'เทพมนตรี' เปิดข้อสงสัยพระราชหัตถเลขา ร.7 สละราชสมบัติ

26 มี.ค.2567- นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และนักเทววิทยา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thepmontri Limpaphayorm หัวข้อ ข้อสงสัยพระราชหัตถเลขา สละราชสมบัติ ฉบับคำแปลจากภาษาอังกฤษและฉบับตัวเขียนด้วยลายพระหัตถ์

ทุกวันนี้บนสื่อโซเชียลและสถาบันการการศึกษาที่เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวยังอ้างอิงและใช้พระราชหัตถเลขาทรงสละราชสมบัติ ซึ่งมีสองลักษณะ คือลักษณะที่เป็นตัวพิมพ์จากคำแปลภาษาอังกฤษและฉบับตัวเขียนด้วยลายพระหัตถ์

แท้ที่จริงแล้วพระราชหัตถเลขาทรงสละราชสมบัติ ฉบับลงวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2477 เวลา 13.45 น. น่าจะทรงเขียนขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ โดยตามประวัติของพระราชหัตถเลขาฉบับนี้ ทรงเคยพระราชทานแก่เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ ประธานสภาผู้แทนราษฎรและผู้แทนรัฐบาล แต่ปรากฏว่าเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ ไม่ยอมรับพระราชหัตถเลขา อ้างว่าไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลให้รับเพราะเหตุดังนั้นจึงได้เชิญพระราชเลขาไปมอบให้แก่อัครราชทูตสยามซึ่งประจำกรุงลอนดอนในฐานะที่เป็นผู้แทนรัฐบาลตามทางราชการต่อไป

อย่างไรก็ดีพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้มีโทรเลขไป กำชับเจ้าพระยาศรีธรรมมาธิเบศให้รับลายพระราชหัตถเลขาสละราชสมบัตินั้นไว้ในวันนั้นนั่นเอง และกำชับว่าให้รีบส่งมายังกรุงเทพและขอให้เจ้าพระยาศรีธรรมมาธิเบศ เดินทางกลับมาโดยด่วน

อย่างไรก็ดีการแปลนั้นเกิดขึ้นในช่วงวันที่2-3 มีนาคมพ.ศ. 2477 และในวันที่ 4 มีนาคมพ.ศ. 2477 สถานทูตสยามณกรุงลอนดอนได้จัดทำคำแปลพระราชเลขามาโดยละเอียด ส่งไปยังรัฐบาลทางโทรเลขผ่านสมเด็จ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัตติวงศ์ เพื่อแจ้งความถึง พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี

บนข้อความ มีการเขียนว่า

“อนุสนธิในโทรเลขลงวันที่ 3 มีนาคม ข้าพเจ้าขอเสนอข้อความในพระราชหัตถเลขา ทรงสละราชสมบัติโดยละเอียดดังต่อไปนี้”

ผู้เขียนจึงได้ลงเอกสารหลักฐานสำคัญว่าด้วยเรื่องนี้มาให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณาและโปรดสังเกตว่าข้อความที่ปรากฏอยู่ใน พระราชหัตถเลขา ทรงสละราชสมบัติมีความคล้ายคลึงเหมือนกับ ลายพระราชหัตถเลขา ทรงเขียนด้วยลายพระหัตถ์ ซึ่งแพร่หลายโดยทั่วไป

อย่างไรก็ตามสำหรับสิ่งที่แตกต่างกันไปก็คือการลงวันที่ และรอยขีดค่า ในฉบับที่ทรงเขียนด้วยลายพระหัตถ์ มีการลงวันที่และมีรอยขีดค่าที่เวลา

กล่าวคือฉบับแปลความจากภาษาอังกฤษปรากฏท้ายพระปรมาภิไธยประชาธิปก ลงวันวันเสาร์ที่ 2 มีนาคมพ.ศ. 2477 เวลา 13:45 น. ครบสมบูรณ์กว่า

อีกทั้งท้ายคำแปล ยังมีข้อความระบุว่า

“ คำแปลข้างบนนี้ได้กระทำในระยะเวลาอันสั้นมาก สำเนาพระราชหัตถเลขาทรงสละราชสมบัตินี้ จะได้ส่งมาทางไปรษณีย์ ส่วนต้นฉบับนั้นจะให้ข้าพเจ้านำมากรุงเทพหรือจะให้ส่งทางไปรษณีย์ ลงนาม ศรีธรรมาฯ“

ข้อสังเกตดังกล่าวไม่ได้มีเจตนาที่จะกล่าวว่ามีผู้ใดแอบไปเขียนลอกเลียนลายพระราชหัตถเลขา ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยการนำหัวกระดาษ ที่มีพระราชลัญจกรตราประทับปรากฏอยู่ แต่ก่อนนั้นผู้เขียนก็หาที่มาที่ไปของลายพระราชหัตถเลขาทรงสละราชสมบัตินั้นไม่ได้ว่า มาจากที่ใดเมื่อไหร่แม้แต่ห้องสมุดรัฐสภา หรือสถาบันพระปกเกล้าก็ไม่อาจไขข้อสงสัยนี้ได้

อย่างใดก็ดีเราควรจะใช้ฉบับคำแปลจากภาษาอังกฤษต้นฉบับในการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ตอนนี้ซึ่งเป็นหลักฐานที่เป็นทางการและส่งมาอย่างมีระบบจากสถานทูตสยามในกรุงลอนดอนมาสู่ผู้สำเร็จราชการและมอบให้นายกรัฐมนตรีพระยาพหลพลพยุหเสนาอย่างเป็นทางการ อีกทั้งยังนำสู่เข้าที่ประชุมรัฐสภา

ส่วนลายพระราชหัตถเลขาที่ทรงเขียนด้วยพระหัตถ์ ไม่เคยเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภาแต่อย่างใด.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เทพมนตรี' ลากไส้ สันดานนักประวัติศาสตร์บางคน อกตัญญู สอนให้คนชังชาติ

นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และนักเทววิทยา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thepmontri Limpaphayorm ระบุว่า

'เทพมนตรี' เผยเหตุผู้บริหารจุฬาฯ ไม่กล้าถอดวิทยานิพนธ์-ป.เอก ของณัฐพล ใจจริง

นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และนักเทววิทยา โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก กล่าวถึงกรณีสอบสวนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก "การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500)" ของนายณัฐพล ใจจริง จุฬาฯ ว่า

'เทพมนตรี' ตบปากนักการเมือง เกาะกูด เป็นของไทยไม่ใช่เรื่องชาตินิยมแต่เป็นความจริงทางประวัติศาสตร์

นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และนักเทววิทยา โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก Thepmontri Limp