'หมอยง' ชี้โควิดสิ้นสุดเปลี่ยนเป็นโรคประจำกาล ฉีดวัคซีนประจำปี เม.ย.-พ.ค.

6 ก.พ. 2566 – ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 end game โดยเข้าสู่โรคประจำฤดูกาล

โรคโควิด 19 ไม่ได้หายไปไหน และน่าจะสิ้นสุดด้วยการเปลี่ยนเป็นโรคประจำฤดูกาลต่อไป

ในปีที่ 4 นี้ การนับยอดผู้ป่วยติดเชื้อ ไม่เกิดประโยชน์ เพราะตัวเลขที่รายงานต่ำกว่าความเป็นจริงมาก ขณะนี้ทั่วโลกน่าจะมีการติดเชื้อมากกว่าร้อยละ 70 หรือประมาณ 5 พันล้านคน ตัวเลขที่รายงานการติดเชื้อทั่วโลกมีประมาณเกือบ 700 ล้านคน ต่ำกว่าความเป็นจริงประมาณ 10 เท่า ประเทศไทยก็ไม่ได้รายงานตัวเลขติดเชื้อแล้ว รายงานเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลและผู้เสียชีวิตเท่านั้น

องค์การอนามัยโลกคงจะเลิกนับตัวเลขในเร็วๆ นี้ หลังจากการระบาดในประเทศจีนลดลง (เพราะส่วนใหญ่ติดเชื้อแล้ว)

ความรุนแรงของโรคลดลงมาโดยตลอด ผู้เสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 80 เป็นผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัว จะไม่มีการย้อนไปปิดบ้านปิดเมืองอีกแล้ว

วัคซีน โดยเฉพาะ mRNA ตลาดควรเป็นของผู้ซื้อ วัคซีนมีอายุสั้น และขวดหนึ่ง ยังมีจำนวน 7-10 โดส จึงยากต่อการใช้ ให้มีการสูญเสียทิ้งให้น้อยที่สุด ประกอบกับมีราคาแพง มีอาการแทรกซ้อนที่พบได้ มากกว่าวัคซีนที่ใช้ในอดีต และในอนาคตเมื่อเทียบกับความรุนแรงของโรค จึงเป็นการยากที่ประเทศกำลังพัฒนาเข้าถึง ความจำเป็นที่จะต้องฉีดทุก 4 – 6 เดือน ไม่มีอีกแล้ว เมื่อเข้าสู่โรคประจำฤดูกาล การให้วัคซีนจะเหลือปีละ 1 ครั้ง การนัดคนมาฉีดพร้อมกันเพื่อลดการสูญเสียของวัคซีนจะทำได้ยากขึ้น โดยเฉพาะวัคซีนมีอายุสั้น การเก็บรักษายุ่งยาก ใช้อุณหภูมิติดลบ ยิ่งทำให้ราคาแพงขึ้น การให้ได้วัคซีนตรงกับสายพันธุ์ยิ่งยากเข้าไปอีก เพราะการพัฒนาต้องมีต้นทุนสูงและเมื่อพัฒนาขึ้นมาแล้วไวรัสก็เปลี่ยนสายพันธุ์ไปอีก

ในอนาคตอันใกล้นี้ก็น่าจะได้เห็นตัวเลขของประเทศที่ใช้วัคซีนต่างชนิดกัน ประสิทธิภาพในการลดความรุนแรง หรือเสียชีวิตเป็นอย่างไร เมื่อทุกประเทศส่วนใหญ่ติดเชื้อไปหมดแล้ว จะเป็นการย้อนดูบทเรียนในอดีต

ประเทศไทยมีการติดเชื้อไปแล้วมากกว่าร้อยละ 70 ถึงวันนี้ น่าจะถึงร้อยละ 80 ทำให้มีภูมิต้านทานแบบธรรมชาติร่วมกับภูมิต้านทานจากวัคซีน ในประชากรเกือบทั้งหมด และถ้าจำเป็นต้องฉีดวัคซีนปีละ 1 ครั้ง โดยให้ในกลุ่มเสี่ยง ปริมาณวัคซีนที่ใช้ต่อปี ก็จะเหมือนไข้หวัดใหญ่ ที่มีฤดูกาลระบาดในฤดูฝนหรือโรงเรียนเปิดเทอมแรก ในเดือนมิถุนายนนั่นเอง

การให้วัคซีนประจำปี ก็ควรจะเป็น เดือนเมษายน – พฤษภาคม เพื่อป้องกันการระบาดในฤดูฝน ที่จะเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอยง' ชี้หลักวิวัฒนาการทำความรุนแรงโควิด19 ลดลงแต่ มิ.ย.นี้กลับมาแน่!

'หมอยง' ตอกย้ำโควิด-19 ไม่มีการกลายพันธุ์ใหม่ๆ ซ้ำความรุนแรงก็ลดลงตามหลักวิวัฒนาการ แต่เชื่อเดือน มิ.ย.จะกลับมาพบผู้ป่วยมากอีกครั้งหนึ่ง

ผลวิจัยพบ 'โควิด' ส่งผลกระทบสมองและความจำ

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว "Thira Woratanarat" เปิดเผยว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 64,067 คน ตายเพิ่ม 294 คน รวมแล้วติดไป 681,473,367 คน เสียชีวิตรวม 6,811,653 คน

จับตา! ไข้หวัดใหญ่ H3N2 สายพันธุ์อินเดีย

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ทำไมเมื่อจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ในอินเดียลดลง จำนวนผู้ป่วยไวรัสไข้หวัดใหญ่ “H3N2”

'หมอยง' เตือน 'ไข้ปวดข้อยุงลาย-ชิกุนกันยา-ซิกา' ระบาดเพิ่มขึ้น

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ไข้ปวดข้อยุงลาย ชิกุนกันยา ซิกา

'นพ.ธีระ' แนะยังต้องป้องกันตัวเองเพราะไทยมีผู้ติดโควิดระดับเกินพันต่อวัน

'หมอธีระ' เผยตัวเลขล่าสุดจากองค์การอนามัยโลก โอมิครอนยึดแล้ว 99.6% โดยสายพันธุ์ที่แรงที่สุดยามนี้คือ XBB.1.5 เผยไทยยังพบผู้ติดเชื้อใหม่ในระดับเกินพันต่อวัน