ปตท. เดินหน้าดันประเทศสู่ Net Zero

“โลก” กำลังเปลี่ยนวิสัยทัศน์การดำเนินงานใหม่ ให้เข้าใจและดูแลด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยกำหนดเป็นแนวทาง Net Zero หรือการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ซึ่งอันดับแรกคือ การสร้างการรับรู้ และทำให้ทุกภาคส่วนบนโลกยอมรับจนมีความคิดเห็นในแนวทางเดียวกัน โดยที่ผ่านมาหลายประเทศและหลายกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ในโลกได้เริ่มประกาศแผนเดินหน้าให้เกิดความเป็นกลางทางคาร์บอนแล้ว พร้อมเตรียมแผนการที่จะผลักดันให้เทรนด์ดังกล่าวไปสู่ภาคอื่นๆ เพื่อให้ภาระนี้ไม่ไปกระจุกอยู่ที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง

เป้าหมายสู่ Net Zero นี้ หากมองในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่นั้นจะแบ่งออกมาได้เป็น 2 ทางคือ ลดการใช้พลังงาน และเลือกใช้พลังงานที่คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ ซึ่งในมุมมองของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นั้นก็ได้มีการเข้าใจถึงกระแสและผลกระทบที่เกิดขึ้นจนนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ จึงได้ทำการปรับวิสัยทัศน์ให้เข้ากับบริบทใหม่ ที่เน้นการขับเคลื่อนทุกชีวิตด้วยพลังแห่งอนาคต หรือ “Powering Life with Future Energy and Beyond” โดยสร้างจุดยืนที่สำคัญให้กับองค์กร มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนและบูรณาการความร่วมมือกันในระหว่างกลุ่ม ปตท. เพื่อประกาศแผน Net Zero ให้เร็วกว่าเป้าหมายของประเทศ

ทั้งนี้ เพื่อช่วยผลักดันค่าเฉลี่ยที่เกิดขึ้นในประเทศ ซึ่งถือว่า ปตท. ที่เป็นองค์กรใหญ่หากมีการปรับเปลี่ยนที่เร็วขึ้นก็จะไปช่วยดึงค่าเฉลี่ยจากกลุ่มเอกชนรายเล็กๆ ที่ยังต้องการเวลาปรับตัวอยู่ได้อย่างดีที่สุด โดย ปตท. เริ่มดำเนินการแผนงานดังกล่าวผ่านกลยุทธ์ที่สำคัญอย่าง “3P”

P แรกได้แก่ Pursuit of Lower Emissions ที่มีเป้าหมายว่า ปตท. ต้องใช้พลังงานอย่างไรให้คุ้มค่าที่สุด โดยมีการตั้งเป้าว่าจะต้องลดการใช้พลังงานปีละ 0.5% พร้อมกับที่เดินหน้าให้ทุกหน่วยงานในกลุ่ม ปตท. นำพลังงานทดแทนมาใช้เป็นพลังงานหลัก โดยตั้งเป้าลดคาร์บอน 1 ล้านตันคาร์บอนในปี 2030 และยังมีการดำเนินงานในส่วนของพลังงานสะอาด ที่มองไปที่ตัว ไฮโดรเจน โดยโปรเจกต์เป็นรูปธรรมแล้ว 1.2 แสนตันต่อปี ซึ่งจะนำไฮโดรเจนมาใช้ประโยชน์ควบคู่กับการใช้ก๊าซธรรมชาติ รวมถึงพัฒนาเทคโนโลยีดักจับคาร์บอน (CCS) ที่ปล่อยมาจากหน่วยผลิตของกลับมาเก็บไว้ใต้ผิวอากาศ ซึ่งในส่วนนี้บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท. เป็นแม่งานในการดำเนินการ

