'โอไมครอน' จะเล่นงานคนทุกผิวสี เสมอภาคกัน และอาจแทนที่ 'เดลต้า' ในไม่ช้า

‘โอไมครอน’จะสามารถแพร่ระบาดเป็นวงกว้างในคนผิวดำในทวีปแอฟริกา และจะกระจายต่อไปทั่วโลก เล่นงานครั้งนี้ทุกคน ทั้งคนผิวขาว คนเอเซีย คนผิวดำ เสมอภาคกัน และอาจจะแทนที่สายพันธุ์เดลต้าในไม่ช้า

3 ธ.ค.2564- นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC ว่า เมื่อ 3 เดือนที่แล้วก่อนหน้าที่จะมีการค้นพบเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron)ในประเทศแอฟริกาใต้ นักวิทยาศาสตร์ยังแปลกใจ ทำไมคนผิวดำ 1,300 ล้านคนในทวีปแอฟริกามีอะไรดีหรือ ถึงได้ติดเชื้อไวรัสโควิดน้อย ไม่ติดกันในวงกว้างเหมือนกับคนในทวีปอเมริกา ยุโรป และเอเชีย ถึงแม้จะได้รับการฉีดวัคซีนน้อยมาก และมีการแพร่ระบาดของสายพันธุ์เดลต้าในทวีปแอฟริกาแล้วก็ตาม เหตุผลสำคัญผมสันนิษฐานว่า เนื่องจากคนผิวดำมีลักษณะทางพันธุกรรมต่างจากคนผิวขาวและคนเอเซีย ทำให้เชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ละสายพันธุ์เล่นงานคนต่างเผ่าพันธุ์ไม่เหมือนกัน

ถ้ามองย้อนหลังเมื่อปีที่แล้ว เมื่อมีการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ D614G และสายพันธุ์อื่นๆเช่นสายพันธุ์แอลฟาที่เกิดขึ้นในคนผิวขาวในทวีปยุโรป คนไทยและคนในประเทศอาเซียน ติดเชื้อไวรัสน้อย เชื้อนี้ไม่สามารถจะแพร่ระบาดเป็นวงกว้างในคนเอเซียได้ มีคนตั้งคำถามเหมือนกันว่า อาจเป็นเพราะคนเอเชียฉีดวัคซีนบี.ซี.จี.ป้องกันวัณโรคหรือเปล่า ขณะที่คนอเมริกันและคนในยุโรปตะวันตกไม่ฉีด ต้องรอให้สายพันธุ์เดลต้าเกิดขึ้นในคนอินเดีย เชื้อสายพันธุ์เดลต้าจึงสามารถระบาดได้ทั้งคนผิวขาวและคนเอเซีย แต่คนผิวดำในทวีปแอฟริกาก็ยังพบไม่มาก

เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาสายพันธุ์ใหม่ที่มีการกลายพันธุ์หลายตำแหน่งของยีนมากที่สุดทำให้เกิดการได้เปรียบกว่าสายพันธุ์เดิม ตั้งชื่อว่าสายพันธุ์โอมิครอน เกิดขึ้นในคนผิวดำประเทศบอตสวานา แล้วแพร่กระจายมาประเทศแอฟริกาใต้ ขณะนี้จำนวนผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนเพิ่มขึ้นแซงหน้าสายพันธ์เดลต้าในประเทศแอฟริกาใต้แล้ว ผมเชื่อว่าสายพันธุ์โอมิครอนจากนี้ไป จะสามารถแพร่ระบาดเป็นวงกว้างในคนผิวดำในทวีปแอฟริกา และจะกระจายต่อไปทั่วโลก เล่นงานครั้งนี้ทุกคน ทั้งคนผิวขาว คนเอเซีย คนผิวดำ เสมอภาคกัน และอาจจะแทนที่สายพันธุ์เดลต้าในไม่ช้า.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 150 ราย ดับ 6 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 19 – 25 มี.ค. 2566 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 150 ราย

'หมอยง' ชี้ ATK ไม่จำเป็นต้องตรวจในคนปกติ

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า

ผลวิจัยพบ 'โควิด' ส่งผลกระทบสมองและความจำ

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว "Thira Woratanarat" เปิดเผยว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 64,067 คน ตายเพิ่ม 294 คน รวมแล้วติดไป 681,473,367 คน เสียชีวิตรวม 6,811,653 คน

จับตา! ไข้หวัดใหญ่ H3N2 สายพันธุ์อินเดีย

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ทำไมเมื่อจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ในอินเดียลดลง จำนวนผู้ป่วยไวรัสไข้หวัดใหญ่ “H3N2”