
11 มี.ค. 2568-นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ ประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้อความหัวข้อ ” ภูมิรัฐศาสตร์จะกระทบเศรษฐกิจโลก” มีรายละเอียดดังนี้
ตลาดหุ้นสหรัฐ ไม่มี Trump Put เพราะหากรูดลงในปีนี้ ตลาดจะตั้งหลักดีขึ้นในปีหน้า พรรครีปับลิกันก็ยังจะชนะเลือกตั้ง mid term ปลายปีหน้าได้
ทรัมป์กำลังเปลี่ยนภูมิรัฐศาสตร์ โดยเปลี่ยนสมการโลก จาก (สหรัฐ+ยุโรป) vs (รัสเซีย+จีน) ไปเป็น 3 เส้า (สหรัฐ) vs (จีน) โดยแยกรัสเซียออกจากใต้ปีกจีน
ส่วนยุโรป ต้องดิ้นรนเอง ป้องก้นตัวเอง ซึ่งกำลังก่อความเสี่ยง และความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์กำลังจะกระทบเศรษฐกิจ
ความเสี่ยงที่หนึ่ง ภาษีแคนาดา
การที่ทรูโดไปร่วมประชุมยุโรป เพื่อต่ออายุสงครามยูเครน เป็นหมากรุกที่ขวางสมการข้างต้น และนรม.แคนาดาคนใหม่ ก็เดินต่อแนวทางกร้าว เป็นการสู้หมัดต่อหมัดกับทรัมป์
ดังนั้น สงครามภาษีกับแคนาดา จึงอาจจะยืดเยื้อกว่าเม็กซิโก จะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐอ่อนลง
ความเสี่ยงที่สอง ภาษียุโรป
เลือกตั้งใหม่เยอรมนี ได้ผู้นำที่เข้มเรื่องสงครามกับรัสเซียหนักขึ้น ไม่ตรงกับสมการของทรัมป์
ดังนั้น สงครามภาษีกับอียู จึงอาจจะหนักหน่วงเต็มที่ โดยเยอรมนีในฐานะประเทศส่งออกใหญ่สุด จะเป็นผู้แบกภาระ
รูป 1 ผู้นำรัฐบาลเยอรมนีคนใหม่ ประกาศผ่านกฎหมาย จะยกเพดานหนี้ 5 แสนล้านยูโร เพื่อใช้จ่ายยุทโธปกรณ์
ทำให้ดอกเบี้ยพันธบัตร 10 ปีของเยอรมนีขยับสูงขึ้น จนส่วนต่างจากดอกเบี้ยพันธบัตรสหรัฐแคบลงมาก
รูป 2 จะเห็นได้ว่า ส่วนต่างเคยแคบลงขนาดนี้ เมื่อเดือน ส.ค./ก.ย. 2024 ซึ่งทำให้เงินยุโรป ที่เดิมไหลเข้าไปสหรัฐ เริ่มไหลกลับ
บัดนี้ ปรากฏการณ์เดิมกลับมาอีกแล้ว ทำให้สภาพคล่องตลาดทุนสหรัฐแผ่วลง กดดันให้ตลาดหุ้นต่ำลง
ความเสี่ยงที่สาม การโจมตีอิหร่าน
อิสราเอลต้องการรักษาสถานะ การเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์หนึ่งเดียวในตะวันออกกลาง และที่ผ่านมา ได้เคยส่งเครื่องบินรบ ไปบอมบ์ทำลายโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ทั้งในอิรัก และในซีเรีย เพื่อกำจัดเสี้ยนหนามมาแล้ว
ล่าสุด ทรัมป์ให้สัมภาษณ์ว่า ได้ส่งจดหมายถึงผู้นำอิหร่าน ขอให้เจรจาข้อตกลง เลิกโครงการพัฒนาระเบิดนิวเคลียร์
อิสราเอลเคยแสดงความประสงค์ ต้องการจะส่งเครื่องบินไปบอมบ์โรงงานในอิหร่านอยู่แล้ว และในระหว่างหาเสียงเลือกตั้ง ทรัมป์ ก็เคยแสดงจุดยืนว่า โรงงานพัฒนาระเบิดนิวเคลียร์ควรจะเป็นเป้าหมายหลัก ที่จะต้องทำลาย
รูป 3 ทรัมป์แย้มว่า จะเกิดเหตุการณ์กับอิหร่านเร็วๆ นี้ แต่ไม่บอกว่า จะเป็นเหตุการณ์ชนิดใด