โดยใช้หลุมผลิตปิโตรเลียมเดิมในแหล่งอาทิตย์ที่บริษัทเป็นเจ้าของสัมปทาน มาใช้กักเก็บคาร์บอนเบื้องต้นประมาณ 4 - 5 หลุม ตั้งเป้าเฟสแรกจะสามารถกักเก็บคาร์บอนในแหล่งอาทิตย์ได้ประมาณ 1 ล้านตันต่อปี ขณะนี้อยู่ระหว่างออกแบบวิศวกรรมเบื้องต้น (Pre-FEED study) คาดว่าจะเริ่มใช้เทคโนโลยี CCS ในโครงการได้ ภายในในอีก 4 ปีข้างหน้า ขณะเดียวกันได้ประเมินว่าในอ่าวไทยสามารถนำหลุมปิโตรเลียมที่ไม่ได้ผลิตแล้วมาใช้ทำการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึงระดับ 40 ล้านตันเลยทีเดียว

P ที่สอง ได้แก่ Portfolio Transformation ที่กลุ่ม ปตท. ได้ปรับพอร์ตธุรกิจ ที่ผ่านมาพลังงานทั้งโลกที่คนไทยใช้อยู่คือ ฟอสซิล ถ่านหิน และก๊าซฯ เมื่อปัญหาโลกร้อนเข้ามามีบทบาทมากขึ้น จึงต้องปรับธุรกิจฟอสซิล ซึ่งล่าสุด ปตท. ได้ยกเลิกการใช้พลังงานจากถ่านหินแล้ว

ขณะที่เชื้อเพลิงอื่นๆ อาทิ โรงกลั่นน้ำมันจะไม่มีการขยายเพิ่ม แต่จะหันมาใช้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อาทิ การผลิตน้ำมันสู่มาตรฐานยูโร 5 ส่วนที่เป็นก๊าซธรรมชาตินั้นยังมองว่าเป็นตัวเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ และเกี่ยวข้องกับความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ ซึ่ง จึงยังมีการขยายสัดส่วนและกำลังการผลิตอยู่ และนอกจากนี้จะมุ่งเน้นไปที่พลังงานทดแทนที่จะเพิ่มกำลังการผลิตให้ได้ 12 กิกะวัตต์ ซึ่ง ปตท. จะใช้ประมาณกว่า 30% ของงบลงทุนทั้งหมดเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและทำได้จริง

และ P สุดท้ายได้แก่ Partnership with Nature and Society โดยการเข้าไปเป็นหุ้นส่วนกับพาร์ทเนอร์ ควบคู่กับการทำธุรกิจ ปตท. เช่น 10 กว่าปีที่ผ่านมา ปตท. ปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ 1 ล้านไร่ ใน 54 จังหวัด ซึ่งก็ได้ทะลุเป้าหมายไปแล้ว โดย ปตท. ได้ร่วมมือกับมหาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าไปประเมินตัวเลขป่าปรากฏว่าป่าที่ปลูก 1 ล้านไร่ สามารถดูดซับคาร์บอนได้ 2.1 ล้านตันต่อปี และปล่อยออกซิเจนสู่บรรยากาศ 1.7 ล้านตันต่อปี และ ปตท. ได้มีแผนจะปลูกเพิ่มป่าอีก 2 ล้านไร่ และคาดว่าจะสามารถดูดซับได้ประมาณ 4 ล้านตันต่อปี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กลุ่ม ปตท. ผนึกพันธมิตรนำเข้าอีเทน เสริมศักยภาพธุรกิจปิโตรเคมี สร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืน

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ลงนามข้อตกลงจ้างเรือขนส่งอีเทนขนาดใหญ่ (Very Large Ethane Carriers : VLECs) กับ MISC Berhad ผู้นำด้านการขนส่งก๊าซเหลวระดับโลก และลงนามข้อตกลงใช้เรือ VLECs ในการขนส่งอีเทนกับ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GC)

ปตท. ก้าวขึ้นอันดับสูงสุด Top1% “S&P Sustainability Yearbook 2025” สะท้อนการเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า ปตท. ได้รับการประเมินด้านความยั่งยืนอันดับสูงสุดของโลก (Top1%) ของกลุ่มอุตสาหกรรม Oil & Gas Upstream & Integrated (OGX) ในรายงานประจำปี “The Sustainability

FTI Expo 2025

ขอเชิญชวนผู้ประกอบการ นักธุรกิจ นักลงทุน และผู้สนใจเข้าร่วมงาน FTI Expo 2025 งานแสดงนวัตกรรม เทคโนโลยี และโซลูชันอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย