ภาคเหนือเจอพายุ-ลูกเห็บ 'กรุงเทพ' ฝนลงร้อยละ 20 ของพื้นที่

5 ก.พ.2565 - กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานลักษณะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศระหว่างเวลา 06.00 น. - 06.00 น.ของวันพรุ่งนี้ พบคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ส่งผลให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนล่างคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังในระยะนี้

ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ในระยะนี้ ประเทศไทยและกรุงเทพมหานครมีการสะสมฝุ่นละออง หมอกควันลดลง เนื่องจากบริเวณประเทศไทยมีฝนตกบางพื้นที่

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย

ภาคเหนือ อากาศเย็น โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร และสุโขทัย อุณหภูมิต่ำสุด 17-21 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 26-31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 3-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศเย็นถึงหนาว โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี ขอนแก่น และชัยภูมิ อุณหภูมิต่ำสุด 15-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ภาคกลาง อากาศเย็น โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัด นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี นครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ส่วนมากบริเวณจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส

อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา: ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป: ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุ ประกาศฉบับสุดท้าย พายุฤดูร้อน 8-10 พ.ค. ยังมีฝนตกหนักลมกระโชกแรง

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 14 ซึ่งเป็นฉบับสุดท้ายของเหตุการณ์นี้ ระบุว่า

มาครบ! เหนือ อีสาน กลาง ตะวันออก ระวัง! ร้อนจัด พายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก ฟ้าผ่า

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า แนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมบริเวณภาคตะวันอ

กรมอุตุ เตือนฉบับ 12 เปิดชื่อจังหวัดระวังพายุฤดูร้อน ฝนถล่มใน 24 ชม.ข้างหน้า

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 12 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 7 พฤษภาคม 2567)

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 11 เตือน 'พายุฤดูร้อน' ถล่ม 52 จังหวัด

นางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง "พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน" ฉบับที่ 11 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 7 พฤษภาคม 2567) โดยมีใจความว่า

อุตุฯ เตือนร้อนจัด 42 องศา พายุฝนฟ้าคะนอง ลมแรง ลูกเห็บตก

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน