โอมิครอนลูกผสม 'XBB.1.5' สายพันธุ์ที่ทั่วโลกกังวลมากสุด!

19 ธ.ค. 2565 – ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ว่า โควิด-19 สายพันธุ์อุบัติใหม่ที่ “น่ากังวลมากสุด” ในปัจจุบันคือโอมิครอนลูกผสม “XBB.1.5”

นิวยอร์กกำลังกลายเป็น ‘ฮอตสปอตใหม่’ ของโควิดตระกูล XBB ที่พบแพร่ระบาดใหญ่ในสิงคโปร์เมื่อเดือนตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยมีตัวเลขผู้ติดเชื้อที่นิวยอร์กรายวันตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคมจนถึงปัจจุบันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

5.5%

5.7%

5.7%

5.3%

9.0%

13.8%

12.6%

13.7%

16.5%

18.6%

เมื่อเทียบกับโควิดสายพันธุ์อื่นที่ระบาดในนิวยอร์ก (ภาพ 1)

โดยมีระบาดเข้ามาแทนที่โอมิครอน BQ.1 อย่างรวดเร็วโดยพบ

-มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) ที่นิวยอร์กสูงกว่า BQ.1 ถึง 144%

-มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาดสูงกว่า BQ.1 ทั่วสหรัฐ 122%

-มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด สูงกว่า BQ.1 ทั่วโลกประมาณ 94%

จากฐานข้อมูลเก็บรหัสพันธุกรรมโควิดโลก “GISAID” พบแล้วทั้งสิ้น 288 ตัวอย่าง ยังตรวจไม่พบในประเทศไทย
(ภาพ 2-4)

คาดว่า XBB.1.5 ได้กลายพันธุ์มาจาก XBB* ที่นิวยอร์ก โดยมีอัตราการเพิ่มจำนวนประมาณถึง 100% ในแต่ละสัปดาห์ (ภาพ 5)

โดยอาศัยเทคโนโลยีด้าน “ชีวสารสนเทศ” ที่ก้าวหน้าไปอย่างมากมาใช้วิเคราะห์ข้อมูลการถอดรหัสพันธุกรรมโควิดทั้งจีโนม (whole SARS-CoV-2 genome sequencing) ตลอด 3 ปี จำนวนกว่า “14.2 ล้านตัวอย่าง” ช่วยให้เราสามารถทำนายรูปลักษณ์ของโปรตีนหนามที่แตกต่างกันในแต่ละสายพันธุ์ของโควิด-19 เพื่อบ่งชี้

-ความสามารถของ “โปรตีนหนาม” ในการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน(immune escape) เนื่องจากรูปร่างโปรตีนหนามที่เปลี่ยนไปอันมีสาเหตุมาจากการกลายพันธุ์

-ความสามารถของโปรตีนหนามในการยึดจับตัวรับ “ACE-2” บนผิวเซลล์ผู้ติดเชื้อ เพื่อแทรกเข้าไปภายในเซลล์ (ACE-2 binding score) เนื่องจากรูปร่างโปรตีนหนามที่เปลี่ยนไปอันมีสาเหตุมาจากการกลายพันธุ์

โดยพบว่า XBB.1.5 เป็นโควิด-19 ที่มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) สูงที่สุด และมีความสามารถในการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันและการเข้ากับผิวเซลล์ เพื่อทะลุผ่านเข้าไปภายในเซลล์ได้ดีที่สุดในโลก ณ ขณะนี้ อันเป็นสาเหตุที่ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกกำลังจับตามองด้วยความกังวล (ภาพ 6).

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผลวิจัยพบ 'โควิด' ส่งผลกระทบสมองและความจำ

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว "Thira Woratanarat" เปิดเผยว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 64,067 คน ตายเพิ่ม 294 คน รวมแล้วติดไป 681,473,367 คน เสียชีวิตรวม 6,811,653 คน

'ศุภชัย' เตือน 'ชูวิทย์' อย่าทำตัวเป็นเด็กเลี้ยงแกะ หลังผ่านมา 2 สัปดาห์ ยังไร้หลักฐานโกงรถไฟฟ้าสีส้ม

นายศุภชัย ใจสมุทร นายทะเบียนสมาชิกพรรคภูมิใจไทย กล่าวทวงถามนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ที่บอกว่ามีเอกสารการโอนเงิน หรือบอกว่ามีเ

จับตา! ไข้หวัดใหญ่ H3N2 สายพันธุ์อินเดีย

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ทำไมเมื่อจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ในอินเดียลดลง จำนวนผู้ป่วยไวรัสไข้หวัดใหญ่ “H3N2”

เอาแล้ว! ศูนย์จีโนมฯ บอกผลวิจัยยังไม่ชี้ชัดใส่หน้ากากอนามัยป้องกันโควิดได้จริงหรือ

ศูนย์จีโนมฯ รามาธิบดีเผยงานวิจัยทางการแพทย์บอกการล้างมือด้วยสบู่หรือเจลช่วยลดการติดเชื้อไวรัสได้ แต่การใส่หน้ากากอนามัยยังมีข้อมูลย้อน