ด่วน! ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ให้ 'พ.ต.อ.ทวี'หยุดปฏิบัติหน้าที่คุมดีเอสไอ

14 พ.ค.2568 - สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้ออกเอกสารข่าวที่ 13/2568 เรื่องประธานวุฒิสภาส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้ถูกร้องที่ 1 และพันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ผู้ถูกร้องที่ 2 สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) และ (5) หรือไม่ (เรื่องพิจารณาที่ 80/2568 )

สมาชิกวุฒิสภาเข้าชื่อเสนอคำร้องต่อประธานวุฒิสภา (ผู้ร้อง) โดยกล่าวอ้างว่า การที่ผู้ถูกร้องทั้งสองมีมติให้การกระทำความผิดทางอาญาอื่นเป็นคดีพิเศษ ตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (2) เป็นการแทรกแซงหรือครอบงำหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยใช้กรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นเครื่องมือแทรกแซงกระบวนการตรวจสอบการเลือกสมาชิกวุฒิสภา อันเป็นการกลั่นแกล้ง กดดัน ข่มขู่ และครอบงำสมาชิกวุฒิสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจและฝ่าฝืนหลักนิติธรรม จึงถือได้ว่าผู้ถูกร้องทั้งสองไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์และมีพฤติกรรมเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (4) และ (5) เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องทั้งสองสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) และ (5) หรือไม่

ต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องเพิ่มเติมและเอกสารประกอบ ฉบับลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2568 วันที่ 13 พฤษภาคม 2568 และวันที่ 14 พฤษภาคม 2568

ผลการพิจารณา ศาลมีรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยอภิปรายแล้วเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำความเห็นและจัดส่งสำเนาเอกสารหลักฐานตามประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต่อไป

สำหรับกรณีปรากฏข้อเท็จจริงตามคำร้องเพิ่มเติมของผู้ร้อง ฉบับลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2568 พร้อมเอกสารประกอบ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องทั้งสองหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัยถึงที่สุด ศาลมีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยังไม่ปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่ามีกรณีตามที่ถูกร้องที่จะสั่งให้ผู้ถูกร้องที่ 1 หยุดปฏิบัติหน้าที่ ส่วนผู้ถูกร้องที่ 2 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่และอำนาจในการสั่งและปฏิบัติราชการในฐานะผู้บังคับบัญชาข้าราชการกระทรวงยุติธรรมอันรวมไปถึงกรมสอบสวนคดีพิเศษ ตามคำร้องเพิ่มเติมและเอกสารประกอบ ปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่า ผู้ถูกร้องที่ 2 มีกรณีตามที่ถูกร้องจึงสั่งให้ผู้ถูกร้องที่ 2 หยุดปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เฉพาะในฐานะผู้กำกับดูแลกรมสอบสวนคดีพิเศษและรองประธานกรรมการคดีพิเศษตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 วรรคสอง ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2568 จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประธานวุฒิสภา ยื่นศาลรธน.-ป.ป.ช. ถอดถอน 'แพทองธาร' ผิดจริยธรรมร้ายแรง

นายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา ได้ทำหนังสือถึงประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่ง (ป.ป.ช) ภายหลังคณะสมาชิกวุฒิสภา ลงวันที่ 19 มิถุนายน 2568 ขอให้ประธานวุฒิสภาส่งหนังสือกล่าวหานางสาวแพทองธาร ชินวัตร

อดีตไล่ล่า 'สหายใหญ่' ประเทศขาดความเชื่อมั่น ประชาชนหมดหวัง นายกฯ ต้องลาออก

ในโลกออนไลน์ ได้มีการแช์คำสัมภาษณ์ของ นายภูมิธรรม เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาผู้นำฝ่ายค้าน ในสภาผู้แทนราษฎร ที่แสดงความคิดเห็นต่อความเชื่อมั่นในรัฐบาลและต่อตัวพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น ตอนหนึ่งว่า

'ภูมิธรรม' มั่นใจพรรคร่วมฯหนุน 'อิ๊งค์' ไปต่อ ไม่ได้ยิน 'รทสช.' ขอเปลี่ยนตัวนายกฯ

'ภูมิธรรม' มั่นใจพรรคร่วมฯหนุน 'อิ๊งค์' ไปต่อ บอกไม่ได้ยิน 'รทสช.' ขอเปลี่ยนตัวนายกฯ ยันคุยทุกฝ่ายเข้าใจหมดไร้ปัญหา ไม่กังวลคนก่อม็อบ เชื่อพอตั้งสติได้คนเข้าใจ

'คปท.' ตอกกลับ 'บิ๊กอ้วน' อย่างเบี่ยงประเด็น ลั่น สู้กับกัมพูชา ไม่มี 'แพทองธาร' ยิ่งจะดีกว่า

นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อย่าเบี่ยงประเด็น