‘วุฒิสภา’ นัดประชุม 30 ก.ย. ถกร่าง พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ จับตาฟื้นใช้เกณฑ์ ‘เสียงข้างมาก 2 ชั้น’ แก้รัฐธรรมนูญ
27 ก.ย. 2567 – ผู้สื่อข่าวรายงานจากวุฒิสภา ว่า นายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา ลงนามนัดประชุมวุฒิสภา วันที่ 30 ก.ย. โดยมีวาระพิจารณา เรื่องด่วน คือ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่…) พ.ศ… ซึ่งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ ซึ่งมี พล.ต.ต.ฉัตรวรรษ แสงเพชร สมาชิกวุฒิสภา (สว.) เป็นประธาน กมธ. ได้พิจารณาเสร็จแล้ว
ทั้งนี้ คณะกมธ. ได้แก้ไขเพิ่มเติมจากที่สภาฯให้ความเห็นชอบ 1 มาตรา คือมาตรา 7 ว่าด้วยเกณฑ์การผ่านประชามติ เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยกลับมาใช้แบบ double majority กล่าวคือ ต้องมีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเป็นจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียง และมีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้ออกมาใช้สิทธิออกเสียงในเรื่องที่ทำประชามตินั้น หรือหมายความว่า ต้องใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น หากเป็นกรณีที่ทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ขณะที่เรื่องทั่วๆ ไปนั้น กมธ. ยังคงหลักเกณฑ์ใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว คือ “เสียงข้างมากของผู้ออกมาใช้สิทธิ และเสียงข้างมากนั้นต้องสูงกว่าคะแนนไม่แสดงความคิดเห็นเรื่องที่ทำประชามติ”
สำหรับ กมธ. เสียงข้างน้อยที่ขอสงวนความเห็นในการแก้ไขมาตรา 7 ประกอบด้วย น.ส.นันทนา นันทวโรภาส สว. นายกฤช เอื้อวงศ์ นายนิกร จำนง นายวุฒิสาร ตันไชย และ น.ส.อุดมลักษณ์ บุญสว่าง ซึ่งเป็น กมธ. ในโควตาของรัฐบาล
นอกจากนี้ ในรายงานยังมีข้อสังเกตของ กมธ. ด้วยว่า 1.ในการกำหนดระยะเวลาออกเสียงนอกราชอาณาจักร ควรเผื่อระยะเวลาเพราะแต่ละประเททศมีองค์ประกอบและปัจจัยแวดล้อมที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการจัดส่งบัตรเลือกตั้งและบัตรออกเสียงประชามติ ที่พบว่าในอดีตมีความล่าช้าจากหลายปัจจัย
2.การประชาสัมพันธ์ เพื่อให้รอบคอบ ครบถ้วน โปร่งใส ตรวจสอบได้และเป็นธรรมรวมถึงให้ประชาชนเข้าใจและตระหนักความสำคัญของการออกเสียงประชามติ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ควรจัดเวทีแสดงความคิดเห็นโดยอิสระเท่าเทียม ทั้งผู้เห็นชอบและไม่เห็นชอบ ต้องอำนวยความสะดวกด้านอื่นให้ประชาชนททุกคนเข้าร่วมใช้สิทธิเต็มที่ นอกจากเผยแพร่วัน เวลาและสถานที่ใช้สิทธิเท่านั้น และให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องที่มีการออกเสียงประชามติ
3.การออกเสียงลงคะแนนด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ต้องสร้างระบบให้มีความน่าเชื่อถือ และดำเนินการได้ภายในวันเดียวกันหรือควบคู่กันเพื่อประหยัดงบประมาณ โดย กกต. ต้องบูรณาการร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และระบบดังกล่าวต้องป้องกันการทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.การตั้งประเด็นคำถาม ควรมีถ้อยคำชัดเจนเพียงพอให้ผู้มาออกเสียงเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ป้องกันปัญหาการตีความ ทั้งนี้หากคำถามประชามติเป็นคำถามเชิงซ้อน ควรใช้การออกเสียงแบบแยกย่อยคำถามจนครบทุกประโยคเชิงซ้อนด้วย จึงจะถือว่ามีข้อยุติ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อนุทิน' สวนเพื่อไทย! จุดยืน 'ภท.' ไม่เอาด้วย กม.สกัดปฏิวัติ
'อนุทิน' ย้ำจุดยืนภูมิใจไทย ไม่เอาด้วยกฎหมายสกัดปฏิวัติ ชี้นักการเมืองอย่าสร้างเงื่อนไข ทำตัวให้ดีอย่าขึ้โกง ชงกฎหมายแค่สัญลักษณ์ ถึงเวลารัฐธรรมนูญโดนฉีกอยู่ดี
ระอุ สภาสูงย้อนเกล็ดเพื่อไทย ประธานกมธ.ทหารฯ ขวาง ครม.ทำโผทหาร
ระอุ สภาสูงตั้งป้อม สกัดเพื่อไทย ยึดอำนาจกองทัพ ประธานกมธ.ทหารฯ มาเอง ขวางครม.ทำโผทหาร เปิดเหตุผล “หัวเขียง-พท.”เสนอเพิ่มอำนาจครม.ตั้งบิ๊กท็อปบูต อัดแรง ระบบปัจจุบันเปิดช่องผบ.เหล่าทัพ วางทายาท-พวกพ้องให้สืบทอดอำนาจ
ดร.ณัฏฐ์-นักกม.มหาชน ชี้ 'กฎอัยการศึก' สส.ไทยไม่สามารถยกเลิกได้ แตกต่างจากเกาหลีใต้
“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน เผย กฎอัยการศึกสถานะเป็นพระราชบัญญัติ การยกเลิกในประเทศเกาหลีใต้กระทำโดยมติสภา แตกต่างจากประเทศไทย สส.ตัวแทนประชาชน ไม่สามารถยับยั้งยกเลิกได้
ปลุกรุมบี้ 'รัฐบาลอิ๊งค์' ส่งศาล รธน. ชี้ขาด 'MOU 44'
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ท่านที่ได้อ่านโพสต์ที่แล้วของผม คงจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาที่ไป
กมธ.ประชามติ สรุปใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น ชงรายงานให้ สส.-สว. ถ้าเห็นแย้งจะถูกแขวน 180 วัน
คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ นำโดย นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร สว. โฆษก กมธ., นายกฤช เอื้อวงศ์ โฆษก กมธ. และนายนิกร จำนง เลขานุการ กมธ. ร่วมกันแถลงถึงมติของกมธ.ร่วมกันฯ
'วราวุธ' ย้ำ 'ชทพ.' ยึดธง 'แก้ รธน.' ตามแบบปี 40 ชี้ หากจะแก้ทั้งที ควรใช้เวลา
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยพั