'บิ๊กตู่' เคลียร์ชัดปม 'เหมืองทองอัครา' ประจาน ส.ส.เพื่อไทย บิดเบือนกลางสภาฯ

ประยุทธ์18 ก.พ.2565 - ที่รัฐสภา เมื่อเวลาเวลา 11.25 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่ากการกระทรวงกลาโหม ชี้แจง กรณี น.ส.จิราพร สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย อภิปรายถึงกรณีบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ฟ้องประเทศไทย ภายหลังพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ใช้คำสั่งมาตรา 44 สั่งปิดเหมืองทองอัครา ว่า รัฐบาลทุกสมัยมีหน้าที่ในการพิจารณาการนำทรัพยากรออกมาใช้อย่างเหมาะสม รัฐบาล ปี 2544 เห็นชอบตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการเหมืองแร่ เชิญชวนให้มีการลงทุนและทำเหมืองทองในจังหวัดพิจิตร

และปี 2554 รัฐบาลระงับการต่อใบอนุญาตประทานบัตรทำเหมือง จำนวน 1 แปลง ด้วยปัญหาความชัดเจนและมีการฟ้องร้องกันอยู่ในศาลปกครอง และมีการร้องเรียนจากประชาชนมีปัญหาสุขภาพจากการทำเหมือง และมีข้อโต้แย้งเรื่องขั้นตอนการอนุญาตขาดความรัดกุมและปัญหาสิ่งแวดล้อม

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่าต่อมา รัฐบาล คสช. เข้ามาช่วงที่มีปัญหาโต้แย้งกันอยู่แล้ว มีความชอบธรรมในการดำเนินการตามความจำเป็น ประกอบกับปัญหาสิ่งแวดล้อม รัฐบาลย่อมต้องพิจารณาหาแนวทางตามที่มีความจำเป็น และหลักการออก พ.ร.บ.แร่ ปี 2560 มีการออกนโยบายการทำเหมืองแร่ใหม่ เอกชนกว่า 100 รายก็มาขอใบอนุญาตใหม่และต่อใบอนุญาตเก่า เช่นเดียวกันกับ บริษัท อัครา ก็เป็นไปตามเงื่อนไขที่ให้ต่อใบอนุญาต แม้ผู้บริหารของบริษัทจะยังมีคดีความอยู่กับรัฐ แต่ก็ยังสามารถเข้าร่วมประมูลได้ และบริษัท อัครา ก็ได้ยื่นหนังสือต่อใบอนุญาตตามกฎหมาย เหมือนบริษัทอื่นๆ แต่ไม่ได้ต่อรองเพื่อแลกเปลี่ยนอะไรกับรัฐบาลทั้งสิ้น เป็นการต่อใบอนุญาตแปลงเดิมปี 2536 และ 2543 เป็นข้ออนุญาตตามใบอนุญาตเดิมตั้งแต่รัฐบาลยุคก่อน และการอนุญาตการสำรวจก็เป็นไปตามหลักกฎหมาย

นายกฯ กล่าวว่า การเจรจาเกิดขึ้นตามคำแนะนำของอนุญาโตตุลาการ ไทยไม่ได้เป็นฝ่ายไปขอเจรจาก่อน และการฟ้องร้องของบริษัท คิงส์เกต เป็นไปด้วยความที่ไม่เข้าใจว่ารัฐบาลต้องการยึดเหมืองของบริษัทลูก เพราะไม่มีการต่อใบอนุญาตมาตั้งแต่ปี 2554 เพราะบริษัทแม่อยู่ต่างประเทศ ส่วนเรื่องการใช้มาตรา 44 เป็นความตั้งใจบิดเบือนของผู้อภิปรายที่อยากให้ตนเสียหาย เนื่องจากมาตรา 44 เป็นเรื่องของการตรวจสอบและแก้ไขให้เป็นไปตามกฎหมาย และหากแก้ไขแล้วก็สามารถขออนุญาตให้เกิดใหม่ได้ ไม่ใช่ความต้องการที่จะยึดเหมือง หลังจากนั้นรัฐบาลก็ให้ความเป็นธรรมในการขอต่อใบอนุญาต โดยเป็นไปตาม พ.ร.บ.แร่ ฉบับแก้ไขในปี 2560

"และถ้าเกิดปัญหาขึ้นในอนาคตคงไม่ใช่ตนคนเดียว คงต้องย้อนกลับไปยังรัฐบาลก่อนๆ ที่ให้อนุญาตด้วย แต่ในรัฐบาลของตนต้องมาเป็นคนแก้ไข ตอนนี้กรณีนี้กำลังอยู่ในการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ขออย่าให้ทำลายความน่าเชื่อถือของประเทศ และขอให้การอภิปรายไม่ใช่หวังตีรัฐบาล ล้มรัฐบาลอย่างเดียว แต่อยากให้มีการเสนอทางออกที่คิดว่าทำได้ด้วย" นายกฯ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สีสันจบแล้ว! นายกฯ สั่งสรุปข้อมูลซักฟอก ปัดโต้ทุกดอก กลัวเดือดไป

'เศรษฐา' สั่งทีมงานสรุปข้อมูลซักฟอก สีสันจบแล้วจากนี้ขอทำงานต่อ ออกตัวยังไม่เก่งการเมือง ปัดโต้ทุกดอก กลัวเดือดมากไป ลั่นรับทราบฝ่ายค้านแนะปรับ ครม.

'โฆษก ทส.' ซัดกลับก้าวไกล ซักฟอกด้อยค่า 'พัชรวาท' ยันลุยแก้ฝุ่นเต็มที่

'โฆษก ทส.' ป้อง 'พัชรวาท' ลุยแก้ฝุ่นพิษเต็มที่ ซัดกลับ 'ก้าวไกล' อภิปรายใส่ร้าย จ้องโจมตีด้อยค่า ไม่ทำการเมืองสร้างสรรค์

ตามคาด! ซักฟอก 2 วัน ฝ่ายค้านงัดข้อมูลเก่า เน้นวาทกรรมปั้นคำแรง

'ธนกร' ชี้ไม่เกินคาด ฝ่ายค้านยังใช้ข้อมูลเก่า วาทกรรมวนลูปเดิม ติงไม่เหมาะพาดพิง 'บิ๊กตู่' แนะสมัยประชุมหน้างัดหลักฐาน ยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ มากกว่าปั้นคำแรงๆ

'พิธา' เปิดใจอำลาสภา! ทิ้งทวนซักฟอก ครั้งสุดท้ายชีวิตการเมือง

’พิธา‘ ลาสภา เปิดใจ ‘อภิปราย ม.152’ อาจเป็นครั้งสุดท้ายในชีวิตการเมือง ลั่นยิ่งยุบพรรคยิ่งทำให้ถึงเส้นชัยเร็วขึ้น แนะ ‘เศรษฐา’ 3 เรื่อง ปลุกภาวะผู้นำ ‘ปรับ ครม. – มีโรดแมป – ฟังให้มากขึ้น’

'ชวน' กรีดยางเศรษฐา-ธรรมนัส อ้างปราบยางเถื่อน ทำราคาพุ่ง!

นายชวน หลีกภัย สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายประเด็นราคายางพาราว่า ขณะนี้ราคายางพาราขึ้นเป็นเรื่องน่าดีใจ เป็นไป