นักกม.มหาชน คลี่ปมร้อน '8ปี' ชี้ชัดหลักการ 'ควบคุมการใช้อำนาจ' กับ 'การบริหารราชการแผ่นดิน' คนละกรณีกัน


4 ส.ค.2565 - ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงสถานะความเป็นนายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครบ 8 ปีนับแต่เมื่อใด ว่าก่อนอื่นต้องแยกระหว่างการนับระยะเวลาในเชิงรัฐศาสตร์กับการตีความกฎหมายมหาชน มีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะในเชิงรัฐศาสตร์ให้ถือตามระยะเวลาตามความจริง ตรงนี้ไม่มีข้อโต้แย้ง ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปี เริ่มวันใด สิ้นสุดในวันใด ตรงนี้ประชาชนหรือผู้สนใจทางการเมืองสามารถนับตัวเลขได้ เจตนารมณ์เพื่อมิให้ต้องผูกขาดทางการเมือง

ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่าส่วนการนับระยะเวลาตามรัฐธรรมนูญ เป็นการควบคุมฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติสามารถใช้ช่องมาตรา 82 วรรคหนึ่งยื่นต่อประธานรัฐสภาส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบสมาชิกภาพได้ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญ ได้รับเรื่องไว้พิจารณา หากปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่าสมาชิกผู้ถูกร้องมีกรณีตามที่ถูกร้อง ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้สมาชิกผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย แต่ต้องยื่นหลังพ้นวันที่ 24 สิงหาคม 2565 แล้วถึงจะเกิดอำนาจตีความของศาลรัฐธรรมนูญเพราะศาลไม่มีหน้าที่อธิบายกฎหมาย

ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวต่อว่าต้องอธิบายว่า นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา  นายกรัฐมนตรี ถึงความเสี่ยง การฝ่าฝืนกฎหมาย อ้างเหตุผลมาร้อยแปดพันเก้า แล้วไปโต้แย้งการใช้อำนาจองค์กรจัดการเลือกตั้ง ตรงนี้ท่านไม่เข้าใจในรัฐธรรมนูญ

นักฎหมายผู้นี้ อธิบายว่าการควบคุมฝ่ายบริหารเป็นการใช้อำนาจเรื่องการนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ไม่ใช่เรื่องสิทธิเสรีภาพเพราะอำนาจเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับสิทธิเสรีภาพ อำนาจรัฐบาลยิ่งมีมาก สิทธิเสรีภาพประชาชนจะมีน้อย ดังนั้นหากเป็นเรื่องอำนาจ การตีความ เน้นย้ำมุ่งควบคุม ขณะเรื่องของสิทธิเสรีภาพ การตีความมุ่งคุ้มครอง และเพื่อที่จะคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน จึงต้องให้อำนาจรัฐบาลเท่าที่จำเป็น นั่นคือ จะมีอำนาจต่อเมื่อมีกฎหมายให้อำนาจเท่านั้น ซึ่งหลักคือ “ไม่มีกฎหมาย ไม่มีอำนาจ”ตามหลักกฎหมายมหาชน

ทั้งนี้ การกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีวัตถุประสงค์หลักตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญเพื่อ

1.กําหนดระยะเวลาการทำงานให้ชัดเจนเพื่อป้องกันการครอบงำหรือแทรกแซงทางการเมืองของกลุ่มผลประโยชน์

2.ป้องกันมิให้ผู้ดํารงตําแหน่งหลงอำนาจนำไปสู่เผด็จการทางการเมืองได้

3.ให้เกิดการแข่งขันทางการเมืองอย่างเสรีเน้นนโยบายพรรคการเมืองมากกว่าตัวบุคคล

4.เปิดโอกาสให้มีการเปลี่ยนแปลงนายกรัฐมนตรี

5.ให้นายกรัฐมนตรีตระหนักและเห็นความสำคัญของเสียงสนับสนุนที่ทำให้ได้รับการเลือกตั้ง

ดร.ณัฎฐ์ กล่าวว่า หลักทั่วไป ตามบทบัญญัติของกฎหมายต้องตีความโดยเคร่งครัด ซึ่งกฎหมายเอกชน หากไม่ได้บัญญัติห้ามไว้สามารถกระทำได้ ส่วนกฎหมายมหาชน กลับตรงกันข้าม มีความแตกต่างกัน หากไม่ได้บัญญัติไว้ไม่สามารถกระทำได้

โดยปัญหาข้อกฎหมายตามมาตรา 158 วรรคท้าย “นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้” ต้องพิจารณามาตราอื่นประกอบเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ เช่น คุณสมบัติความเป็นรัฐมนตรี ที่มาของนายกรัฐมนตรี และหลักการบริหารราชการแผ่นดินต่อเนื่อง รวมถึงการบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับใด

ทั้งนี้ การใช้อำนาจในฐานะหัวหน้าคณะรัฐประหารและนายกรัฐมนตรีนำมานับเวลาต่อเนื่องได้หรือไม่ หากพิจารณาปัญหาความชอบด้วยกฎหมายอำนาจในการควบคุมมาตรา 158 วรรคท้าย คือ “ศาลรัฐธรรมนูญ” โดยช่องทางดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 159 ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็่นนายกรัฐมนตรีจากบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160 และเป็นผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 เฉพาะจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองที่มีสมาชิกได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

