่ และ 3. หลักของความโปร่งใสและตรวจสอบได้ โดยตนเชื่อว่าทั้งนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ และนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาฯคนที่ 1 ในฝ่ายนโยบายก็ได้ให้กับนโยบายกับข้าราชการเรื่องความโปร่งใสที่ตรวจสอบได้ รวมถึงเรื่องของความคุ้มค่าของงบประมาณที่ได้ขอดำเนินการต่างๆ ก็ต้องเน้นถึงความจำเป็น
แต่อย่างไรก็ตาม โครงการต่างๆที่สภาฯได้ขอไปยังอยู่ในขั้นตอน ยังไม่ได้รับการอนุมัติ ซึ่งเดือนพ.ค. จะมีการพิจารณางบประมาณ ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของสส. ที่จะมีการเปิดโครงการของหน่วยงานต่างๆ รวมถึงสภาฯด้วยว่า ได้ของบประมาณในส่วนไหนไปบ้าง หากกรรมาธิการงบประมาณเห็นว่าโครงการไหนไม่มีความจำเป็นทางกรรมาธิการก็สามารถปรับลดงบประมาณในส่วนที่ไม่มีความจำเป็นได้ในชั้นวาระ 2 และทางสส. ในห้องประชุมใหญ่ก็สามารถขอแปรญัตติ เพื่อปรับลดงบประมาณได้ ฉะนั้น จึงเป็นเพียงแค่แนวทางของสำนักงานเลขาธิการสภาฯ ที่ได้เสนอของบประมาณขึ้นไป ส่วนจะอนุมัติหรือไม่ก็อยู่ที่ผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการที่จะพิจารณาในวาระที่ 2 และ 3 ต่อไป
เมื่อถามว่า มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่างบประมาณที่ขอไปมีความไม่คุ้มค่า ต้องมีการไปกำชับเรื่องลดทอนให้น้อยลงหรือไม่ นายภราดร กล่าวว่า ในส่วนของตนที่ได้พาไปดูห้องประชุม 1,500 ที่นั่ง ตอนแรกงบประมาณที่ทำเสนอมา น่าจะประมาณ 170 ล้านบาท ตนจึงให้โจทย์กับหน่วยงานไปว่าต้องไปเชิญผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านนี้หลายเจ้าเพื่อมาปรึกษาและพูดคุยกันว่างบประมาณที่ทางสำนักงานเลขาธิการสภาฯ ได้ตั้งมาว่ามากเกินไปหรือไม่
สุดท้ายจึงได้นำเสนอขึ้นมาใหม่คือ 99 ล้านบาท ลดไปประมาณเกือบครึ่งหนึ่ง จึงเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถปรับลดได้ เช่นเดียวกันในชั้นของกรรมาธิการงบประมาณ ที่สามารถจะปรับลดหรือตัดออกทั้งโครงการก็ได้ ฉะนั้น เป็นอำนาจของกรรมาธิการหากเห็นว่าโครงการนี้จำเป็นหรือไม่ ถ้าไม่มีความจำเป็นกรรมาธิการงบประมาณก็สามารถที่จะตัดทิ้งได้ หรือหากไม่คุ้มค่ากรรมาธิการก็สามารถปรับลดงบประมาณลงได้ จึงเป็นส่วนหนึ่งของกรรมาธิการที่จะไปดำเนินการ
เมื่อถามว่า นอกจากพิพิธภัณฑ์และห้องสัมมนา 1,500 ที่นั่ง ในส่วนอื่นที่นายภราดรไม่ได้ดู อาจจะถูกวิจารณ์เหมือนกันจะต้องมีการทำความเข้าใจอย่างไร นายภราดร กล่าวว่า ที่ตนพูดได้ใน 2 ส่วนคือเพราะตนเป็นคนดู ในส่วนอื่นตนไม่ได้รับผิดชอบ และไม่ได้เป็นผู้เริ่มต้นจึงไม่รู้วัตถุประสงค์ของคนตั้งมาเขาตั้งเพราะอะไร มีความจำเป็นมากแค่ไหนตนไม่ทราบ จึงต้องลองไปถามทางหน่วยงาน
