ศาลรธน.มติเอกฉันท์ ไม่รับคำร้อง “ปกรณ์วุฒิ” ปม “ศักดิ์สยาม” เสนองบปี 64 เป็นประโยชน์ต่อ หจก.บุรีเจริญ ชี้ไม่เข้าเงื่อนไขเหตุไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณางบในสภา
31 มี.ค.2566 - ศาลรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาคดี ที่นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวม 47 คน (ผู้ร้อง) ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ยื่นคำร้องเสนอความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 วรรคสาม กรณีที่ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม (ผู้ถูกร้อง) เป็นผู้เสนองบประมาณของกระทรวงคมนาคม ผู้พิจารณา และคณะกรรมาธิการ ที่มีส่วนโดยทางตรงและทางอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และยังคงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัด บุรีเจริญ คอนสตรัคชั่น ที่อยู่ในความครอบครองหรือดูแลของบุคคลอื่น กรณีดังกล่าวน่าเชื่อได้ว่าผู้ถูกร้องใช้สถานะการเป็น รมว.คมนาคมและกรรมาธิการ ใช้อำนาจในตำแหน่งดังกล่าวจัดทำหรือให้ความเห็นชอบโครงการใด ๆ ของหน่วยงานของรัฐ โดยมีเจตนาพิเศษส่งผลทำให้หจก.ฯ และบริษัทที่บริจาคเงินให้กับพรรคภูมิใจไทยรับงานเข้าเป็นคู่สัญญากับกระทรวงคมนาคม อันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 วรรคสอง
โดยผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องแล้วเห็นว่า การยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 วรรคสาม ต้องอยู่ในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณของสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่และอำนาจในการตรวจสอบระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และคณะกรรมาธิการ เสนอ แปรญัตติ หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันมีส่วนไม่ว่า โดยทางตรงหรือทางอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่าย หรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ได้รับการพิจารณาเสร็จสิ้น และเป็นกฎหมายใช้บังคับแล้ว กรณีไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 วรรคสาม ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 7 (7) ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศาลรธน. นัดชี้ชะตา 'สมชาย เล่งหลัก' พ้น สว.
ศาลรัฐธรรมนูญ เตรียมออกนั่งบัลลังค์ อ่านคำวินิจฉัย ในคดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ส่งเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 ว่าสมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาของนายสมชาย เล่งหลัก สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 111 (4)ประกอบมาตรา 108 ข.ลักษณะต้องห้าม (1) และมาตรา 38 (5) หรือไม่
ฝ่ายค้านต่อรองได้! ถล่มอิ๊งค์เพิ่มอีก 1 ชั่วโมงรวม 28 ชม.
'วิปฝ่ายค้าน-รัฐบาล' เคาะสูตรซักฟอก 28+7 อภิปราย 24-25 มี.ค. ลงมติ 26 มี.ค. วันแรกส่อเลิกตีห้าครึ่ง ขณะที่หากเวลา-ขุนพลถล่ม 'นายกฯ อิ๊งค์' ฝ่ายค้านยังไม่หมดอาจลากต่อและเลื่อนลงมติเป็น 27 มี.ค.
เริ่มถกเวลาซักฟอกแล้วรัฐบาลมัดมือชกให้ 23 ชม.
'วิปฝ่ายค้าน-รัฐบาล' เริ่มถก เวลาซักฟอก รบ.ยันสูตร 23+7 บอกถอยให้สุดแล้ว มากกว่านี้คงไม่ได้ ด้าน 'ปกรณ์วุฒิ' ลั่นกำหนดแบบนี้ไม่ยุติธรรม
'วิโรจน์' ซัดสภาเป็นโรงลิเก หลอกต้มประชาชน ส่งศาลตีความเตะถ่วงแก้รธน.
นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ อภิปรายว่า วันนี้ต้องเล่าเรื่องเก่าให้เห็นเส้นเรื่องว่า การยื้อแก้รัฐธรรมนูญนั้น ไม่เกิดประโยชน์ ถ้าเราจำกันได้ หลังรัฐประหาร ปี 2557 สส.จำนวนมากมายหลายพรรคมีท่าทีแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านกลไกของสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)
โหวต 2 ตุลาการศาลรธน. สิริพรรณ-ชาตรี ลุ้นฝ่าด่าน สว.สีน้ำเงิน
การประชุมวุฒิสภาวันอังคารที่ 18 มีนาคม มีวาระการประชุมที่น่าสนใจคือ การโหวต
แก้รธน. ส่อระอุอีก 'สว.' บี้ 'ศาลรธน.' ไม่มีเหตุไม่รับคำร้อง ตีความประชามติ
จี้ให้ส่งคำตอบโดยเร็วภายในหนึ่งสัปดาห์ หากจันทร์นี้ รัฐสภาลงมติส่งคำร้องให้ศาลรธน.ตอบมาให้ชัด แก้ 256 ตั้งสภาร่างรธน. โดยไม่ต้องทำประชามติก่อนได้หรือไม่