เร่งต่อต้านการประมงผิดกฎหมายส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน

การประมงเป็นอาชีพที่อยู่คู่คนไทยมาช้านาน และมีความสำคัญอย่างมากต่อเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกอาหารทะเลรายใหญ่ติดอันดับต้น ๆ ของโลก แต่ในปัจจุบัน ประเทศไทยและทุกประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ทำให้อุณหภูมิในทะเลและมหาสมุทรสูงขึ้น ภัยธรรมชาติรุนแรงขึ้น ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และค่าเป็นกรดเป็นด่างของน้ำทะเลสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำประมง รวมถึงการขาดแคลนอาหารได้ในอนาคต ดังนั้น การบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและมหาสมุทรให้มีความยั่งยืน จึงเป็นวาระที่ทุกประเทศทั่วโลกรวมถึงไทยต้องให้ความสำคัญเร่งด่วน โดยที่ผ่านมา รัฐบาลได้มีการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนวาระดังกล่าวในหลายด้าน เช่น การรณรงค์ให้ใช้เรือและเครื่องมือประมงที่ถูกกฎหมาย การจัดทำแผนงานส่งเสริมการทำประมงพื้นบ้าน การรณรงค์งดเว้นการจับสัตว์น้ำในฤดูวางไข่และสัตว์น้ำที่ยังมีขนาดเล็ก รวมถึงไม่ใช้แรงงานที่ผิดหลักมนุษยธรรม

นอกจากนี้ ในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมคณะทำงานมหาสมุทรและการประมงครั้งที่ 19 (19th Meeting of APEC Ocean and Fisheries Working Group: OFWG) ซึ่งเป็นการประชุมผ่านระบบประชุมออนไลน์ ระหว่างวันที่ 17 - 18 สิงหาคม 2565 ณ ห้องประชุมตะพัดทอง กรมประมง เป็นโอกาสที่ไทยจะได้พิจารณากลั่นกรองและร่วมส่งเสริมโครงการต่าง ๆ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล การประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การต่อต้านการประมงผิดกฎหมาย และการจัดการขยะทะเล รวมทั้งผลักดันให้สมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปคร่วมกันให้ความสำคัญกับการทำประมงพื้นบ้าน การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำรายย่อย การต่อต้านประมงผิดกฎหมาย รวมถึงการจัดการขยะทะเล เพื่อมุ่งไปสู่ความยั่งยืนของทรัพยากรและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยขอบเขตดำเนินงานของคณะทำงาน OFWG ในปีนี้ มีทั้งหมด 10 ด้าน ได้แก่

1) การส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ทั้งในแง่การใช้ทรัพยากรประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และระบบนิเวศทางมหาสมุทรอย่างยั่งยืน รวมถึงการดำเนินการตามแผนปฏิบัติงานแผนที่ขั้นตอนดำเนินการการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย (APEC Roadmap on Combatting Illegal, Unreported, and Unregulated (IUU) Fishing) และแผนที่ขั้นตอนดำเนินการการจัดการขยะทะเล (APEC Roadmap on Marine Debris) ของสมาชิกเอเปคภายใต้คณะทำงาน OFWG

2) จัดทำแผนการดำเนินงานด้านการทำประมงพื้นบ้านและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำขนาดเล็ก ที่สนับสนุนปีแห่งการเฉลิมฉลองการทำประมงพื้นบ้านและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของ The State of World Fisheries and Aquaculture (SOFIA)

3) การเสริมสร้างความเข้าใจด้านระบบนิเวศทางทะเลและการจัดการพื้นที่ทางทะเล (Marine Spatial Planning) และส่งเสริมการดำเนินงานที่สนับสนุนเศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue Economy)

4) การเสริมสร้างความเข้าใจต่อภาวะโลกร้อนที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล รวมทั้งการทำประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