เมื่อถามถึงกรณีที่นายปดิพัทธ์ สันติภาดา อดีตรองประธานสภาฯ ระบุว่างานน่าจะเสร็จตั้งแต่ก่อนรับงานแล้วหรือไม่ ทำไมต้องมาทำเพิ่มเติมเช่นพิพิธภัณฑ์ นายภราดรกล่าวว่า ตนเข้าใจว่าในแบบแปลนใหญ่ มีทั้งพิพิธภัณฑ์และห้องประชุมขนาดใหญ่ในการเตรียมพื้นที่เอาไว้ ส่วนในการรับงานที่ผ่านมาของสภาฯ ที่รับงานครั้งแรกไป น่าจะไม่รวมถึงในส่วนของพิพิธภัณฑ์และห้องประชุม ไม่เช่นนั้นฝ่ายตรวจรับงานเขาตรวจรับไม่ได้
“ข้าราชการไม่กล้าตรวจรับงาน ถ้าตรวจรับงานไปด้วยงานที่ไม่สมบูรณ์แบบตามแบบ ติดคุกนะ ผมจึงเชื่อว่าเขาไม่กล้าทำ แต่จากที่ผมทราบเบื้องต้นด้วยเงินงบประมาณที่ทางสภาฯ ได้ก่อสร้างเริ่มแรกพื้นที่ใช้สอยทั้งหมดน่าจะประมาณ 300,000 กว่าตารางเมตร แต่เมื่อสร้างจริงกลายเป็น 400,000 ตารางเมตร หมายความว่าจำเป็นจะต้องปรับลดเนื้องานเป็นบางส่วน ในส่วนที่กำลังจะสร้างหรือกำลังจะต่อเติมอาจจะอยู่ในส่วนที่ตัดออกไป ซึ่งผมเชื่อว่าด้วยคณะกรรมการตรวจรับของสภาฯ คงไม่ชุ่ยขนาดนั้น” นายภราดร กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
จับตา! สิ้นเดือนกรกฎาคมล้างการเมืองสีเทา ในทำเนียบรัฐบาล-รัฐสภา
นายไพศาล พืชมงคล ทนายความ นักวิเคราะห์วิจารณ์การเมือง โพสต์ข้อความหัวข้อ ล้างบางการเมืองสีเทา มีรายละเอียดระบุว่า ใกล้เ
สง่างามกว่า! แนะรัฐบาลชิงเปิดประชุมรัฐสภาเอง ถกปมชายแดน
นายคำนูณ สิทธิสมาน อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เห็นด้วยนะกับข้อเสนอให้คณะรัฐมนตรีขอเปิดประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อปรึกษาหารือปัญหาสำคัญของบ้านเมืองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 165
'ปชน.' ยื่นศาลรธน. สัปดาห์หน้า ถอด 'พิเชษฐ์' พ้นเก้าอี้รองปธ.สภา
'ภัณฑิล' เร่งกำลังล่าชื่อ สส. เตรียมยื่น 'ศาล รธน.' ถอดถอน 'พิเชษฐ์' สัปดาห์หน้า ปมตั้งงบอบรมสัมมนาโยกลงพื้นที่ตัวเอง ย้ำไม่ได้ใช้ช่องจริยธรรม แต่เป็นเรื่องการทุจริตโดยตรง เมินคุยรองปธ.สภาหลังไมค์
ทัวร์รัฐสภาล่ม! 'พิเชษฐ์' โดน สส.ปชน. เทนัด
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาคนที่หนึ่ง เปิดเผยระหว่างการให้สัมภาษณ์ว่า ได้นัดนายภัณฑิล น่วมเจิม ส.ส.กทม. พร
สับเละงบสภา/พ.โยกเงินให้พวก
อภิปรายงบ 69 วันที่สองเริ่มเดือด! "ปชน." ดาหน้าสับเละ "ไอติม" ฟัด "พิเชษฐ์" ปมงบปรับปรุงรัฐสภา ซัดงบกลางแจงไม่เคลียร์
'กรุณพล' แฉ สส.เพื่อไทย ใช้ที่ทำการพรรคแลกเมล็ดพันธุ์ข้าว เอาทรัพยากรรัฐซื้อเสียงล่วงหน้า
นายกรุณพล เทียนสุวรรณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน อภิปรายงบประมาณของกรมการข้าวระบุว่า เราใช้งบประมาณผิดทิศผิดทางมาตลอด 2 ปี จึงอยากช่วยรัฐบาลหาเงินในโอกาสสุดท้ายก่อนที่เศรษฐกิจไทย