ดร.ณัฎฐ์ กล่าวอีกว่า หากเทียบเคียงรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มาตรา 201 ไม่ได้กําหนดระยะเวลาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไว้ เพิ่งจะเกิดขึ้นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 มาตรา 171 วรรคท้าย กำหนดนายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเกินกว่าแปดปีไม่ได้ ปัญหาความชอบด้วยกฎหมายมาตรา 158 วรรคท้ายกับมาตรา 264 คำว่า “จะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีไม่ได้” กับมาตรา 264 วรรคหนึ่ง ที่ว่า “ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้” ในทางกฎหมายมหาชน 2 มาตรานี้ ต้องแยกเจตนารมณ์ต่างกัน

1. การใช้อำนาจในการควบคุมฝ่ายบริหาร

2.การใช้อำนาจในการบริหารราชการแผ่นดิน

การใช้อำนาจควบคุมฝ่ายบริหารตามมาตรา 158 วรรคท้าย นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้” ต้องพิจารณาประกอบว่าใช้รัฐธรรมนูญฉบับใด ซึ่งรัฐธรรมนูญมาตรา 159 โดยที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาได้ลงมติเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2562 เห็นชอบด้วยในการแต่งตั้ง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกที่ทั้งหมดมีอยู่ทั้งสองสภา จึงแต่งตั้งให้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ตามความในมาตรา 158 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2562 การนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งให้นับเวลาจุดเริ่มต้นในวันนี้

"ปัญหาว่า ภายหลังรัฐประหาร วันที่ 24 สิงหาคม 2557 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจะนำมานับรวมได้หรือไม่ ตรงนี้ ต้องกลับไปดูเจตนารมณ์การบังคับใช้รัฐธรรมนูญ ซึ่งในมาตรา 264 วรรคหนึ่ง “เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้” เป็นหลักการบริหารราชการแผ่นดินต่อเนื่อง ประเทศที่ใช้ระบบรัฐสภาตามหลักนิติรัฐและแบ่งแยกอำนาจย่อมบัญญัติไว้เช่นนี้เพื่อป้องกันสูญญากาศทางการเมือง แม้ไม่ได้บัญญัติข้อยกเว้นในมาตรา 158 วรรคท้าย

แต่ "หลักการควบคุมการใช้อำนาจ” กับ "หลักการบริหารราชการแผ่นดิน” ถือเป็นคนกรณีกัน เพราะการบริหารราชการแผ่นดินจะต้องต่อเนื่องเพื่อมิให้เกิดช่องว่างในสถานะความเป็นรัฐชาติ หากนับการดำรงตำแหน่งและที่มาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร นับแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2562 จนถึงปัจจุบันถึงวันที่ 24 สิงหาคม 2565 สถานะนายกรัฐมนตรีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งยังไม่สิ้นสุดไปตามมาตรา 158 วรรคท้าย กรณีดังกล่าว ไม่ใช่อภิหารกฎหมาย หากมีความสงสัยในสถานะความเป็นนายกรัฐมนตรีให้สมาชิกรัฐสภาใช้ช่องทางมาตรา 82 ยื่นตีความปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาพิจารณาพอควร" ดร.ณัฐวุฒิ ระบุ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ รับไม่มีสิทธิ์โกรธ ฝึกคุมอารมณ์ พร้อมหาวิธีปรับจูน สส.เพื่อไทย

นายกฯ รับต้องปรับจูนทำความเข้าใจ สส.เพื่อไทย หลังมีเสียงสะท้อนยังมีระยะห่าง ลั่นไม่น้อยใจ ไม่โกรธ ไม่งอน แจงต้องเข้มเรื่องงบ

'เลขาฯ ประชาชาติ' ยันไร้แรงกระเพื่อม 'ปรับ ครม.' ยังหนุน 'ทวี' คุม ยธ.

'ซูการ์โน' ชี้ยังไม่มีหารือพรรคร่วมรัฐบาล ปรับ ครม. ยันประชาชาติยังหนุน 'ทวี' นั่งเก้าอี้ รมว.ยุติธรรม ปัดตอบกระแสเปลี่ยนตัว 'ปธ.สภา'

'เศรษฐา' ย้ำแจกเงินดิจิทัลได้แน่ไตรมาส 4 ระหว่างรอจ่อผุดมาตรการอื่นกระตุ้น ศก.

นายกฯ มั่นใจแจกเงินดิจิทัลได้แน่ไตรมาส 4 ชี้ออกดอกผลไตรมาส 1-2 ปีหน้า ระหว่างรอเตรียมผุดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจตามที่แถลงต่อรัฐสภา ลั่นมาถูกทาง

ปชป. ขย่ม 'เศรษฐา' มีแค่อำนาจทิพย์ ทำไทยไม่ติดอันดับประเทศน่าลงทุน

ปชป. จี้รัฐบาลเร่งแก้ไข หลังผลจัดอันดับ EIU ไทยไม่ติดประเทศน่าลงทุน เหตุไร้เสถียรภาพการเมือง 'เศรษฐา' มีแค่อำนาจทิพย์ โดน 'อดีต-อนาคต' นายกฯ ประกบตลอด