‘ส.ว.สมชาย’ ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงนายกฯ เสนอแก้ปัญหาลดหย่อนโทษคดีคอร์รัปชันจำนำข้าว

สมชาย แสวงการ

‘ส.ว.สมชาย’ ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงนายกฯ -ครม.-ศาล-ปปช. เสนอการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการบริหารจัดการและข้อกฎหมาย ที่ทำให้เกิดการลดหย่อนโทษในคดีคอร์รัปชันที่มีปัญหาและสังคมตั้งข้อสงสัย โดยเฉพาะคดีทุจริตสำคัญร้ายแรงทุจริตจำนำข้าว

12 ธ.ค.2564-นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา ประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ทำจดหมายเปิดผนึกส่งถึงนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี ศาลยุติธรรม คณะกรรมการป.ป.ช องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน และพี่น้องประชาชนคนไทยที่รักความเป็นธรรม เรื่องข้อเสนอการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการบริหารจัดการและข้อกฎหมาย ที่ทำให้เกิดการลดหย่อนโทษในคดีคอร์รัปชันที่มีปัญหาและสังคมตั้งข้อสงสัย โดยเฉพาะคดีทุจริตสำคัญร้ายแรงทุจริตจำนำข้าว

จดหมายระบุว่า แบ่งแนวทางการแก้ไขเป็น3 ระยะดังนี้ 1.แนวทางเร่งด่วน นายกรัฐมนตรีควรสั่งให้ตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ที่สังคมให้ความเชื่อถือ โดยอย่างน้อยต้องมีผู้แทน จากกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม กรรมการอัยการ กรรมการปปช.  องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน ผู้แทนสื่อมวลชนฯลฯ  ร่วมดำเนินการตรวจสอบให้แล้วเสร็จใน30วัน ระหว่างนี้ให้ชะลอการบังคับใช้การลดหย่อนโทษดังกล่าวออกไประยะหนึ่งก่อน โดยกรรมการควรมีหน้าที่ตรวจสอบอย่างน้อยดังนี้

1)ตรวจสอบกฎกติกาและกระบวนการเลื่อนชั้นนักโทษที่มีรายชื่อเข้าเกณฑ์ลดโทษในคดีร้ายแรงสำคัญเป็นพิเศษ เช่นเดียวกับคดีนักค้ายาเสพติดรายใหญ่ร้ายแรง คดีฆ่าคนตายที่มีโทษประหารชีวิต คดีฆ่าข่มขืนที่เป็นภัยสังคมร้ายแรง คดีค้ามนุษย์ ฯลฯ ที่เดิมมีนโยบายไม่ลดโทษแบบคดีทั่วไป เพราะคดีทุจริตโกงจำนำข้าวเป็นคดีพิเศษร้ายแรงสำคัญ  ไม่ควรอยู่ในเกณฑ์ลดโทษเช่นคดีปกติทั่วไป 2)เร่งตรวจสอบกระบวนการภายในของกรมราชทัณฑ์  ในการใช้ดุลยพินิจทุกขั้นตอนของผู้เกี่ยวข้องทั้งผู้บัญชาการเรือนจำ อธิบดี และคณะกรรมการราชทัณฑ์ ในการพิจารณาเลื่อนชั้นนักโทษเด็ดขาดเป็นชั้นดี ชั้นเยี่ยมอย่างต่อเนื่อง ว่ามีเหตุต้องสงสัยหรือไม่ ที่อาจมุ่งให้เฉพาะนักโทษเด็ดขาดบางคน มีคุณสมบัติเข้าเกณฑ์ได้รับสิทธิพิเศษต่อเนื่อง เพื่อรอเวลาพระราชทานอภัยโทษตามห้วงเวลาสำคัญประจำปี โดยอ้างว่าทำถูกกฎหมายและระเบียบหรือไม่

3)ถ้าพบปัญหาจากข้อ1)และข้อ2)เป็นรายบุคคลให้นำเสนอแนวทางแก้ไขเฉพาะรายหรือเฉพาะคดี หากเป็นปัญหาข้อกฎหมายให้เสนอแก้ไขกฎหมายหรือกฎกระทรวงหรือระเบียบ และ4)ให้แก้ไขนำหลักเกณฑ์การขอพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2559 กลับมาใช้เป็นเกณฑ์

2.แนวทางระยะกลาง 1)ครม./ ส.ส. /ประชาชน ยื่นเสนอแก้พระราชบัญญัติราชทัณฑ์2560 มาตรา52และมาตราที่เกี่ยวข้องให้เพิ่มระยะเวลาปลอดภัยแก่สังคม 15-20ปี เมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้มีโทษหนักประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือมีโทษจำคุกในคดีสำคัญพิเศษร้ายแรง ได้แก่ คดีค้ายาเสพติดรายใหญ่ คดีฆาตกรฆ่าข่มขืน คดีทุจริตสำคัญร้ายแรง ฯลฯ ต้องได้รับโทษขังในเรือนจำขั้นต่ำไม่น้อยกว่า15-20 ปี หรืออย่างน้อย1ใน3หรือกึ่งหนึ่งของโทษโดยจะไม่มีการพิจารณาลดโทษ พักโทษ หรือปล่อยตัวก่อนกำหนด เพื่อให้สังคมมั่นใจว่า สังคมจะปลอดภัยจากผู้กระทำผิดร้ายแรง ที่เป็นภัยสังคมจะยังอยู่ในเรือนจำ ในระยะเวลาอย่างน้อย15- 20ปี หรืออย่างน้อย1ใน3หรือกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลมีคำพิพากษา

2)ให้ศาลเข้ามาเป็นผู้พิจารณาและสั่งการลดโทษหรือพักโทษหรือปล่อยนักโทษก่อนกำหนด โดยเฉพาะคดีความผิดภัยสังคมร้ายแรง ที่มีโทษประหารชีวิต โทษจำคุกตลอดชีวิต หรือโทษจำคุกตั้งแต่20ปีขึ้นไป โดยให้กรมราชทัณฑ์ ทำเรื่องขอไปยังศาลให้พิจารณา และเป็นการช่วยคัดกรองการรับโทษอย่างเหมาะสมพอเพียง การปรับปรุงตัว ก่อนที่กรมราชทัณฑ์จะทำเรื่องนำนักโทษคดีสำคัญเหล่านั้น เข้ากระบวนการขอพระราชทานอภัยโทษ ส่วนความผิดต่ำกว่านั้นให้คณะกรรมการราชทัณฑ์ดำเนินการตามกฎหมายเองได้ต่อไป

3)ควรแก้ไขกฎหระทรวงและระเบียบราชทัณฑ์นักโทษคดีสำคัญ ที่เป็นภัยร้ายแรงต่อสังคม ได้แก่นักโทษประหารชีวิต นักโทษจำคุกตลอดชีวิต นักโทษจำคุก20-50ปีขึ้นไป นักโทษคดีทุจริตร้ายแรง หรือนักโทษที่เป็นภัยสังคม เช่นฆ่า ข่มขืน หรือพวกใช้ความรุนแรง ก่อนที่นักโทษเหล่านี้จะได้รับลดโทษการปล่อยตัวจำเป็นต้องมีการประเมินความพร้อม  และต้องจัดให้มีหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่เข้าประเมินร่วมด้วย

3.แนวทางระยะยาว 1)แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา91 เพื่อให้ผู้ต้องทำที่กระทำผิดร้ายแรงหลายกระทงต่างกรรมต่างวาระ เพื่อให้ศาลได้พิพากษาให้นักโทษได้รับการลงโทษจริงมากกว่ามีข้อห้ามจำคุกไว้ไม่เกิน50ปี ตามที่มีข้อจำกัดเดิม 2)เร่งแก้ไขปัญหาคนล้นคุกอย่างจริงจัง ควบคู่มาตรการอื่นๆอย่างจริงจังอาทิ มาตราการค่าปรับแทนจำคุก การบริการทางทางสังคม การบำบัดยาเสพติด การเข้ารับการบำบัดพฤติกรรม การให้คำปรึกษาทางการเงินสำหรับผู้มีหนี้สิน การติดเท็กซ์อิเลคทรอนิคส์ติดตามความเคลื่อนไหวฯลฯ และการให้ประกันตัวผู้ต้องหาแทนการคุมขังระหว่างสู้คดี  3)ควรพิจารณาอนุญาตให้มีโครงการเรือนจำเอกชน และโครงการจัดแยกสถานที่กักขังผู้ต้องหาที่ศาลไม่อนุญาตประกันตัว ออกจากเรือนจำปกติ

ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา กฎหมายประเทศในยุโรปและหลายประเทศสากล เช่น  ฝรั่งเศสได้กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา132 - 23(6) กำหนดว่า คดีที่ศาลพิพากษาให้จำคุกตลอดชีวิต ศาลจะต้องกำหนดมาตราการปลอดภัยให้สังคมคือการห้ามลดโทษ พักโทษหรือปล่อยตัวก่อน18ปี และหากศาลเห็นว่า เป็นผู้กระทำผิด ศาลสามารถกำหนดระยะเวลาปลอดภัยให้สังคมได้18-22ปี ดังนั้นนักโทษร้ายแรงที่ถูกศาลจำคุกตลอดชีวิตหรือโทษหนัก50ปี จะต้องถูกคุมขังในเรือนจำแน่นอนอย่างน้อย18-22ปี โดยไม่รับการปล่อยตัวก่อนกำหนด และเมื่อครบกำหนด18-22ปี ในระยะปลอดภัยของสังคมที่ศาลกำหนดแล้ว ศาลจะเป็นผู้ประเมินการปล่อยตัวเป็นรายๆพร้อมกำหนดเงื่อนไขการปล่อยตัวหรืออาจยังให้ยังขังต่อไปในเรือนจำจนกว่าจะครบกำหนดโทษตามคำพิพากษาหรือมีการเสนอให้ศาลประเมินใหม่

