เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานมุ่งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

พลังงานเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิตและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ทุกประเทศรวมถึงไทยจึงต้องการแหล่งพลังงานที่มั่นคง และจำเป็นต้องจัดหาแหล่งพลังงานให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศในระยะยาว โดยที่ผ่านมา ทั่วโลกต่างพึ่งพาพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลัก ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีปริมาณจำกัด และไม่สามารถเกิดขึ้นใหม่ได้อีก นอกจากนี้ ในขณะที่เชื้อเพลิงฟอสซิลถูกเผาไหม้ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ได้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) ค้างอยู่ในชั้นบรรยากาศของโลก ซึ่งก๊าซดังกล่าวจะดักจับและกักเก็บความร้อนไว้ ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming) และการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (Climate Change) ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศของโลก ประเด็นดังกล่าวจึงกลายมาเป็นวาระสำคัญที่ทุกประเทศต้องร่วมมือกันแก้ไขอย่างเร่งด่วน ในฐานะที่ไทยเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก และเพื่อเป็นการเน้นย้ำว่าไทยให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าว จึงมีการผลักดันการเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน โดยลดการผลิตและใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิด BCG Economy Model ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของการประชุม APEC 2022 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ

ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงาน โดยลดการผลิตและใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการปลูกสตรอว์เบอร์รีในโรงเรือนเพาะปลูกไม้เมืองหนาว ณ สวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดระยอง ที่มีการนำของเสียจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติมาสร้างโรงเรือนอุณหภูมิเย็นเพื่อปลูกพืชเมืองหนาว เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน, โครงการผลิตเชื้อเพลิงจากปาล์มน้ำมันหรือไบโอดีเซล และการใช้พลังงานโซลาเซลล์ เพื่อส่งเสริมการผลิตและใช้พลังงานทางเลือกแทนพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และโครงการโรงงานไฟฟ้าชีวมวล ที่ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ เป็นต้น

ยิ่งไปกว่านั้น ไทยได้ประกาศเป้าหมายมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยมีการผลักดันนโยบายต่าง ๆ เพื่อลดมลภาวะและลดการใช้พลังงาน เช่น สนับสนุนให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในไทยและการนำเข้ายานยนต์ไฟฟ้า พร้อมทั้งให้สิทธิพิเศษเพื่อดึงดูดนักลงทุน เช่น การลดภาษีนำเข้า หรือการให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ แก่นักลงทุนที่มาตั้งฐานการผลิตในไทย เป็นต้น พร้อมกันนี้ ยังส่งเสริมให้มีการลงทุนโดยลดการใช้พลังงานหรือใช้พลังงานทดแทน ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น หากมีการเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรตามเกณฑ์ที่กำหนดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน จะได้รับการยกเว้นภาษีนิติบุคคล 3 ปี รวมถึงการยกระดับการดำเนินการให้ได้มาตรฐาน GAP, FSC และ ISO เป็นต้น นอกจากนี้ ในการประชุม APEC 2022 ยังเป็นโอกาสของไทยในการนำเสนอ “เป้าหมายกรุงเทพฯ เรื่องเศรษฐกิจ BCG (Bangkok Goals on BCG Economy)” ในเวทีโลก เพื่อนำแนวคิด BCG Economy Model มาส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาค โดยมีเป้าหมายสำคัญ 4 ข้อ ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ การจัดการปัญหาสภาพภูมิอากาศซึ่งรวมถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘พีระพันธุ์’ สั่งปลัดพลังงาน จับตาผลกระทบด้านพลังงาน สงคราม ’อิหร่าน-อิสราเอล’

รมว.พลังงานเผยสั่งการให้ท่านปลัดฯและหน่วยงานทุกหน่วยของกระทรวงพลังงานติดตามรายงานสถานการณ์ คาดการณ์ผลกระทบและแนวทางในการรับมือด้านพลังงานตลอดเวลาเช่นกัน

กกพ. ตรึงค่าเอฟที 39.72 สตางค์/หน่วย ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บเฉลี่ย 4.18 บาท/หน่วย ถึง ส.ค. 67

กกพ. ประกาศตรึงค่าเอฟที 39.72 สตางค์/หน่วย ขณะที่ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บเฉลี่ยอยู่ที่ 4.18 บาท/หน่วย จนถึงเดือน ส.ค. 67

'คำนูณ' จองกฐิน ปมพิรุธ เจรจาผลประโยชน์ปิโตรเลียมก่อนเรื่องเขตแดน

“คำนูณ” ย้ำ ‘ซักฟอก ม.153’ ปมเขตแดนไทย-กัมพูชา เพื่อปกป้องผลประโยชน์ประเทศ ยัน ไม่ได้โจมตีเป็นรายบุคคล พิรุธเปิดฉากเจรจาเรื่องผลประโยชน์จากปิโตรเลียมก่อนเรื่องเขตแดน

โออาร์-บางจากขึ้นราคาเบนซิน 40 สตางค์/ลิตร

บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด(มหาชน) และ บมจ.บางจาก ได้มีการประกาศปรับราคาขายปลีกน้ำมันราคาเบนซินและกลุ่มแก๊สโซฮอล์ทุกชนิดขึ้น 40 สตางค์/ลิตร

'คำนูณ' จ่อซักฟอกปมเจรจาพื้นที่ทับซ้อน ดักคอ 'อุ๊งอิ๊ง' บินกัมพูชา

'คำนูณ' เตรียมซักฟอกรัฐบาล ปมเจรจาแบ่งปันผลประโยชน์ขุมทรัพย์ใต้อ่าวไทย 20 ล้านล้าน ดักคอ 'อุ๊งอิ๊ง' บินกัมพูชา ไม่ใช่เรื่องมุบมิบทำอะไรได้ ชี้ต้องเป็นข้อตกลง รธน. ม.187 รัฐสภาเห็นชอบ