'วิษณุ' รับพลาด! ช่วยกันดูหลายตาแล้ว แต่ 'เศรษฐา' ไม่รอด

15 ส.ค.2567 - ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม อดีตที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงกรณีนายเศรษฐา ทวีสิน ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นตำแหน่งนายกฯ ถือว่าผิดคาดหรือไม่ ว่า แล้วสื่อผิดคาดหรือไม่ เหมือนๆกันทั้งประเทศ

ผู้สื่อข่าวถามว่า ก่อนที่จะส่งร่างคำชี้แจงให้ศาลรัฐธรรมนูญ มั่นใจแล้วใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ตนดูแค่เพียงนิดหน่อย ไม่ได้ดูมากมายอะไร เพราะมีทีมนายกฯที่ทำอยู่แล้ว

เมื่อถามว่า ตอนที่ดูได้เห็นจุดอ่อนของคำชี้แจงหรือไม่ อย่างเช่น เป็นนักธุรกิจไม่รู้กฎหมาย นายวิษณุ กล่าวว่า จริง ๆ ไม่เรียกว่าจุดอ่อนหรอก เพราะเวลาแก้คดี ปกติมันต้องแก้ทุกประเด็น ประเด็นไหนที่ฟังไม่ขึ้นศาลก็ยก อย่างคดีธรรมดาเวลาขึ้นศาล จำเลยต้องเถียงก่อนเสมอว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง หรือคดีขาดอายุความ หรืออาจจะมีเหตุผลอื่น ซึ่งมีสูตรของมันอยู่แล้ว และก่อนหน้าที่จะมีการยื่นก็มีการพูดกันว่าวุฒิสภาหมดวาระไปแล้ว ไม่สามารถที่จะยื่นได้ เขาให้ทำเฉพาะการปฏิบัติหน้าที่ แต่หลักการยื่นเป็นเรื่องของสิทธิ ตรงนี้อาจจะเป็นประเด็นที่ยกมาได้ แต่ในคำให้การของนายกฯ ไม่มีส่วนนี้ ฉะนั้น เมื่อถึงเวลามันจะยกอะไรขึ้นมาก็ได้

ผู้สื่อข่าวถามว่า ตอนที่ดูร่างคำชี้แจง ได้ท้วงติงตรงไหนหรือไม่ ที่เห็นว่าน่าจะเป็นจุดบกพร่อง นายวิษณุ กล่าวว่า มีอยู่ ตนได้ท้วงติงบางจุดไป แต่คงยกตัวอย่างให้ไม่ได้

เมื่อถามว่า ไม่ได้เสียความมั่นใจใช่หรือไม่ ที่คนคาดหวังว่าเข้ามาช่วยนายเศรษฐาแล้ว นายเศรษฐาจะรอดพ้นจากคดี นายวิษณุ กล่าวว่า ก็ขอให้เป็นเรื่องระหว่างตนกับภายในแล้วกัน พูดไม่ได้ อย่าไปคาดกันสิ คาดทำไม ตนไม่มีความสามารถ ตนก็อาจจะพลาดได้ ก็ดูกันหลายหูหลายตา อย่างนี้ดีกว่า อย่างน้อยก็มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 4 เสียงที่เห็นด้วย มีต่างกันแค่คนเดียว

ผู้สื่อข่าวถามว่า ต่อไปการแต่งตั้งรัฐมนตรี ถือว่าศาลมีการวางหลักไว้ให้แล้วใช่หรือไม่ หลังจากมีกรณีของนายเศรษฐาออกมา นายวิษณุ กล่าวว่า ก็ต้องตรวจสอบ แม้กระทั่งความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ก็ต้องตรวจสอบ ถือเป็นบรรทัดฐาน ซึ่งอาจจะไม่ใช่บรรทัดฐานใหม่ เพราะเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่วิธีตรวจสอบต่อไปนี้ก็อาจจะต้องเข้มงวดขึ้น เวลาสอบถามประวัติ อาจจะต้องถามมากกว่านี้ อาจจะต้องเงี่ยหูสดับตรับฟังว่ามีข่าวลืออะไรหรือไม่ และตรวจสอบ

ถามว่า ถ้าวิญญูชนสงสัยก็จะปฏิเสธไม่ได้ใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ถึงขนาดนั้น ศาลไม่ได้พูดถึงขนาดนั้น ศาลพูดแต่เพียงว่าผู้ถูกร้องจะบอกว่าไม่รู้ไม่ได้ เพราะวิญญูชนทั่วไปเขายังรู้ มันไม่ใช่วิญญูชนรู้แล้วมันจะต้องผิด

ผู้สื่อข่าวถามถึงแคนดิเดตนายกฯ ที่มีการเสนอชื่อนายชัยเกษม นิติสิริ ขึ้นมา ซึ่งมีการย้อนไปถึงสมัยเป็นอัยการสูงสุด และมีคำสั่งไม่ฟ้องคดีของนายพิชิต ชื่นบาน ในแง่กฎหมาย จะส่อผิดจริยธรรมหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ตนไม่ทราบ ไม่เคยได้ยิน เมื่อถามย้ำว่า ตามกฎหมายจะเป็นไปตามนี้หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ขอไม่ตอบ ทั้งนี้ เรื่องของจริยธรรมมันไม่ได้เกี่ยวกับอายุความ ซึ่งของนายพิชิต 15 ปีมาแล้ว และตนไม่รู้ว่านายชัยเกษมเป็นคนไม่สั่งฟ้องนายพิชิตหรือไม่

นายวิษณุ กล่าวว่า เมื่อนายเศรษฐาไป ตนก็ต้องไปด้วยอัตโนมัติ ซึ่งไม่ได้มีความหมายอะไร เพราะเดิมก็ไม่ได้เงินเดือน ไม่มีค่าตอบแทนอะไร เมื่อนายเศรษฐาเป็นคนตั้ง และเมื่อนายเศรษฐาพ้นไป ตนก็ต้องพ้นไปด้วย อย่าว่าแต่ตนเลย เลขาธิการนายกฯก็พ้นด้วย รวมถึงตำแหน่งอื่น ๆ ที่นายเศรษฐาตั้ง ต้องพ้นไปทั้งหมด ทั้งนี้ วันนี้ตนมาในฐานะเป็นผู้ชี้แจง ไม่มีตำแหน่งใด ๆ ผู้รักษาการนายกฯ ขอให้มาชี้แจงในเรื่องวิธีปฏิบัติของรัฐมนตรีในระหว่างนี้ เพราะมันไม่เหมือนกับตอนยุบสภา

ผู้สื่อข่าวถามว่า ครม.รักษาการ สามารถทำอะไรได้บ้าง นายวิษณุ กล่าวว่า ทำได้หมดทุกอย่าง ไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้ ถ้าพูดกันในทางทฤษฎี ยุบสภาก็ได้ แต่ในทางปฏิบัติเขาไม่ยุบหรอก จะยุบทำไม แต่ถ้าโยกย้ายหรืออนุมัติงบอย่างนั้นทำได้ทั้งหมด มันไม่เหมือนกับเวลายุบสภา เพราะไม่สามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ แต่งตั้งก็ไม่ได้ แต่ถ้าเป็นการพ้นตำแหน่งในลักษณะแบบนี้ทำได้หมด

ถามว่า ในส่วนของข้าราชการการเมืองจะหลุดไปหมดหรือไม่ เช่น เลขานุการรัฐมนตรี นายวิษณุ กล่าวว่า ถ้าเป็นข้าราชการการเมืองของนายกฯ ที่นายกฯตั้งหลุดหมด แต่ส่วนที่รัฐมนตรีตั้งยังอยู่ ยกเว้นเลขาธิการนายกฯ เมื่อถามว่า หากรัฐบาลชุดใหม่ นายวิษณุ จะมาช่วยงานอีกหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า เขายังไม่ขออย่าพูดอะไรเลย เมื่อถามย้ำว่า แสดงว่าเปิดประตูอยู่ใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ได้เปิดหรอก ตนก็ปิดมาตั้งแต่ต้น เจอนายเศรษฐาไปพบที่บ้าน ไปขอร้อง ซึ่งมันคงไม่เกิดเหตุการณ์อย่างนั้นขึ้นอีก เมื่อถามอีกว่า แต่รัฐบาลไม่ได้มีมือกฎหมาย นายวิษณุ กล่าวว่า ยังไม่รู้เลย เขาอาจจะตั้งมือกฎหมายเข้ามาก็ได้ ตอนนี้ยังไม่มีรัฐบาลเลย

ส่วนกรณีที่พรรคร่วมรัฐบาลไปคุยกับนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ที่บ้านจันทร์ส่องหล้า จะถือว่านายทักษิณ ครอบงำได้หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ใช่หรอก ถือเป็นการไปพบปะ ซาวเสียงกัน จะเรียกว่าครอบงำไม่ได้ เพราะเขาก็ต้องปรึกษาหารือกัน อาจจะไปเจอกันที่ไหนสักแห่งหนึ่ง ซึ่งเขาก็ทำกันเอิกเกริกเปิดเผย ไม่ได้ปกปิดลึกลับอะไร และการไปพบปะกันที่บ้านจันทร์ส่องหล้าก็ไม่ได้แปลกประหลาดอะไร การที่บอกว่าครอบงำไม่ใช่อะไรก็ครอบงำหมด มันต้องมีการสั่งให้ทำอะไรต่ออะไรด้วย

ผู้สื่อข่าวถามว่า คนมองว่านายทักษิณมีอำนาจเหนือรัฐบาล นายวิษณุ กล่าวว่า ตนไม่รู้ ตนไม่ได้ไปด้วย ไม่รู้ว่าทำอะไรกัน เมื่อถามว่า ถ้านายทักษิณร่วมวงหารือด้วย จะชัดเจนหรือไม่ว่าเป็นการครอบงำ นายวิษณุ กล่าวว่า ส่วนตัวคิดว่าไม่ อย่างถ้านายกฯหารือกับตน จะบอกว่าครอบงำหรือไม่ มันก็ไม่ใช่ เพราะคนที่มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจ เขาก็ตัดสินใจเอง ซึ่งตนไม่รู้ว่าเขาทำอะไรกันที่บ้านจันทร์ส่องหล้า และไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีใครไปบ้าง ถามคนที่ไปเถอะว่าเขาครอบงำอะไรหรือไม่ ดีไม่ดีคนที่ไปเป็นคนไปเสนอด้วยซ้ำ กลายเป็นการถูกครอบงำ กรณีนี้เป็นการไปขอคำแนะนำ คำปรึกษา ไปซาวเสียง หยั่งเสียง หรือไปหารือดูว่ายุทธศาสตร์เข้าสภาแล้วจะผ่านหรือไม่ผ่าน ซึ่งเป็นเรื่องที่คุยกันได้ และไปกันทุกพรรค ไม่มีใครครอบงำกันได้ ใครจะครอบงำนายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทยได้ ใครจะครอบงำนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ครม.ไฟเขียวงบกลาง 3 พันล้าน ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม นายกฯกำชับลดขั้นตอน ให้เงินถึงมือปชช.เร็วที่สุด

ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าในที่ประชุมครม. เห็นตามที่กระทรวงมหาดไทย เสนอหลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝนปี 2567 และขออนุมัติงบประมาณรายจ่าย งบประจำปี 2567 งบ

'มาดามแพ' นั่งหัวโต๊ะ ประเดิมประชุมครม.นัดแรก เผยเจอม็อบไม่เสียสมาธิ

ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางเข้าปฎิบัติหน้าที่ตึกไทยคู่ฟ้า โดยเวลา 09.45 น. นายกฯ เดินลงจา

นายกฯ เคาะงบกลาง 3 พันล้าน สั่งเร่งเยียวยาน้ำท่วมให้เร็วที่สุด ไม่เก็บค่าน้ำค่าไฟเดือน ก.ย.

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการอำนวยการและบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (คอส.) ว่า การตั้งคณะกรรมการฯขึ้นมาเพื่อให้ทุกคนสามารถประสานงานกันได้ว่าตรงไหนเจอปัญหาอะไรบ้าง

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 28)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

'นายกฯอิ๊งค์' อารมณ์ดี เดินทัวร์ทำเนียบฯ เยี่ยมรังนกกระจอก

'นายกฯอิ๊งค์' อารมณ์ดี ควง 'จุลพันธ์-เผ่าภูมิ' เดินทัวร์ทำเนียบฯ เยี่ยมรังนกกระจอก เผยเมนูโปรดก๋วยเตี๋ยวเนื้อ ชอบเหมือนพ่อแม้ว