โดยระบุว่า เขาหวังอิหร่านจะยอมรับเจรจาเรื่องนี้ แต่ถ้าไม่เจรจา ก็จะมีทางเลือกอื่น ที่จะได้ผลเหมือนกัน
กรณีถ้าหากอิสราเอลและสหรัฐร่วมมือกันโจมตีอิหร่าน ซึ่งผมคาดเดาว่า อาจจะเกิดขึ้นสิ้นเดือนนี้ เพื่อเร่งให้ปัญหาผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐ ที่จะรุนแรงขึ้น มีเวลาผ่อนคลายลงไปจนถึงปีหน้า เลือกตั้ง mid term แต่กรณีถ้าหากเกิดขึ้นจริง ไม่สามารถคาดเดาการตอบโต้ของอิหร่านได้ ไม่ว่าในเรื่องการปิดช่องแคบฮอร์มุส ผลกระทบต่อราคาน้ำมัน หรือการโจมตีกลับอิสราเอล หรือการโจมตีฐานทัพสหรัฐ ที่มีอยู่ในตะวันออกกลางจำนวนมาก
ไม่น่าเชื่อว่า รัฐบาลนี้ของนายกแพทองธาร ไม่ได้มองปัญหาไปข้างหน้า ไม่ได้กระตุ้นให้เอกชนไทยเตรียมรับมือไว้เลย
มีแต่คิดโครงการแจกเงินละลายแม่น้ำ.



ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อเมริกาหวิดหายนะ! ‘กอบศักดิ์’ ชี้ ‘ทรัมป์’ โชคดีที่มีรัฐมนตรีคลังชื่อ ‘Scott Bessent’
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความว่า โชคดีที่ President Trump มี Bessent !!!
‘อดีตรองอธิการฯมธ.’ ฟังธง! ‘ลูกชายเนวิน’ ส่งสัญญาณ รัฐบาลจะถึงจุดจบในอีกไม่นาน ‘อิ๊งค์-แม้ว’ ไม่ได้อยู่ในไทย
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความว่า คงไม่ต้องถกเถียงกันแล้วว่า การประกาศกลาง
'อดีตรมว.คลัง' ชี้ สงครามภาษี ‘อเมริกา-จีน’ เดือด ‘ทรัมป์’ ติดกับดักหมากรุกแม่เหล็กแร่หายาก ของ ‘สี จิ้นผิง’
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้อคว
ปรับ-ถอน-หรือปล่อยตาย: เกมตัดสินรัฐบาลในช่วงปิดสภาหลังสงกรานต์
แม้เทศกาลสงกรานต์จะยังไม่จบลงอย่างเป็นทางการ แต่ สัญญาณทางการเมืองหลังหยุดยาว เริ่มส่งแรงสั่นสะเทือนกลับมาเร็วเกินคาด โดยเฉพาะใน รัฐบาลผสมที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ
'ทักษิณ' จ่อคุย 'อันวาร์' จับมืออาเซียน เจรจา 'ทรัมป์' แบบพันธมิตร ไม่ต่อรองกดดัน
'ทักษิณ' เตรียมหยิบวาระอาเชียนรับมือกำแพง 'ภาษีทรัมป์' คุย 'อันวาร์' โอกาสเยือนไทย 17 เม.ย.นี้ ชี้เจรจาสหรัฐแบบพันธมิตร ไม่ต่อรองกดดัน มั่นใจประเทศไม่ลำบาก
ชิง2เก้าอี้ตุลาการศาลรธน. สว.สีน้ำเงินตัวปิดเกม
หลังที่ประชุมวุฒิสภาไม่ให้ความเห็นชอบ ศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และชาตรี อรรจนานันท์ อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เข้าไปเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพราะคะแนนเสียงโหวตเห็นชอบไม่เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนเสียง สว.ที่ปฏิบัติหน้าที่เมื่อช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา