“ปีนี้ส้มโอของเราให้ผลผลิตเยอะมาก แต่เรายังติดขัดในเรื่องการขนส่งและจำหน่าย ด้วยสถานการณ์โควิดเข้ามา แต่โชคดีที่ชุมชนดีมีรอยยิ้มเข้ามาช่วยเหลือ ทำให้เราขายได้เยอะขึ้นมากเลย”

นี่คือเสียงแห่งความยินดีของนางอัมพร สวัสดิ์สุข ประธานกลุ่มผู้ผลิตส้มโอบ้านบางดุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นชุมชนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลกระทบอย่างมากต่อภาคการเกษตร โดยเฉพาะด้านช่องทางการจำหน่าย การขนส่ง บางพื้นที่ระบบขนส่งเป็นอัมพาต คนนอกเข้าชุมชนไม่ได้ ไปรับสินค้ามาขายไม่ได้ ชุมชนเองออกไปขายที่ตลาดไม่ได้ แถมตลาดที่เป็นแหล่งระบายสินค้า ถูกสั่งปิด สินค้าที่ได้รับกระทบนอกจากผลไม้ตามฤดูกาลแล้ว ยังมีอาหารแปรรูป และอาหารทะเลสด

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางสถานการณ์ดังกล่าว โครงการไทยเบฟ...ร่วมสร้างชุมชนดีมีรอยยิ้ม ภายใต้ โครงการพัฒนาชุมชน โดย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กลับมองเห็นเป็นโอกาสที่จะให้ความช่วยเหลือชุมชนที่เป็นพื้นที่ดำเนินงานที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และด้วยประสบการณ์ที่ทำงานร่วมกับชุมชนมาอย่างต่อเนื่องจึงพยายามหาหนทางช่วยเหลือชุมชน หรือเกษตรกรชาวสวน ชาวไร่ ที่ปลูกผลไม้นานาชนิด
ด้วยความร่วมมือร่วมใจของเจ้าหน้าที่พัฒนาธุรกิจชุมชนที่ประจำแต่ละจังหวัดและพนักงานของบริษัทที่อยู่ส่วนกลาง ที่มีใจพร้อมจะพลิกวิกฤติ และสร้างสรรค์การเรียนรู้ร่วมกับชุมชน จึงเริ่มสำรวจรวบรวมข้อมูลสินค้าจากชุมชนที่ได้รับความเดือดร้อน และพัฒนาช่องทางจำหน่ายในรูปแบบตลาดออนไลน์ พร้อมค้นหาเครื่องมือเพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขาย คือ LINE@ร้านชุมชนดีมีรอยยิ้ม

ซึ่งที่ผ่านมาโครงการฯได้ช่วยเพิ่มช่องทางการจำหน่ายมะม่วงแดงจักรพรรดิ์ จากจังหวัดเชียงใหม่ มะม่วงน้ำดอกไม้ จากจังหวัดอุดรธานีและน่าน ลำไย จากเชียงใหม่และน่าน มังคุด ทุเรียน ลองกอง จากจังหวัดจันทบุรี ส้มโอทับทิมสยาม มังคุด จากจังหวัดนครศรีธรรมราช เงาะโรงเรียน จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี อาหารแปรรูป เช่น ปลาร้าบองสมุนไพร หมูแดดเดียว จากกาฬสินธุ์ ทุเรียนทอด จากจันทบุรี และสินค้าอาหารทะเลสด เช่น หมึก ปูม้า ปลิงทะเล จากจังหวัดกระบี่

ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของทุกหน่วยงานทำให้ชุมชนมีรายได้รวม 1,553,941 บาท จากการขายผลไม้ตามฤดูกาล อาหารแปรรูป และสินค้าอาหารทะเลสด มีผู้ได้รับประโยชน์ 842 ราย จาก 19 ชุมชน

การเปิดตลาดออนไลน์ยังนำพาความสุขและรอยยิ้มให้กลับคืนสู่ชุมชน เกิดการเรียนรู้ระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้าให้ถึงมือผู้บริโภคได้อย่างครบถ้วน รวดเร็ว โดยลูกค้าส่วนใหญ่ที่สั่งซื้อสินค้าแล้วได้ลองชิมรสชาติผลไม้ และอาหารแปรรูป ต่างบอกกันเป็นเสียงเดียวว่า ได้รับของที่มีคุณภาพ สด สะอาด ปลอดภัย รสชาติอร่อย มีความพึงพอใจเป็นอย่างมาก และยังรู้สึกดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือชุมชน ช่วยชาวบ้าน

ไทยเบฟยังคงมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่และรายได้ของชุมชน พร้อมเคียงข้างให้ความช่วยเหลือและส่งกำลังใจให้ก้าวข้ามช่วงเวลาวิกฤตครั้งนี้ ให้ผ่านพ้นไปได้ ภายใต้คำกล่าวที่ว่า ไทยเบฟ…อยู่กับคุณทุกช่วงเวลา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พช. จับมือช้อปปี้ เดินหน้าจัดแคมเปญ “OTOP Amazing Grand Sale” หนุน “โครงการตลาดอะเมซิ่ง ของกินของใช้” ผลักดันผู้ประกอบการสร้างรายได้ตลาดออนไลน์
พช. ชู “โครงการตลาดอะเมซิ่ง ของกินของใช้” หนุนผู้ประกอบการ OTOP ขายออนไลน์ จับมือ Shopee เดินหน้าจัดแคมเปญ “OTOP Amazing Grand Sale” คัดสรรผู้ประกอบการเข้าร่วมต่อเนื่องกว่า 1,000 ร้านค้า พร้อมเชิญชวนประชาชนร่วมอุดหนุนสินค้า OTOP จากทั่วประเทศ พลิกฟื้นสร้างรายได้
ธนาคารน้ำใต้ดิน ทางเลือกการออมน้ำ สร้างสรรค์คุณค่า สร้างรอยยิ้มชุมชน
ตลอดระยะเวลาในการทำงานของโครงการพัฒนาชุมชน บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ภายใต้โครงการ ไทยเบฟ..ร่วมสร้างชุมชนดีมีรอยยิ้ม
‘บ้านพุน้ำร้อน’ ต้นแบบพัฒนาคน สร้างชุมชนยั่งยืน
เกษตรกรรมเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจของชุมชนที่หล่อเลี้ยงปากท้องชาวบ้าน แต่เกษตรกรไทยยังต้องเป็นหนี้สินจากการทำเกษตร
ยกระดับวิถีคน วิถีป่าชุมชน ‘บ้านต้นตาล’ สร้างชุมชนเข้มแข็ง
ผืนป่าชุมชนกว่า 578 ไร่ ชาวบ้าน บ้านต้นตาล ต.จอเบาะ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส มีกฎกติการ่วมกันดูแลรักษา เอาชีวิตเข้ามาปกป้อง ไปดับไฟป่า
เปิดโมเดล”ชุมชนดีมีรอยยิ้มยางตลาด” พัฒนาผ้าทอครบวงจร เงินสะพัดชุมชน
ใครว่ามีแต่คนรุ่นใหม่ๆ ที่ทำงานเก่ง เพราะมีตัวอย่างชาวบ้านที่บ้านโนนชาด ต.หนองอิเฒ่า อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ โดยเฉพาะสตรีสูงวัยก็พัฒนาชุมชนเก่งไม่แพ้กัน
ชุมชนดีมีรอยยิ้มพระนครศรีอยุธยา ต้นแบบ"บวร"สร้างสรรค์ พัฒนา
เคยมีคำถามว่า การที่จะพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งนั้น ต้องทำอย่างไร ต้องอาศัยปัจจัยใด หรือรูปแบบใด จึงจะทำให้ผลสำเร็จได้