กระบวนการลดโทษ ปล่อยตัวของไทยเป็นระบบปิด โดยฝ่ายบริหารของกรมราชทัณฑ์  และคณะกรรมการราชทัณฑ์ โดยศาลไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องใด ทั้งๆที่กระบวนการยุติธรรมของไทยเริ่มต้นตั้งแต่ชั้นสืบสวนสอบสวนในชั้นตำรวจ ป.ป.ช จนถึงชั้นอัยการในการส่งฟ้องและมีขั้นตอนที่ต้องใช้เวลาพิจารณาคดีนานอย่างหนักทั้งผู้ฟ้องคดี อัยการ โจทก์หรือจำเลย บางคดีต่อสู้กันถึง3ชั้นศาล แต่พอชั้นพักโทษ ลดโทษ หรือปล่อยตัวนักโทษเด็ดขาด ให้คนออกจากคุก กลับไม่มีกระบวนการให้ยุติธรรมแบบเดียวกัน จึงสมควรแก้กฎหมายให้ศาลเป็นผู้พิจารณาพักการลดโทษหรือปล่อยตัวนักโทษคดีสำคัญร้ายแรง คดีอุฉกรรจ์ ที่ส่งผลร้ายต่อสังคม ก่อนที่คณะกรรมการราชทัณฑ์ จะนำเข้าสู่กระบวนลดโทษ พักโทษหรือขอพระราชทานอภัยโทษ ครับ จึงเรียนเสนอมาเพื่อช่วยกันพิจารณาแก้ไขหาทางออกคืนความเป็นธรรมและความยุติธรรมให้กับชาติบ้านเมืองและสังคมไทยครับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'แก้วสรร' ร่อนจม.เปิดผนึกถึง ป.ป.ช.ชี้ช่องสอบการพักโทษทักษิณผิดกฎหมาย!

นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ ได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึงสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.)

จม.เปิดผนึก ฉ.2 ‘สสรท.-สรส.’  จี้ ‘เศรษฐา’ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำตามสัญญา ปชช.

สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย (สสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ทำจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ฉบับที่ 2 เรื่อง การปรับค่าจ้างขั้นต่ำต้องคำนึงถึงความเป็นจริง กติกาสากลและสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน

เครือข่ายสื่อมวลชน ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี ทวงถามนโยบายสังคมและสุขภาพที่เคยจัดเวทีพรรคร่วมรัฐบาลก่อนเลือกตั้ง

เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา เครือข่ายสื่อมวลชนขับเคลื่อนสุขภาวะเพื่อสังคมไทยยั่งยืน ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของสื่อมวลชนจากหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุและสื่อออนไลน์ ได้ลงนามส่งจดหมายเปิดผนึกผ่าน

'ไอซ์ รักชนก' ขอโทษ กทม. ปมเขียนจดหมายเปิดผนึกเรื่อง ชุดลูกเสือ เนตรนารี

นางสาวรักชนก ศรีนอก ว่าที่ ส.ส. กรุงเทพมหานคร เขตบางบอน จอมทอง หนองแขม พรรคก้าวไกล ออกจดหมายเปิดผนึกถึงผู้อำนวยการโรงเรียนในเขต 28 กรุงเทพมหานคร จอมทอง บางบอน หนองแขม เรื่อง "ขอความร่วมมือให้พิจารณายกเว้นการแต่งชุดลูกเสือ เนตรนารี และยุวกาชาด"

'รุ่นพี่เพนกวิน' ออกจดหมายเปิดผนึกถึง 'แบม-ตะวัน-สิทธิโชค' ให้รักษาชีวิตไว้ก่อน!

'เพนกวิน' ออกโรงโพสต์จดหมายเปิดผนึกถึง 'แบม-ตะวัน-สิทธิโชค' ให้รักษาชีวิตไว้ก่อน บอกการต่อสู้ในสังคมบิดเบี้ยวต้องใช้เวลา ออกมาตั้งหลักกันใหม่ผลักดันทุกข้อเรียกร้องให้ลุล่วงถึงฝั่ง