5) การเสริมสร้างความเข้าใจเรื่องภัยธรรมชาติที่มีผลกระทบต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำห่วงโซ่อาหารในทะเล และส่งเสริมการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบของภัยพิบัติที่มีต่อชุมชนชายฝั่ง

6) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนกับคณะทำงาน OFWG

7) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างคณะทำงาน (Cross Fora Collaboration) เช่น คณะทำงานหุ้นส่วนเชิงนโยบายด้านความมั่นคงทางอาหาร (Policy Partnership on Food Security: PPFS) คณะอนุกรรมการด้านพิธีการศุลกากรเอเปค (Sub - Committee on Customs Procedures: SCCP) รวมถึงการสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศและแผนที่ขั้นตอนดำเนินการการส่งเสริมบทบาทสตรีในเอเปค (APEC La Serena Roadmap)

8) แผนการดำเนินงานที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูหลังการระบาดของโควิด-19 ที่สอดคล้องกับความยั่งยืนทางทะเล

9) การส่งเสริมความร่วมมือของคณะทำงาน OFWG และศูนย์เอเปค 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์การศึกษาและอบรมสิ่งแวดล้อมทางทะเล (APEC Marine Environmental Training and Education Center: AMTEC) ศูนย์การพัฒนาทางทะเลอย่างยั่งยืน (APEC Marine Sustainable Development Center: AMSDC) และศูนย์ข้อมูลข่าวสารทางมหาสมุทรและประมง (APEC Ocean and Fisheries Information Center: AOFIC)

10) ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำความร่วมมือทางวิชาการเพื่อเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรในเอเปค ทั้งในแบบที่ขอทุนสนับสนุนจากเอเปค (APEC Fund) และไม่ขอทุนสนับสนุนจากเอเปค (Self - Funded)

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผู้นำเอเปคร่วมรับรอง เป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG ปิดฉาก APEC 2022 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพอย่างงดงาม

ระหว่างวันที่ 18 - 19 พฤศจิกายน 2565 ได้มีการจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 โดยในวันที่ 18 พฤศจิกายน เป็นการประชุมช่วงที่ 1 ในหัวข้อ “การเติบโตที่สมดุล ครอบคลุม และยั่งยืน”

ผู้นำเอเปคร่วมรับรอง เป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG ปิดฉาก APEC 2022 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพอย่างงดงาม

ระหว่างวันที่ 18 - 19 พฤศจิกายน 2565 ได้มีการจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 โดยในวันที่ 18 พฤศจิกายน เป็นการประชุมช่วงที่ 1 ในหัวข้อ “การเติบโตที่สมดุล ครอบคลุม และยั่งยืน”

เปิดกว้าง สร้างโอกาสให้กับทุก ๆ คน

แรงงาน คือ ฟันเฟืองชิ้นสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ การเปิดโอกาสในการประกอบอาชีพให้แก่แรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวจึงเป็นประเด็นที่ไทยให้การสนับสนุนมาตลอด

เปิดกว้าง สร้างโอกาสให้กับทุก ๆ คน

แรงงาน คือ ฟันเฟืองชิ้นสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ การเปิดโอกาสในการประกอบอาชีพให้แก่แรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวจึงเป็นประเด็นที่ไทยให้การสนับสนุนมาตลอด

ไทยเปิดฉากการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปกครั้งสุดท้ายสานต่อประเด็นการค้าการลงทุนและการเดินทางอย่างไร้รอยต่อ

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2565 ไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปกครั้งสุดท้าย (APEC Concluding Senior Officials’ Meeting: CSOM) ถือเป็นการเริ่มต้นสัปดาห์การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคอย่างเป็นทางการ

เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล

การประชุม APEC 2022 ถือเป็นโอกาสสำคัญที่ไทยจะมีบทบาทในฐานะเจ้าภาพ และผู้นำการประชุม ซึ่งไทยพร้อมแล้วที่จะส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง 21 เขตเศรษฐกิจ เพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง