ผลวิจัยพบ 'โควิด' ส่งผลกระทบสมองและความจำ

Virus variant, coronavirus, spike protein. Omicron. Covid-19 seen under the microscope. SARS-CoV-2, 3d rendering

12 มีนาคม 2566 – รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว “Thira Woratanarat” เปิดเผยว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 64,067 คน ตายเพิ่ม 294 คน รวมแล้วติดไป 681,473,367 คน เสียชีวิตรวม 6,811,653 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ รัสเซีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และฝรั่งเศส

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 17 ใน 20 อันดับแรกของโลก
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 91.05 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 86.05

…อัพเดตความรู้โควิด-19

กลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมอยู่แล้ว หากติดเชื้อโรคโควิด-19 จะประสบปัญหาความคิดความจำถดถอยลงเร็วกว่าคนที่ไม่ติดเชื้อ 3.6 เท่า

นี่คือผลจากการวิจัยของ Merla L และคณะ จากประเทศอิตาลี ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางการแพทย์ Journal of Clinical Medicine เมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

สะท้อนให้เราเห็นความสำคัญของการดูแล ป้องกัน ไม่ให้ผู้สูงอายุ ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเปราะบาง เสี่ยงต่อการติดเชื้อแล้วป่วยรุนแรงและเสียชีวิตดังที่ทราบกันดี แต่หากมีโรคประจำตัวต่างๆ การติดเชื้อโควิด-19 ก็จะทำให้เสี่ยงมากขึ้น และยังส่งผลต่อโรคประจำตัวที่มีอยู่เดิมด้วย

ไวรัสโควิด-19 นั้นไม่ได้ติดเชื้อแค่ทางเดินหายใจ แต่ส่งผลกระทบต่อสมองและระบบประสาทได้ โดยปัจจุบันเชื่อว่ามีกลไกที่เป็นไปได้หลายหลายกลไก

Leng A และคณะ จากมหาวิทยาลัย Johns Hopkins ประเทศสหรัฐอเมริกาได้เผยแพร่บทความวิชาการทบทวนความรู้เกี่ยวกับกลไกที่ทำให้เกิดพยาธิสภาพในสมองและระบบประสาทหลังจากที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 และนำไปสู่อาการผิดปกติต่างของผู้ป่วย Long COVID ตามมา

ด้วยความรู้ปัจจุบัน เชื่อว่าเป็นไปได้หลายกลไก ได้แก่ การที่ไวรัสเข้าไปที่เซลล์สมองและระบบประสาทโดยตรง (SARS-CoV-2 neurotropism), การที่ไวรัสกระตุ้นให้เกิดความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด ทำให้เกิดลิ่มเลือดขนาดเล็กอุดตัน รวมถึงโรคหลอดเลือดสมองในเวลาต่อมา (viral-induced coagulopathy), การเกิดปัญหาที่เซลล์เยื่อบุหลอดเลือด (endothelial disruption), การกระตุ้นให้เกิดกระบวนการอักเสบทั่วร่างกายหรือในระบบต่างๆ (systemic inflammation), การกระตุ้นให้เกิดการทำงานมากขึ้นของสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบ (cytokine overactivation) และการเกิดการทำงานผิดปกติของเซลล์ในระบบประสาทประเภทนิวโรเกลีย (neuroglial dysfunction) ฯลฯ

ทั้งนี้นักวิจัยทั่วโลกยังคงทำการศึกษาอย่างต่อเนื่องเพื่อพิสูจน์ว่ากลไกใดจะเป็นกลไกหลักที่จะอธิบายพยาธิกำเนิดของภาวะผิดปกติทางสมองและระบบประสาทในกลุ่มผู้ป่วย Long COVID

…การดำรงชีวิตด้วยความไม่ประมาท ใส่ใจสุขภาพ รับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม ป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ เป็นเรื่องจำเป็น

ช่วยกันปรับสภาพแวดล้อม ที่บ้าน ที่ทำงาน ที่กินดื่ม ที่เที่ยว ให้มีการระบายอากาศที่ดี

ใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก ทั้งโควิด-19 และ PM2.5

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โควิดพุ่งตามคาด! สายพันธุ์ไม่เปลี่ยน อาการคล้ายหวัด

กรมควบคุมโรคเผยสถานการณ์โรคโควิด 19 พบแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นหลังเทศกาลสงกรานต์ เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้เมื่อต้นปี สายพันธุ์ไม่เปลี่ยนอาการคล้ายหวัด แนะ กลุ่มเสี่ยง 608 ระมัดระวังหากมีอาการสงสัยป่วยควรปรึกษาแพทย์

โควิดสงกรานต์พุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 849 ราย

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 7 - 13 เมษายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 849 ราย

โควิดยังพุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 728 ราย ผู้สูงอายุดับ 2 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 24 - 30 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่

โควิดพุ่ง! ไทยติดเชื้อใหม่รอบสัปดาห์ 630 ราย ดับเพิ่ม 5 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 17 - 23 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 630 ราย

ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 501 ราย ดับเพิ่ม 4 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 10 - 16 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 501 ราย