เปิด 6 ข้อเรียกร้อง ม็อบอุเทนถวาย คัดค้านย้ายสถาบัน


27 ก.พ.2567 - ที่บริเวณเชิงสะพานชมัยมรุเชฐ ทำเนียบรัฐบาล กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย , สมาคมศิษย์เก่า และคณะอาจารย์อุเทนถวาย จำนวน 120 คน นำโดย นายทักษิต เรียบร้อย นายกสโมสรนักศึกษา และนายสมชัย ไตรพิทยากุล นายกสมาคมศิษย์เก่าอุเทนถวาย เดินทางมายื่นหนังสือถึง นายกรัฐมนตรีผ่าน นางนลินี มหาขันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องขอคัดค้านการย้าย อุเทนถวายฯ

โดยสโมสรนักศึกษา ได้ยื่นเจตจำนง พร้อมข้อเรียกร้อง ดังนี้ 1. ขอคัดค้านการย้ายเขตพื้นที่การศึกษา เขตพื้นที่อุเทนถวาย ถนนพญาไท หรือ "อุเทนถวาย" ออกจากที่ดินพิพาท ด้วยเหตุผลต่อไปนี้ และขอให้ธำรงตามพระราชประสงค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวไว้ เพื่อใช้เฉพาะกิจการการศึกษาวิชาช่าง โดยมีชื่อ ’อุเทนถวาย‘ ไว้เช่นเดิม

2. พิจารณาจัดตั้งคณะกรรมการ เพื่อสนับสนุนจัดทำร่าง ยกวิทยฐานะส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาที่ดินพระราชทานอันเป็นที่ตั้งของอุเทนถวายฯ ให้มีศักยภาพต้านความพร้อมในการรองรับการพัฒนาสรรพความรู้ และวิทยาการสมัยใหม่ ที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างในยุคปัจจุบัน ให้พร้อมต่อการพัฒนาการทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อันเป็นคุณประโยชน์ต่อประชาชน ประเทศชาติ จนเป็นที่ปรากฏต่อสังคมโลกทั่วไป

3. พิจารณามีคำสั่งให้อุเทนถวายฯ มีสิทธิ์ในการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน และการพัฒนา

สถานที่เพื่อรองรับการศึกษาต่อไปได้, ให้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณแผ่นดิน แต่มีระบบการบริหารจัดการ ที่มีความเป็นเอกเทศ อิสระ และคล่องตัว สามารถจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้อย่างมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการ ซึ่งผ่านการกำกับดูแล และสนับสนุนจากหน่วยงานทางด้านการศึกษาของภาครัฐโดยตรง โดยต้องไม่มีเงื่อนไขให้การพัฒนาสถานศึกษาอุเทนถวายฯ อยู่ภายใต้ภาระผูกพันการอ้างสิทธิหรือกรรมสิทธิ์ที่ดิน จากนิติบุคคล จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย เพื่อสั่งให้ชะลอ หรือระงับได้

4.โดยเหตุที่ดินพิพาทเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน อุทิศให้โดยพระราชประสงค์พระบาทสมเด็จ

พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีเนื้อที่เป็นเศษเสี้ยวส่วนน้อยของที่ดินของนิติบุคคล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่มีเหตุขัดข้องในการหยิบยกแปลความพระราชประสงค์ผิดแผกแตกต่างไปจากประวัติความเป็นมา เพื่อเอาไปเป็นของนิติบุคคล ชาวอุเทนถวายฯ จึงมีความจำเป็น โดยได้ทำการร้องขอความเป็นธรรมให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยในประเด็นนี้ด้วย

อนึ่ง เพื่อบรรเทาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ชาวอุเทนถวายฯ ขอให้ท่านนายกรัฐมนตรี ท่านคณะรัฐมนตรี และท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร รวมถึงหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับระบบการศึกษา ได้โปรดดำเนินการมุ่งเน้นยึดถือประโยชน์การศึกษา ให้เป็นที่ตั้งสำหรับการศึกษาวิชาช่างก่อสร้างเท่านั้น เพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเข้ามายุติปัญหาการนำที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน ที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อการศึกษา อันเป็นที่ตั้ง

โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวายฯ ไปเป็นของนิติบุคคลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งสามารถนำไปใช้เพื่อการพาณิชย์ หรือประโยชน์ส่วนบุคคลใดๆ ด้วยการจดทะเบียนโฉนดที่ดินพิพาทเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันเป็นที่ตั้งสถานศึกษาเท่านั้น และออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง และจัดทำทะเบียนที่ดินสาธารณะประโยชน์ตามแบบที่กฎหมายกำหนด

5.ขอให้ยกเลิกคำสั่ง ระงับคำสั่งหรือไม่ออกคำสั่ง โดยมีใมีการโยกย้ายนักศึกษาอุเทนถวายฯ ไปเรียนที่แห่งอื่น การงดรับนักศึกษาใหม่ รวมทั้งโยกย้ายคณะครู อาจารย์ บุคคลากร และเจ้าหน้าที่ ไปประจำการที่อื่น

6. ขอให้มีการออกหนังสือแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินการ และปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อเรียกร้อง โดยแต่งตั้งคณะกรรมการสามฝ่าย สัดส่วนเท่ากัน มีประธานและคณะกรรมการฝ่ายที่สามมีที่มาจากบุคคลภายนอกที่ไม่มีส่วนได้เสีย หรือคาดหมายได้ว่ามีประโยชน์ได้เสียกับคู่กรณี และระบุกำหนดการแล้วเสร็จอย่างเป็นรูปธรรม

ทั้งนี้ ด้วยความเข้าใจข้อเรียกร้องชาวอุเทนถวายฯ ตามหนังสือนี้ ก่อนใช้อำนาจสั่งการ ดำเนินการ หรือแนวทางใดๆ ในการยุติข้อพิพาท หากท่านนายกรัฐมนตรี เห็นเป็นการสมควร ขอได้โปรดมีหนังสือเชิญประชุมหารือแนวทางเสนอบุคคลฝ่ายคู่กรณี และเสนอประธานและคณะกรรมการฝ่ายที่สาม เพื่อแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินการ และปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อเรียกร้อง เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เขตพื้นที่อุเทนถวายฯ ถนนพญาไท ต่อไป.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นิสิตเก่าจุฬาฯ แนะเรียกร้องค่าเสียหายต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ กรณีดุษฏีบัณฑิตเจ้าปัญหา

นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ในฐานะนิสิตเก่าจุฬาฯ รุ่นปี 2512 โพสต์เฟซบุ๊กว่า ดุษฏีบัณฑิตเจ้าปัญหา

'วิรังรอง' บอกใครเข้าใจผิด โปรดอ่านคำชี้แจง ศาลปกครองไม่เคยมีคำสั่งบังคับคดีอุเทนถวาย

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ และนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 30 โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ศาลปกครองชี้แจงไม่ได้พิพากษาบังคับคดีอุเทนถวาย คำชี้แจงของศาลปกครองชัดเจนนะคะ

'วิรังรอง' ตั้งคำถามถึงอธิการบดีจุฬาฯ หลังได้อ่านความเห็นของ 'อ.เจษฎา-ธงทอง'

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ และนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 30 โพสต์เฟซบุ๊ก โดยเขียนบทความเรื่อง "คำถามเพื่อสัมภาษณ์ท่านอธิการบดีจุฬาฯ กรณีพิพาทจุฬาฯ

'วิรังรอง' ชี้เปรี้ยง 'อุเทนถวาย' รักและปกป้องสถาบัน ตรงข้ามกับนิสิตจุฬาฯส่วนหนึ่ง

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ และนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 30 โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กแสดงความคิดเห็นกรณีย้ายอุเทนถวายว่า ดิฉันอาจคิดไม่เหมือนคนอื่น: จุฬาฯ มีที่ดินพระราชทานนับพันไร่

นิสิตเก่าจุฬาฯ มองปมย้ายอุเทนถวาย ถ้าเราคิดถึงแต่ผลประโยชน์ตัวเงิน จิตใจจะขาดซึ่งคุณธรรม

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ และนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 30 โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กแสดงความคิดเห็นกรณีย้ายอุเทนถวายว่า ถ้าคิดถึงพระราชประสงค์ของล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ก็รู้สึกเห็นใจน้องๆ