ผู้นำเอเปคร่วมรับรอง เป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG ปิดฉาก APEC 2022 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพอย่างงดงาม

ระหว่างวันที่ 18 - 19 พฤศจิกายน 2565 ได้มีการจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 โดยในวันที่ 18 พฤศจิกายน เป็นการประชุมช่วงที่ 1 ในหัวข้อ “การเติบโตที่สมดุล ครอบคลุม และยั่งยืน” ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ โดยมีการร่วมกันหารือแนวทางผลักดันวาระความยั่งยืนของเอเปค เพื่อมุ่งสู่การบรรลุการเจริญเติบโตที่สมดุล ครอบคลุม และยั่งยืน

ในการประชุมดังกล่าว มีการให้ความสำคัญกับแนวคิดเศรษฐกิจ BCG เป็นหลัก โดยได้หารือแนวทางการใช้ BCG เพื่อส่งเสริมความพยายามของเอเปคในการบรรลุวิสัยทัศน์ปุตราจายา 2040 และการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ยังมีการแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการบูรณาการแนวทางการขับเคลื่อนไปพร้อมกันทั้งสังคม (whole-of-society approach) และการยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (people-centric approach) ซึ่งนำไปสู่นโยบายด้านเศรษฐกิจและการพัฒนา เพื่อสร้างโอกาสที่ครอบคลุมและเท่าเทียมสำหรับทุกคน

ในที่ประชุม ได้มีการหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคกับแขกพิเศษ ซึ่งในปีนี้ไทยเชิญซาอุดีอาระเบีย และฝรั่งเศส ในฐานะแขกพิเศษเข้าร่วมการหารือภายใต้หัวข้อ “การส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ยั่งยืนระหว่างเอเปคกับคู่ค้า” โดยแบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 ผู้นำเอเปครับฟังมุมมองของแขกพิเศษเกี่ยวกับการส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและความร่วมมือกับเอเปค ช่วงที่ 2 ผู้นำและแขกพิเศษได้หารือเกี่ยวกับบทบาทของการค้าและการลงทุนในการเร่งการขับเคลื่อนการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังยุคโควิด-19 ผ่านการใช้นวัตกรรมและวิธีการที่ยั่งยืน และช่วงที่ 3 ได้จัดในรูปแบบการหารือระหว่างอาหารกลางวัน โดยผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคและแขกพิเศษได้แลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องวิธีส่งเสริมการเติบโตอย่างครอบคลุม ท่ามกลางความท้าทายจากสภาวะเงินเฟ้อ ความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน

นอกจากนี้ ยังมีการหารือระหว่างผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคกับสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ 1) ช่วงการประชุมเต็มคณะ ประธานสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค ได้นำเสนอรายงานสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจ APEC 2022 แก่ผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการส่งเสริม การฟื้นฟูอย่างรวดเร็วและยั่งยืน และมีพลวัต โดยให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ความมั่นคงทางอาหาร ความยืดหยุ่นทางสาธารณสุข เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ และการขับเคลื่อนประเด็นเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (FTAAP) และการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล และ 2) ช่วงแบ่งกลุ่มย่อย ผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคและสมาชิกสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปคถูกแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจะมีผู้นำจาก 4 เขตเศรษฐกิจ และหารือในประเด็นสำคัญ ได้แก่ เขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (FTAAP) MSMEs และดิจิทัลและความยั่งยืน โดยเน้นประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน

