'ทนายถุงขนม' คอพาดเขียง! ลุ้นศาลรธน.ชี้ขาดคุณสมบัติ 'ความซื่อสัตย์-ฝ่าฝืนจริยธรรม'

'ข้อหารือนี้เกี่ยวข้องกับการพิจารณาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ อันเป็นหน้าที่และอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัย การวินิจฉัยชี้ขาดเป็นที่สุดย่อมเป็นหน้าที่และอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ การให้ความเห็นในกรณีนี้จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการในการบริหารราชการแผ่นดินเท่านั้น'

3 พ.ค.2567- สืบเนื่องจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ขอให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นในปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของรัฐมนตรี เฉพาะตามมาตรา 160 (6) ประกอบกับมาตรา 98 (7) และมาตรา 160 (7) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนั้น สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยนายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้มีหนังสือลงวันที่ 1 ก.ย.2566 ตอบกลับเลขาธิการคณะรัฐนตรี โดยมีเนื้อหาระบุว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ได้พิจารณาข้อหารือดังกล่าว โดยมีผู้แทน สลค.และผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้ชี้แจงข้อเท็จจริง และมีความเห็นในแต่ละประเด็น ดังนี้

ประเด็นที่หนึ่ง เห็นว่ามาตรา 160 ของรัฐธรรมนูญฯ เป็นบทบัญญัติที่กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคคลซึ่งจะมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี โดยใน (6) ของมาตราดังกล่าวบัญญัติว่า รัฐมนตรีต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 98 ซึ่งมาตรา 98 (7) กำหนดลักษณะต้องห้ามไว้ว่า "เคยได้รับโทษจำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงสิบปีนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลทุโทษ" ดังนั้น การได้รับโทษจำคุกไม่ว่าโดยคำพิพากษาหรือคำสั่งใด จึงเป็นลักษณะต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี บุคคลซึ่งเคยได้รับโทษจำคุกในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล จึงเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามดังกล่าว เว้นแต่บุคคลนั้นได้พ้นโทษเกินสิบปีแล้ว หรือได้รับโทษจำคุกในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ อันเป็นข้อยกเว้นที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้

ประเด็นที่สอง เห็นว่ามาตรา 160 (7) ของรัฐธรรมนูญ บัญญัติไว้ชัดเจนว่า รัฐมนตรีต้องไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุก แม้คดีนั้นจะยังไม่ถึงที่สุด หรือมีการรอการลงโทษ เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวไม่รวมถึงคำสั่งให้จำคุก ดังนั้น ผู้ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี จึงต้องไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุก

ทั้งนี้ การให้ความเห็นในกรณีนี้เป็นการตอบข้อหารือตามที่ผู้แทน สลค.ชี้แจงต่อกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ว่าประสงค์จะขอหารือเฉพาะกรณีมาตรา 160 (6) ประกอบกับมาตรา 98 (7) และมาตรา 160 (7) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เท่านั้น

"อนึ่ง ข้อหารือนี้เกี่ยวข้องกับการพิจารณาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ อันเป็นหน้าที่และอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัย การวินิจฉัยชี้ขาดเป็นที่สุดย่อมเป็นหน้าที่และอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ การให้ความเห็นในกรณีนี้จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการในการบริหารราชการแผ่นดินเท่านั้น" ตอนท้ายของหนังสือกฤษฎีการะบุ

ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า สลค.ถามกฤษฎีกาประเด็นเดียวเรื่อง โทษจำคุก ซึ่งรับโทษพ้น 10 ปีมาแล้ว จึงไม่ขัดต่อ รธน. มาตรา 160 (6) ประกอบมาตรา 98 (7) ส่วนคุณสมบัติตาม มาตรา 160 (4) "มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์" และ (5) "ไม่มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง" ไม่ได้ถามแต่อย่างใด

เมื่อวันอังคาร นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีมีการร้องเรียนให้มีการตรวจสอบคุณสมบัติของนายพิชิต ชื่นบาน รมต.ประจำสำนักนายกฯ ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และเตรียมร้องคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตรวจสอบวินัยร้ายแรงนายกรัฐมนตรี เพราะเป็นผู้เสนอชื่อรัฐมนตรีว่า ยังไม่ทราบเรื่องครับ แต่เข้าใจว่าในสิ่งที่เป็นข่าวอยู่ ก่อนที่จะมีการเสนอชื่อก็ได้ส่งรายชื่อให้ตรวจสอบโดยคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว

เมื่อถามว่า มั่นใจในข้อกฎหมายเรื่องคุณสมบัติของนายพิชิตใช่หรือไม่ นายเศรษฐากล่าวว่า "ได้ถามคณะกรรมการกฤษฎีกาเรียบร้อยแล้ว ก็มั่นใจครับ"

สำหรับนายพิชิต ชื่นบาน เป็นทนายความครอบครัวชินวัตร เคยต้องคำสั่งศาลฎีกาเมื่อปี 2551 ให้จำคุก 6 เดือนโดยไม่รอลงอาญา ในคดี "ถุงขนม 2 ล้านบาท" ฐานละเมิดอำนาจศาล ขณะเดียวกันก็ถูกเพิกถอนใบอนุญาตทนายความด้วย จึงถูกร้องเรียนว่า เป็นผู้ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (4) (5)

เมื่อปรากฏหนังสือตอบกลับของกฤษฎีการะบุในตอนท้ายดังกล่าว ทำให้สถานะความเป็นรัฐมนตรีของนายพิชิต ต้องมีข้อยุติที่ศาลรัฐธรรมนูญ

มีรายงานด้วยว่า ภายหลังมีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายเศรษฐา ทวีสิน เป็น นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 ส.ค.2566 มีชื่อนายพิชิต ชื่นบาน ติดโผ ครม.ชุดแรกด้วย ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์เรื่องคุณสมบัติต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ ต่อมาเมื่อวันที่ 1 ก.ย.2566 มีพระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี ไม่ปรากฏชื่อนายพิชิตแต่อย่างใด แต่การปรับ ครม.ครั้งล่าสุด กลับมีชื่อนายพิชิต เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ กระทั่งมีการยื่นร้องเรียนต่อ ป.ป.ช.และ กกต. และมีการเผยแพร่หนังสือตอบกลับของกฤษฎีกา ลงวันที่ 1ก.ย.2566 ที่ผ่านมา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พิชิต' ขึงขังสั่ง พศ.ต้องชี้ถูกชี้ผิดปม 'เด็กเชื่อมจิต' ให้ได้

'พิชิต' ตั้งกรรมการสอบกรณี 'เด็กเชื่อมจิต' ลั่นยุคนี้สำนักพุทธฯ ต้องกล้าชี้ถูกชี้ผิด จ่อแถลง 17 พ.ค เดี๋ยวได้รู้เชื่อมได้หรือไม่ ​ พร้อมสังคายนาใหม่หมด ทำงานเชิงรุกให้ทุกคนพอใจ

'พิชิต' ยันโครงการทำเนียบฯ ช่วยได้ออกมาจากใจไร้การเมือง!

'พิชิต' ยัน โครงการ 'ทำเนียบฯ ช่วยได้' ไม่มีเอี่ยวการเมืองหวังลบภาพรัฐบาลก่อน ย้ำเป็นสิ่งที่ออกมาจากใจ ขอทำหน้าที่บุรุษไปรษณีย์ ส่งปัญหาประชาชนถึง 'นายกฯ' สั่งการแก้ให้สำเร็จ

'รมต.ถุงขนม' การันตีประเด็นข้าวค้างเก่า 10 ปีไม่มีการเมือง!

'พิชิต' ขออย่าตีเป็นประเด็นการเมืองหวังฟอกขาวคดีจำนำข้าว หลัง 'ภูมิธรรม' บุกโกดังสยบข้าวเน่า แย้มแค่พบเบาะแสเร่งขายตีเป็นข้าวเน่าเอาไปทำอาหารสัตว์ เผยมีคนยื่น DSI ตรวจสอบแล้ว

'พิชิต' ประเดิมงานแรกปรับโฉมศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์!

รมต.พิชิต​ ประเดิมงานแรก​ ปรับโฉม 'ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ทำเนียบรัฐบาล' เป็น 'ทำเนียบฯ ช่วยได้' รับเรื่องร้องทุกข์​ -​ปราบอาชญากรรม​ออนไลน์​

นายกฯรับไม่ทราบขั้นตอน 'กฤษฎีกา' ให้ศาลรธน.ชี้ขาดคุนสมบัติ 'พิชิต' ยันทุกอย่างเป็นไปตามกม.

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เดินทางเข้าพรรคเพื่อไทยเพื่อร่วมกิจกรรม "10 เดือนที่ไม่ต้องรอ ทำต่อให้เต็ม 10" ซึ่งจะมีการเปิดตัวว่าที่ผู้สมัครนายก อบจ. ในนามพรรคเพื่อไทย