‘หมอยง’ มีคำตอบ! โควิด-19 เริ่มเพิ่มสูง ควรฉีดวัคซีนหรือไม่

23 เม.ย.2566-ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเรื่อง “โควิด 19  ควรฉีดวัคซีนหรือไม่ เป็นคำถามบ่อย” ระบุว่า สถานการณ์ชั่วโควิด 19 มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ขณะนี้เข้าปีที่ 4  เริ่มต้น ความรุนแรงของโรคสูง จึงจัดว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรง เราแย่งหาว่าวัคซีน ต่อมาเมื่อความรุนแรงของโรคลดลง ในอีก 2 ปีต่อมาก็เปลี่ยนเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง และในปัจจุบันนี้โควิด 19 ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นโรคประจำฤดูกาล

การให้วัคซีนก็ปรับเป็นการให้วัคซีนแบบโรคประจำฤดูกาล จะให้ก่อนเข้าสู่ฤดูกาลของโรค และจะปรับเป็นปีละครั้งเช่นเดียวกันกับไข้หวัดใหญ่ ฤดูกาลของโรคที่จะมีการระบาดเพิ่มสูงขึ้น ในแต่ละประเทศจะไม่เหมือนกัน เช่นซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ ที่มีฤดูหนาว การระบาดของโรคก็จะเกิดขึ้นในฤดูหนาว ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น ถึงแม้ว่าจะอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร แต่ก็ไม่มีฤดูหนาวที่แท้จริง มีร้อนมาก กับร้อนน้อย การระบาดของโรคในประเทศไทยจึงพบได้ตลอดปี แต่จะพบสูงสุดในต้นฤดูฝน หรือการเปิดเทอมแรกของนักเรียน

วัคซีนไม่สามารถป้องกันการติดโรคได้เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่ แต่สามารถลดความรุนแรงของโรคได้ การให้วัคซีนจึงมุ่งเน้นในกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเปราะบาง 608 ผู้คนที่อยู่หนาแน่นเช่นในเรือนจำ เรือนทหาร และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีแนวโน้มที่จะเสี่ยงติดทั้งโรคง่าย ควรให้ตามฤดูกาลปีละ 1 ครั้ง

เวลาที่เหมาะสมในการให้วัคซีนสำหรับประเทศไทยก็คือก่อนที่จะมีการระบาดของโรคที่จะเกิดขึ้นในการเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป ดังนั้นเวลาที่ให้วัคซีนที่เหมาะสมประจำปีจึงเป็นปลายเดือนเมษายน พฤษภาคม ของทุกปี

ดังนั้นผู้ที่ได้รับวัคซีนมานานแล้วเกินกว่า 3-6 เดือนขึ้นไป และอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรให้วัคซีนประจำฤดูกาลปีละ 1 ครั้ง ในปีนี้สามารถเริ่มให้ได้เลยก่อนที่จะมีการระบาดของโรค โดยใช้สายพันธุ์ที่ใกล้เคียงที่สุดที่มีอยู่ แล้วค่อยไปให้ปีหน้าอีก 1 ครั้ง ทุกอย่างก็จะคล้ายกับไข้หวัดใหญ่

ในคนปกติก็ขึ้นอยู่กับความสมัครใจเช่นเดียวกันกับไข้หวัดใหญ่ แต่ผู้ที่จะได้ประโยชน์สูงสุดคือกลุ่มเปราะบางดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เพื่อลดความรุนแรงของโรค

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘หมอมนูญ’ เผยผลติดตามสถานการณ์ 5 โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

ข้อมูลของโรงพยาบาลวิชัยยุทธที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่  ไรโนไวรัส (Rhinovirus) อาร์เอสวี (RSV) และ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human metapneumovirus (hMPV)

‘หมอยง’ ชี้แบคทีเรียกินเนื้อ ไม่ใช่โรคใหม่ ส่วนใหญ่เกิดกับผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ

แบคทีเรียกินเนื้อ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด ไม่ใช่โรคใหม่ ส่วนใหญ่เกิดกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ

‘หมอยง’ ย้ำโควิดยังสายพันธุ์โอมิครอน JN.1 ไม่รุนแรง หายไข้-ไอมาก 1 วัน ใส่แมสทำงานได้

โควิด 19 ได้เปลี่ยนแปลงลดความรุนแรงลง จนปัจจุบันความรุนแรงเท่ากับโรคไข้หวัดใหญ่ RSVและเป็นการระบาดตามฤดูกาล

อาจารย์หมอ วิเคราะห์การระบาดโควิด มาจาก โอมิครอน สายพันธุ์ JN.1 เป็นหลัก

แม้ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ไทยจะเป็นขาลง แต่จำนวนคนที่ติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันยังมีจำนวนไม่น้อย จึงควรใช้ชีวิตโดยไม่ประมาท

อาจารย์หมอจุฬาฯ วิเคราะห์การระบาดโควิดไทย อยู่ในช่วง ’ขาลง’

ตัวเลขสัปดาห์ล่าสุด 25 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2024 จำนวนผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล 462 ราย เสียชีวิต 2 ราย ปอดอักเสบ 263 ราย และใส่ท่อช่วยหายใจ 91 ราย