ต่อมาในวันที่ 19 พฤศจิกายน มีการจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 ช่วงที่ 2 ภายใต้หัวข้อ "การค้าและการลงทุนที่ยั่งยืน” ซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นผู้นำเขตเศรษฐกิจทั้งหมด โดยจากการประชุมครั้งนี้ ผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคได้รับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุม 2 ฉบับ ได้แก่ ปฏิญญาผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ค.ศ. 2022 และเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG ซึ่งสะท้อนผลสำเร็จของการเป็นเจ้าภาพ APEC 2022 ของไทยที่ขับเคลื่อนให้เอเปคสามารถเดินหน้าทำงานท่ามกลางสถานการณ์ความท้าทายในปัจจุบัน และคงความสำคัญในการเป็นเวทีความร่วมมือทางเศรษฐกิจชั้นนำของภูมิภาค โดยมีผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม 3 ข้อตามที่ไทยตั้งเป้า ได้แก่ 1) การผลักดันให้เอเปคทบทวนการหารือเรื่องเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิกในบริบทหลังโควิด-19 โดยมีแผนงานการขับเคลื่อนการหารือที่ต่อเนื่องระหว่างปี ค.ศ. 2023 - 2026 เพื่อให้เอเปคสามารถเดินหน้าได้อย่างชัดเจน 2) การฟื้นฟูการเดินทางข้ามพรมแดนที่สะดวกปลอดภัย โดยคณะทำงานเฉพาะกิจที่ไทยเป็นประธานได้จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อให้เอเปคมีกลไกและแนวทางการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต และ 3) การรับรอง “เป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG” ซึ่งเป็นเป้าหมายเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนฉบับแรกของเอเปค โดยเน้นเป้าหมายหลัก 4 ข้อ ได้แก่ การจัดการกับปัญหาสภาพภูมิอากาศ การค้าและการลงทุนที่ยั่งยืน การบริหารจัดการทรัพยากรยั่งยืน และการลดและจัดการของเสียอย่างยั่งยืน

ในการนี้ ไทยได้ส่งต่อการเป็นเจ้าภาพเอเปคในปี 2566 ให้แก่สหรัฐอเมริกา โดยนายกรัฐมนตรีได้มอบ “ชะลอม” ให้แก่นางคามาลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ซึ่งชะลอมเป็นภาพแทนสัญลักษณ์การเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย เพื่อส่งต่อให้สหรัฐอเมริกาสานต่อภารกิจในปีหน้า โดยเฉพาะประเด็นความยั่งยืนที่สะท้อนอยู่ในเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผู้นำเอเปคร่วมรับรอง เป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG ปิดฉาก APEC 2022 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพอย่างงดงาม

ระหว่างวันที่ 18 - 19 พฤศจิกายน 2565 ได้มีการจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 โดยในวันที่ 18 พฤศจิกายน เป็นการประชุมช่วงที่ 1 ในหัวข้อ “การเติบโตที่สมดุล ครอบคลุม และยั่งยืน”

เปิดกว้าง สร้างโอกาสให้กับทุก ๆ คน

แรงงาน คือ ฟันเฟืองชิ้นสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ การเปิดโอกาสในการประกอบอาชีพให้แก่แรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวจึงเป็นประเด็นที่ไทยให้การสนับสนุนมาตลอด

เปิดกว้าง สร้างโอกาสให้กับทุก ๆ คน

แรงงาน คือ ฟันเฟืองชิ้นสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ การเปิดโอกาสในการประกอบอาชีพให้แก่แรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวจึงเป็นประเด็นที่ไทยให้การสนับสนุนมาตลอด

ไทยเปิดฉากการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปกครั้งสุดท้ายสานต่อประเด็นการค้าการลงทุนและการเดินทางอย่างไร้รอยต่อ

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2565 ไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปกครั้งสุดท้าย (APEC Concluding Senior Officials’ Meeting: CSOM) ถือเป็นการเริ่มต้นสัปดาห์การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคอย่างเป็นทางการ

เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล

การประชุม APEC 2022 ถือเป็นโอกาสสำคัญที่ไทยจะมีบทบาทในฐานะเจ้าภาพ และผู้นำการประชุม ซึ่งไทยพร้อมแล้วที่จะส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง 21 เขตเศรษฐกิจ เพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง

เร่งต่อต้านการประมงผิดกฎหมายส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน

การประมงเป็นอาชีพที่อยู่คู่คนไทยมาช้านาน และมีความสำคัญอย่างมากต่อเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกอาหารทะเลรายใหญ่ติดอันดับต้น ๆ ของโลก แต่ในปัจจุบัน